มีรายงานว่าจีนกำลังทบทวนแผนสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ลำที่ 5 และ 6 ด้วยเหตุผลจากปัญหาความท้าทายทางเทคนิคและค่าใช้จ่ายที่สูงมาก โดยเฉพาะประเด็นที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาระบบยิงแม่เหล็กไฟฟ้าของเรือซึ่งเป็นระบบเดียวกันกับกองทัพเรือสหรัฐฯ
เรือบรรทุกเครื่องบินของจีนลำแรกคือ Type 001 Liaoning ใช้บรรทุกเครื่องบินขับไล่ J-15 ซึ่งเป็นเรือรุ่นเก่าของอดีตสหภาพโซเวียตและจีนได้ซื้อต่อมาจากยูเครน โดยเป็นเรือที่มีขนาดเล็กกว่าเรือบรรทุกบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ มาก ส่วนเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 2 ซึ่งเปิดตัวในปี 2017 (พ.ศ.2560) คือ Type 001A หรือ Type 002 Shandong ถือเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกที่ผลิตในจีนทั้งหมด สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 3 และ 4 ของจีน (Type 002 หรือ Type 003) ยังอยู่ในระหว่างการสร้างโดยจะมีขนาดใหญ่กว่าและมีความสามารถมากกว่า 2 ลำแรก รวมทั้งมีขีดความสามารถทัดเทียมกันกับเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นสูงของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในขณะที่จีนกำลังพัฒนาเครื่องบินขับไล่ล่องหน J-31 และเครื่องบินขับไล่ล่องหน J-20 ซึ่งทำให้ต้องใช้งบประมาณสูงมาก จึงเป็นที่มาของการทบทวนถึงความคุุมค่าต่อแผนการพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่ 5 และ 6 ของจีน เนื่องจากสามารถพัฒนาศักยภาพของขีปนาวุธที่มีพิสัยไกลในวงเงินงบประมาณที่ถูกกว่ามาก และยังสามารถดำรงรักษาความสมดุลของศักยภาพทางทหารกับสหรัฐฯ ได้
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://nationalinterest.org/blog/reboot/why-did-china-nix-its-dream-six-aircraft-carrier-fleet-193379 )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
17/9/2021