บริษัทฯ ต้องมีงบฯการเงินที่รับรองโดยผู้ตรวจสอบบัญชีผู้ได้รับอนุญาตที่ได้รับการรับรองและขึ้นทะเบียนไว้กับคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวข้างต้นเป็นการร่วมกันวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนโดยมีเจตนาหลอกลวงให้โจทก์ร่วม และนายปรีชาฯ โอนหุ้นเพื่อที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะร่วมกันบริหารบริษัทฯ ทำให้โจทก์ร่วมและนายปรีชาฯ ไม่สามารถที่จะคัดค้านได้เนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นฝ่ายเสียงข้างน้อยสอดคล้องกับพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่โจทก์ร่วมโอนหุ้นไปแล้วโจทก์ร่วมและบุคคลในครอบครัวที่เคยทำงานอยู่ที่บริษัทฯ ต้องออกจากการทำงานที่บริษัทฯ ดังกล่าวไปทั้งหมดตามคำพิพากษาศาลแรงงานภาค 7 เอกสารหมาย จร.2 การที่จำเลยที่ 1 จัดให้มีการประชุมเรื่องการนำบริษัทฯเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และโอนหุ้นโดยเร็ว ทั้งที่ไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมเรื่องต่างๆ ของบริษัทฯไว้เพื่อรองรับการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯมาก่อน เห็นว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 มีเจตนานำเรื่องการนำบริษัทฯเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และการโอนหุ้นเพื่อเป็นหุ้นกองกลางดังกล่าวมาใช้ในการหลอกลวงโจทก์ร่วมโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อให้โจทก์ร่วมยอมตกลงโอนหุ้นและออกจากการเป็นกรรมการของบริษัทฯ มาตั้งแต่แรกอันเป็นการกระทำโดยทุจริตทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อโอนหุ้นไปให้แก่นางสาวนันทนาฯ จึงเป็นการได้ไปซึ่งหุ้นอันเป็นทรัพย์สินของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามา ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ส่วนนี้ฟังไม่ขึ้น
สำหรับจำเลยที่ 2 แม้ทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วม จะไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ที่พูดหลอกลวงโจทก์ร่วมมาก่อนที่จะมีการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 30 เมษายน 2558 แต่จากทางนำสืบของโจทก์และโจทก์ร่วมก็ได้ความว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทฯ และในวันประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558 จำเลยที่ 2 เข้าร่วมประชุมและมีส่วนร่วมในการพูดสนับสนุนให้มีการนำบริษัทฯ เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบ ตามบันทึกข้อความการถอดเสียงจากบันทึกเสียงเอกสารหมาย จ.8 และจำเลยที่ 2 ยังมีการโอนหุ้นของตนให้แก่นางสาวนันทนาฯ พวกของตนไปด้วยลักษณะเป็นการกระทำเพื่อให้โจทก์ร่วมเห็นว่าผู้ถือหุ้นคนอื่นก็ยอมตกลงที่จะโอนหุ้นให้นางสาวนันทนาฯ ถือไว้แทนและจำเลยที่ 2 ยังเข้าเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการบริษัท สตาร์มาร์ค (ประเทศไทย) จำกัด ที่จัดตั้งขึ้นร่วมกับจำเลยที่ 1 และ นางสาวนันทนาฯ การโอนหุ้นของโจทก์ร่วมมีผลทำให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ร่วมกันเป็นกรรมการของบริษัท สตาร์มาร์คแมนูแฟคเชอร์ริ่ง จำกัด และมีอำนาจบริหารบริษัทดังกล่าวตลอดมานับแต่มีการโอนหุ้นอันเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการหลอกลวงโจทก์ร่วมโดยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับการนำบริษัท สตาร์มาร์คแมนูแฟคเชอร์ริ่ง จำกัด เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และการหุ้นโอนหุ้นให้แก่นางสาวนันทนาฯ เพื่อเป็นทุนกองกลางอันเป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามา ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องว่าอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ส่วนนี้ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน
สำหรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้ลงโทษสถานเบา และรอการลงโทษนั้นเห็นว่าโจทก์ร่วมเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเมื่อ วันที่ 9 ตุลาคม 2563 ก่อนศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขอวางเงินต่อศาลชั้นต้น จำนวน 1,800,000 บาทโดยจำเลยที่ 1 นำแคชเชียร์เช็คธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน) จำนวน 900,000 บาท และจำเลยที่ 2 นำแคชเชียร์เช็คธนาคารกสิกรไทยจำกัด (มหาชน) จำนวน 900,000 บาท วางต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้โจทก์ร่วมมารับไปจากศาล กรณีมีเหตุสมควรแก้ไขโทษที่ศาลชั้นต้นลงโทษมานั้น เห็นว่าหนักเกินไป เห็นสมควรแก้ไขให้เหมาะสมกับการกระทำผิดแต่ยังไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ
พิพากษาแก้เป็นว่าลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 2 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาชั้นต้น
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน