นายหวัง อี้ รมต.ว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึง เศรษฐกิจสีน้ำเงินเชื่อมเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21
นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน กล่าวถึง “เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” (蓝色经济 / Blue Economy) โดยเป็นข้อเสนอหนึ่งใน ๖ ข้อ จากการกล่าวสุนทรพจน์ในโอกาส “ครบรอบ ๓๐ ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์การเจรจาจีน-อาเซียน” (“ 中国-东盟建立对话关系30周年纪念”) เมื่อวันที่ ๘ ต.ค.๖๔ ทั้งนี้ นัยสำคัญของ “เศรษฐกิจสีน้ำเงิน” (蓝色经济 / Blue Economy) ตามแนวคิดของจีน มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. ในปี ๒๐๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๔) คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ “แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจคาบสมุทรซานตงสีน้ำเงิน” (山东半岛蓝色经济区发展规划) อย่างเป็นทางการโดยกำหนดให้ “การก่อสร้างเขตเศรษฐกิจคาบสมุทรซานตงสีน้ำเงิน” (“山东半岛蓝色经济区建设” ) เป็นยุทธศาสตร์ระดับชาติ ซึ่งในปี ๒๐๑๒ (พ.ศ.๒๕๕๕) ที่ประชุมแห่งชาติครั้งที่ ๑๘ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กล่าวถึงเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์และภารกิจหลักในการ “สร้างแสนยานุภาพทางทะเล” (“建设海洋强国” ) อย่างชัดเจน โดยแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาในภูมิภาคของจีนได้ขยายจากเศรษฐกิจทางบกไปสู่เศรษฐกิจทางทะเลและเข้าสู่ขั้นตอนการปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นที่การส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทางทะเลให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ รวมทั้งผลักดันการพัฒนาทางทะเล และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเศรษฐกิจสีน้ำเงินได้กลายเป็นสนามรบหลักสำหรับการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ของมณฑลชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นเสาหลักสำคัญของการพัฒนาในอนาคตและได้กลายเป็นจุดเติบโตใหม่สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค
๒. รัฐบาลจีนได้วางตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ของเขตเศรษฐกิจสีน้ำเงินในคาบสมุทรซานตงคือการสร้างพื้นที่คลัสเตอร์อุตสาหกรรมทางทะเลที่ทันสมัยพร้อมความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งพื้นที่หลักของการศึกษาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยีในระดับขั้นสูงของโลกพื้นที่บุกเบิกสำหรับการปฏิรูปและการเปิดทางเศรษฐกิจทางทะเลของชาติ รวมทั้งอารยธรรมนิเวศวิทยาทางทะเลที่สำคัญของชาติ และภายในปี ๒๐๑๕ (พ.ศ.๒๕๕๘) ระบบอุตสาหกรรมทางทะเลที่ทันสมัยในเขตเศรษฐกิจคาบสมุทรสีน้ำเงินได้รับการจัดตั้งโดยมีขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นอิสระของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพของสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยาทางทะเลและทางบกอย่างมีนัยสำคัญ
๓. รัฐบาลจีนได้ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงขีดความสามารถของวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นพลังสำคัญในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น โดยใช้ยุทธศาสตร์และภารกิจหลักในการ “สร้างแสนยานุภาพทางทะเล” (“建设海洋强国”) ในการดำเนินการอย่างครอบคลุมต่อความร่วมมือระหว่างรัฐบาล – โรงเรียน – องค์กรและนวัตกรรมการทำงานร่วมกัน (展政-校-企合作与协同创新) ตลอดจนส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาอุตสาหกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลอย่างจริงจัง โดยสร้างกลไกการทำงานร่วมกันของนวัตกรรมทางอุตสาหกรรม – มหาวิทยาลัย – การวิจัยและประยุกต์ใช้ ซึ่งจะเสริมสร้างต่อการสร้างเศรษฐกิจสีน้ำเงิน
บทสรุป ในโลกปัจจุบัน เศรษฐกิจสีน้ำเงินได้กลายเป็นจุดสนใจของการพัฒนาทางทะเลทั่วโลก โดยเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนของทางทะเล ดังนั้น ข้อเสนอของจีนที่จะทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและการปกป้องระบบนิเวศทางทะเล โดยเฉพาะในการสร้างสรรค์ “เส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ ๒๑” (“21 世纪海上丝绸之路” ) จึงถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจสีน้ำเงินของจีนกับประเทศต่างๆ
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
(ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.asean-china-center.org/news/xwdt/2021-10/8437.html และเว็บไซต์ https://journal.hep.com.cn/sscae/EN/article/downloadArticleFile.do?attachType=PDF&id=17150 รวมทั้งเว็บไซต์ https://www.ouc.edu.cn/lsjj/listm.htm )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
23/10/2021