J-16 เป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ของจีนซึ่งเปิดตัวในปี 2004 (พ.ศ.2547) โดยเครื่องบินดังกล่าวติดตั้งเรดาร์แบบ AESA (Active Electronically Scanned Array) ที่ได้รับการดัดแปลงและสามารถทำภารกิจการรบทั้งทางอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นดินได้ นอกจากนี้ J-16 ได้มีการออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ที่เน้นความคล่องแคล่วมากกว่าการล่องหน แต่มีระบบป้องกันที่สามารถทำให้ตรวจจับได้ยากขึ้น
ล่าสุด กองทัพจีนได้เปิดตัวเครื่องบิน J-16D ซึ่งเป็นเครื่องบินสำหรับการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ในการรบกวนและขัดขวางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของฝ่ายที่เป็นศัตรู เช่น เรดาร์และระบบสื่อสาร ฯลฯ ซึ่งจีนสามารถพัฒนาได้เองในประเทศ และได้นำมาจัดแสดงภายในงาน Airshow China ที่เมืองจูไห่ มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ที่อยู่ทางตอนใต้ของจีน ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ย. - 3 ต.ค.64 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่า เครื่องบินสำหรับการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (EW) มีความสำคัญมากกว่าเครื่องบินล่องหน โดยเฉพาะขีดความสามารถในการขัดขวางความสามารถของฝ่ายตรงข้ามในการใช้สัญญาณ ทั้งนี้ EW แบ่งออกเป็น 3 ประเภทกว้างๆ ได้แก่ (1) การโจมตีทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นวิธีการรบกวนหรือปลอมแปลงสัญญาณที่ฝ่ายตรงข้ามได้รับ (2) การป้องกันทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นการป้องกันไม่ให้ระบบสัญญาณของฝ่ายตนเองติดขัด และ (3) การสนับสนุนทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นการตรวจจับสัญญาณเพื่อการนำทาง
ดังนั้น กองทัพจีนจึงให้ความสำคัญกับการทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (EW) มากยิ่งขึ้น
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://eurasiantimes.com/chinas-most-capable-strike-fighter-jet-gets-deadlier-with-twin-ew-pods-capable-of-jamming-enemy-radars-awacs/?amp )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
29/9/2021