กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย นำเฮลิคอปเตอร์ KA-32
ลำนี้มูลค่า
พันล้าน บินด่วนมาที่จังหวัดลพบุรี
เพื่อทำการบินสำรวจ ติดตามสถานการณ์น้ำซึ่งมีปริมาณน้ำที่ยังคงสะสมและท่วมขังในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล ซึ่งมวลน้ำกำลังไหลลงสู่พื้นที่รับน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ตอนบน ไล่ลงมาสูงเขื่อนป่าสักฯ ต่อเนื่องจนถึง พื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำเพิ่มของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งแต่ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ลงไปจนถึงเขื่อนพระราม 6 อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00น.เมื่อวานนี้
นายนิวัฒน์ รุ่งสาคร ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยจังหวัดลพบุรี พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ขึ้นอากาศยาน แบบ ฮ.ปภ.32 ของกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย เพื่อทำการบินสำรวจ ติดตามสถานการณ์น้ำซึ่งมีปริมาณน้ำที่ยังคงสะสมและท่วมขังในพื้นที่อำเภอชัยบาดาล ซึ่งมวลน้ำกำลังไหลลงสู่พื้นที่รับน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ตอนบน ไล่ลงมาสูงเขื่อนป่าสักฯ ต่อเนื่องจนถึง พื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำเพิ่มของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งแต่ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ลงไปจนถึงเขื่อนพระราม 6 อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนทำการบินย้อนกลับขึ้นมาตามคลองชลประทานชัยนาท ป่าสักฯ จากอำเภอท่าเรือ จนถึงอำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี ซึ่งกำลังประสบปัญหาน้ำมาก ระบายได้ช้า และยังมีบริมาณ น้ำท่วมขังในพื้นที่หลายชุมชนหลายแห่ง ตลอดแนวคลองฝั่งซ้าย ตั้งแต่อำเภอเมืองลพบุรี จนถึงอำเภอบ้านหมี่
ทั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้ มาบริการจัดการน้ำเพื่อเร่งระบานน้ำที่ท่วมขัง ในพื้นที่ชุมชน และหาวิธีการหน่วงน้ำ และชะลอน้ำในบ้างพื้นที่เพื่อไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ โดยมอบหมายให้สำนักงานชลประทานลพบุรี พิจารณาเลือกพื้นที่ลุ่มรับน้ำฝั่งขวา ของคลองชลประทานชัยนาท-ป่าสัก ซึ่งเกษตรกร ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว ทำเป็นทุ่งรับน้ำ เพื่อตัดยอดน้ำบ้างส่วน ไม่ให้ไหลลงมารวมกันในพื้นที่ท้ายน้ำที่เขื่อนพระราม 6 มากจนเกินไป เนื่องจากมีการระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักมาสมทบ ทำให้การระบายน้ำได้ช้ากว่าที่ขาดการณ์ไว้ จึงต้องหาวิธีตัดยอดน้ำออกระหว่างทาง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อทั้งพื้นที่ตอนบน และตอนล่างด้วย
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์5 เหล่าทัพ