ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเผยว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) นำคณะนักประดิษฐ์ นักวิจัยไทยจาก 16 หน่วยงานคว้ารางวัลระดับนานาชาติจากงาน “2021 Japan Design,Idea and Invention Expo”” (JDIE 2021) ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18–20 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา ณ กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งเป็นการประกวดและนำเสนอผลงานในรูปแบบออนไลน์ และเป็นที่น่ายินดีที่นักประดิษฐ์ไทยสามารถคว้ารางวัลต่างๆ กว่า 40 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลเหรียญทอง จำนวน 25 รางวัล และรางวัลเหรียญเงิน จำนวน 18 รางวัล โดยผลงานจากประเทศไทยที่ได้รับรางวัลเหรียญทอง ได้แก่ เรื่อง “สเปรย์สมุนไพรนาโนสูตรเย็นบรรเทาอาการปวดเมื่อย” โดย นางสาววราภรณ์ โชติสวัสดิ์ และคณะ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เรื่อง “นวัตกรรมนาโนเจลสูตรน้ำสำหรับทดแทนการอาบน้ำสำหรับสัตว์เลี้ยงป่วย หลังทำวัคซีนหรือมีบาดแผลซึ่งห้ามโดนน้ำ” โดย ดร.ธีรพงศ์ ยะทา และคณะ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
เรื่อง “SOCIEMO” แพลตฟอร์มการทำงานร่วมกันบนฐานสังคมอารมณ์สำหรับการทำงานในอนาคต โดย ศาสตราจารย์ ดร.ใจทิพย์ ณ สงขลา และคณะ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,เรื่อง “ไพรม์ บี 0051 พลัส จากสารสกัดชาเขียว สำหรับ อาหารสมอง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. สุภกร บุญยืน และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,เรื่อง “โปรแกรมสำหรับการวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซมของมนุษย์เบื้องต้น” โดย นายเกียรติศักดิ์ แสงอาจหาญ และคณะ แห่งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร,เรื่อง “เครื่องนวดกดจุดบนฝ่าเท้าทรงโดเดคาเฮดรอนจากแฟร็กทัลห้าเหลี่ยมที่เป็นอัตราส่วนทองคำ” โดย นางสาวพิมพ์บุญ บุญศรี และคณะ แห่งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร,
เรื่อง “การวินิจฉัยโรคทางสมองโดยใช้ภาพ CT Scan ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์” โดย นายต่อตระกูล พิมพะจันทร์ และคณะ แห่งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร, เรื่อง “ไอเมดิแคร์ โซลูชั่น” โดย อาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ และคณะ แห่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, เรื่อง “ระบบห้องน้ำอัจฉริยะระเบิดความสนุกสำหรับชีวิตวิถีใหม่” โดย อาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ และคณะ แห่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม,เรื่อง “ชุดอุปกรณ์ช่วยออกกำลังกายในผู้ป่วยติดเตียง” โดย อาจารย์จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ และคณะ แห่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม,เรื่อง “โปรแกรมฝึกคลื่นสมองด้วยเทคนิคสะท้อนกลับ ป้องกันสมองเสื่อมและลดปัญหาความรุนแรงจากสมาธิสั้น” โดย เด็กชายกร เหมรัญช์โรจน์ และคณะ แห่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม,
เรื่อง “โปรแกรมการสอนสะกดนิ้วมือในภาษามืออเมริกันโดยการใช้ปัญญาประดิษฐ์” โดย นายพีระวัฒน์ พันธ์นัทธีร์ และคณะ แห่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม,เรื่อง “ชุดหมอนลดการนอนกรนเพื่อปรับสมดุลให้การนอนหลับมีคุณภาพและปลอดภัยที่สุด” โดย นางสาวจ้าวไหม ตั้งศิริพัฒน์ และคณะ แห่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม,เรื่อง “อุปกรณ์จัดท่าการนั่งและการยืน” โดย เด็กหญิงธันยนันท์ พูนบันดาลสิน และคณะ แห่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม,เรื่อง “ชุดทดสอบบอแรกซ์ชนิดเจล” โดย นายพิรัชย์ อัศวกาญจน์ และคณะ แห่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม,เรื่อง “สายรัดดัดหลังตรงอัจฉริยะ” โดย นายจรัลรัตน์ ธรนนท์บุญส่ง และคณะ แห่งโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย,
เรื่อง “ชุดตรวจวิเคราะห์การปะปนมะละกอดัดแปลงพันธุกรรม” โดย นางสาวปิยนุช ศรชัย และคณะ แห่งสำนักงานการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน), เรื่อง “คอนกรีตสำเร็จรูปผสมเถ้าปาล์มน้ำมันและใช้หินฝุ่นแทนทราย” โดย ดร.ประชุม คำพุฒ และคณะ
แห่งสำนักงานการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน), เรื่อง “เซาปา-นวัตกรรมมวลรวมสังเคราะห์จากเถ้าปาล์มน้ำมัน” โดย ดร.ประชุม คำพุฒ และคณะ แห่งสำนักงานการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน),เรื่อง “ผลิตภัณฑ์สารสกัด EAT ME” โดย ดร.อุดมลักษณ์ สุขอัตตะ และคณะ แห่งบริษัท ที.เอส.ที เฮลท์ จำกัด ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,เรื่อง “โสมพลังงานควอนตัมที่มีสารสำคัญสูงเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ” โดย เภสัชกรหญิง ดร. พรวนิช เจริญพุทธคุณ และคณะ แห่งบริษัท เซนอินโนเวชั่น กรุ๊ป จำกัด,
เรื่อง “การพัฒนาสูตรอาหารทดแทนวัตกรรมฟาร์อินฟราเรดในโปรแกรมดูแลน้ำหนัก” โดยเภสัชกรหญิง ดร. พรวนิช เจริญพุทธคุณ และคณะ แห่งบริษัท เซนอินโนเวชั่น กรุ๊ป จำกัด, เรื่อง “สารสกัดแอปเปิ้ลนวัตกรรมฟาร์อินฟราเรดเพื่อส่งเสริมการงอกเส้นผม” โดย เภสัชกรหญิง ดร. พรวนิช เจริญพุทธคุณ และคณะ แห่งบริษัท เซนอินโนเวชั่น กรุ๊ป จำกัด,
เรื่อง “ReLeep–A New Lifestyle Technology” โดย เด็กชายฉัตรประภัทร บ่ายคล้อย และคณะ แห่งชมรมเยาวชนนักประดิษฐ์ไทย, และเรื่อง “โบทีน่า แอคเมลล่า เอ็นแคปซูเลทเท็ต พาทิเคิล เฟเชียว สลิฟปิ้งมาร์ค” โดย นายสมัชญ์ โสขุมา และคณะ แห่งบริษัท ทีเอส อินโนเทรด จำกัด
สำหรับงาน “2021 Japan Design, Idea and Invention Expo” (JDIE 2021) ในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 ซึ่งเป็นงานที่ได้รับการสนุนจาก World Invention Intellectual Property Associations (WIIPA) หน่วยงานนานาชาติด้านการส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งไต้หวัน ร่วมกับ Chizai Corporation หน่วยงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา แห่งประเทศญี่ปุ่น โดยมีนักวิจัย/นักประดิษฐ์จากทั่วโลกนำผลงานเข้าประกวดและจัดแสดงในงานจำนวนกว่า 258 ผลงาน จากกว่า 15 ประเทศ
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน