จีน-ไทย หุ้นส่วนการค้าบริการและภาคเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(RCEP)
“การประชุมสัมมนาความร่วมมือด้านการค้าภาคบริการระหว่างจีน-ไทย ภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)” (“RCEP协议框架下中泰服务贸易合作研讨会”) เมื่อวันที่ ๓ ก.ย.๖๔ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. การประชุมสัมมนาความร่วมมือด้านการค้าภาคบริการระหว่างจีน-ไทย ภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) และ “ถือเป็นกิจกรรมสำคัญส่วนหนึ่งของงานมหกรรมการค้าภาคบริการระหว่างประเทศของจีน ปี พ.ศ.๒๕๖๔” (“作为2021中国国际服务贸易交易会的配套活动”) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ ๓ ก.ย.๖๔ โดยการสนับสนุนระหว่างหอการค้าจีน-ไทย (中国泰国商会) และคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของจีน (中国国际贸易促进委员会)
๒. นายอี๋ว์ เจี้ยนหลง (于健龙) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศของจีน (中国国际贸易促进委员会秘书长) กล่าวในการประชุมว่า การบรรลุความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคเป็นเหตุการณ์เชิงสัญลักษณ์ของความเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยในขณะนี้ จีน สิงคโปร์ ไทย และญี่ปุ่นได้เสร็จสิ้นกระบวนการตรวจสอบและอนุมัติความตกลงนี้ภายในประเทศแล้ว และการมีผลบังคับใช้ของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคเริ่มเข้าสู่การนับถอยหลัง ทั้งนี้ การบังคับใช้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคจะช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมการประกอบธุรกิจให้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งยังจะช่วยส่งเสริมการปรับปรุงห่วงโซ่อุตสาหกรรม ห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่มูลค่าในภูมิภาคนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอีกด้วย จึงถือเป็นการกระตุ้นศักยภาพของความร่วมมือ รวมทั้งขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าในภูมิภาคนี้ให้เพิ่มมากขึ้น
๓. จีนเป็นคู่ค้าใหญ่อันดับแรกของไทยติดต่อกันมาเป็นเวลา ๘ ปี ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าของสองประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยนายเบญจมินทร์ สุกาญจนัจที อัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง กล่าวในการประชุมว่า ไทยได้ประกาศให้การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วย BCG โมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ Bio-Circular-Green Economy Model เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งได้สร้างความต้องการและโอกาสมากขึ้นแก่ความร่วมมือด้านการค้าภาคบริการระหว่างไทย-จีนมากขึ้น
บทสรุป มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี ๒๐๒๕ (พ.ศ.๒๕๖๘) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP ในปัจจุบันมีประเทศสมาชิก ๑๕ ประเทศที่ร่วมลงนาม ได้แก่ อาเซียน ๑๐ ประเทศ รวมทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) จะผลักดันให้การส่งออกเพิ่มขึ้น ๑๐.๔% รวมทั้งการลงทุนจากต่างชาติเพิ่มขึ้น ๒.๖% และ GDP ของประเทศสมาชิก RCEP เพิ่มขึ้นอีก ๑.๘%
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.sohu.com/a/487699427_115239 )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
12/9/2021