พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9
ทรงสนพระทัยด้านเทคโลโลยีการสื่อสารตั้งแต่ทรงพระเยาว์ “…ทรงทดลองต่อสายไฟพ่วงขนานกับลำโพงขยาย ของเครื่องรับวิทยุส่วนพระองค์ที่ผลิตจากประเทศสวีเดน ยี่ห้อ ‘Centrum’ จากห้องที่ประทับพระองค์ท่านไปยังห้องที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทั้งสองพระองค์ทรงพอพระทัยในบริการเสียงตามสายไม่น้อย…”
วิทยุสื่อสาร
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9
ได้ทรงอุทิศพระองค์ พระอัจฉริยะและพระอุตสาหะทั้งมวล เพื่อราษฎรในทุกภูมิภาค พระองค์ทรงมีดำริให้มีการพัฒนาด้านระบบวิทยุสื่อสารอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือสามารถรับส่งได้ไกลยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์ เพื่อประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ อยู่เสมอ เพราะสิ่งที่พระองค์ทรงขาดไม่ได้คือการสดับรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชน ดังเช่น ในระหว่างการเสด็จเยี่ยมราษฎรได้ทรงพบว่า มีผู้ใดที่กำลังป่วยเจ็บจำเป็นต้องบำบัดรักษา จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะแพทย์ผู้ตามเสด็จดูแลตรวจรักษาทันที ในบางรายที่มีอาการป่วยหนัก จำเป็นต้องส่งตัวเข้าบำบัดรักษาในโรงพยาบาลท้องถิ่นหรือโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครโดยเร็ว หากมีเวลาเพียงพอ พระองค์ท่านจะรับสั่งผ่านทางวิทยุถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรวจตระเวนชายแดน ขอรับการสนับสนุนเรื่องการขนส่ง เช่น เฮลิคอปเตอร์ เพื่อนำผู้ป่วยเจ็บส่งยังที่หมายปลายทางด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำระบบสื่อสารแบบถ่ายทอดสัญญาณหรือ Repeater ซึ่งเชื่อมต่อทางวงจรทางไกลขององค์การโทรศัพท์ฯ ให้มูลนิธิแพทย์อาสาฯ (พอ.สว.) นำไปใช้เพื่อช่วยเหลือรักษาพยาบาลแก่ผู้เจ็บป่วยในท้องถิ่นห่างไกล
เรื่องการปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงพระราชทาน ในการปฏิบัติระยะแรกๆ ได้ประสบปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่ไม่ทราบล่วงหน้า ซึ่งนักบินผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำแก้ไขโดยฉับพลัน เนื่องจากยังไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติการด้วยกัน จึงเป็นเหตุให้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร กล่าวคือฝนไม่ตกในเป้าหมายบ้าง ตกน้อย หรือไม่ตกตามที่คิดบ้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสดับตรับฟังข่าวการปฏิบัติการฝนเทียมทุกครั้ง และทรงทราบถึงปัญหาสำคัญคือ การขาดการติดต่อสื่อสารที่ดี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ติดตั้งวิทยุให้แก่หน่วยปฏิบัติการฝนเทียม ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดิน
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9
ทรงมีพระราชดำริให้ทำการศึกษาวิจัย รวมถึงการออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมาก หรือที่เรียกว่า VHF (วี.เอช.เอฟ) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ
ประการแรก เพื่อที่จะได้ใช้งานกับวิทยุส่วนพระองค์ ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ที่จะให้ทราบเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน เรื่องไฟไหม้ เรื่องน้ำท่วม ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อที่จะได้ทรงช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ประการที่สอง เพื่อที่จะพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ
ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้คนไทยที่มีความรู้ ความสามารถและตั้งใจจริง ได้ใช้ความอุตสาหวิริยะในการพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้เองภายในประเทศ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9
พระองค์ทรงคิดค้นเสาวิทยุสื่อสาร ต้นแรกในโลกที่สูงระยะไกลได้ ทำให้การสื่อสารได้ รับและส่งได้ไกล จากพื้นที่ชนบทสู้เมืองหลวง
การสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักถึงผลที่จะเกิดตามมาจากพัฒนาการด้านการสื่อสาร จึงได้พระราชทานพระราชดำรัสไว้ในโอกาสครบรอบวันสถาปนา ๑๐๐ ปี กรมไปรษณีย์โทรเลข และวันสื่อสารแห่งชาติเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๒๖ ความตอนหนนึ่งว่า
“การสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศด้วย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน ที่สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ย่อมมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ทุกฝ่ายและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประเทศ จึงควรจะได้ร่วมมือกันดำเนินงานและประสานผลงานกันอย่างใกล้ชิดและสอดคล้อง สำคัญที่สุดควรจะได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิชาการและเทคโนโลยีอันทันสมัยให้ลึกซึ้งและกว้างขวาง แล้วพิจารณาเลือกเฟ้นส่วนที่ดี มีประสิทธิภาพแน่นอนมาปรับปรุงใช้ด้วยความฉลาดริเริ่มให้พอเหมาะพอสมฐานะ และสภาพบ้านเมืองของเราเพื่อให้กิจการสื่อสารของชาติมีโอกาสได้พัฒนาอย่างเต็มที่ และสามารถอำนวยประโยชน์แก่การสร้างเสริมเศรษฐกิจ สังคม และเสถียรภาพของบ้านเมืองได้อย่างสมบูรณ์แท้จริง…”
การสื่อสารเมืองไทย เป็นปัจจัยที่การสื่อสารเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศไทย
ด้วย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน ที่สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ย่อมมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ทุกฝ่ายและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประเทศ จึงควรจะได้ร่วมมือกันดำเนินงานและประสานผลงานกันอย่างใกล้ชิดและสอดคล้อง สำคัญที่สุดควรจะได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิชาการและเทคโนโลยีอันทันสมัยให้ลึกซึ้งและกว้างขวาง แล้วพิจารณาเลือกเฟ้นส่วนที่ดี มีประสิทธิภาพแน่นอนมาปรับปรุงใช้ด้วยความฉลาดริเริ่มให้พอเหมาะพอสมฐานะ และสภาพบ้านเมืองของเราเพื่อให้กิจการสื่อสารของชาติมีโอกาสได้พัฒนาอย่างเต็มที่ และสามารถอำนวยประโยชน์แก่การสร้างเสริมเศรษฐกิจ สังคม และเสถียรภาพของบ้านเมืองได้อย่างสมบูรณ์แท้จริง…”สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการพัฒนาสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า รวมทั้งการรักษาความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศด้วย ยิ่งในสมัยปัจจุบัน ที่สถานการณ์ของโลกเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ย่อมมีความสำคัญมากเป็นพิเศษ ทุกฝ่ายและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประเทศ จึงควรจะได้ร่วมมือกันดำเนินงานและประสานผลงานกันอย่างใกล้ชิดและสอดคล้อง สำคัญที่สุดควรจะได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิชาการและเทคโนโลยีอันทันสมัยให้ลึกซึ้งและกว้างขวาง แล้วพิจารณาเลือกเฟ้นส่วนที่ดี มีประสิทธิภาพแน่นอนมาปรับปรุงใช้ด้วยความฉลาดริเริ่มให้พอเหมาะพอสมฐานะ และสภาพบ้านเมืองของเราเพื่อให้กิจการสื่อสารของชาติมีโอกาสได้พัฒนาอย่างเต็มที่ และสามารถอำนวยประโยชน์แก่การสร้างเสริมเศรษฐกิจ สังคม และเสถียรภาพของบ้านเมืองได้อย่างสมบูรณ์แท้จริง…”
พุทธศักราช ๒๔๙๕ สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต
เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงขึ้นในตำหนักที่ประทับชื่อ “สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต” คำว่า อ.ส.ทรงย่อมาจาก “พระที่นั่งอัมพรสถาน” วัตถุประสงค์ประการสำคัญเพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรสามารถใกล้ชิดพระองค์ได้ง่ายขึ้น
นอกจากวิทยุกระจายเสียงแล้ว ในปี ๒๕๑๐ อันเป็นช่วงเวลาที่ประเทศไทยยังขาดแคลนอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเพียงพอ แต่ด้วยความที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารว่าจะช่วยให้พระองค์ได้รับฟังข่าวสาร เกี่ยวกับความทุกข์สุขของราษฎร จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้รวบรวมเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานของภาครัฐ มาพัฒนาปรับปรุงระบบวิทยุสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงให้ทำการเชื่อมโยงข่ายสื่อสาร ให้รับฟังได้ทั่วประเทศ ในส่วนของพระองค์เอง ทรงศึกษาค้นคว้าและทดลองเรื่องสายอากาศ การแผ่กระจายของคลื่นวิทยุ รวมทั้งระบบการติดต่อโดยผ่านสถานีทวนสัญญาณ ในการสื่อสารโทรคมนาคม เมื่อการทดลองประสบผลเป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงทรงพระราชทานพระราชดำริ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับไปศึกษา ปรับปรุงแก้ไข ตลอดจนได้พระราชทานคำนะนำ ให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ นำไปใช้ประโยชน์เป็นส่วนรวมต่อไป
นอกจากการสดับรับฟังข่าวทุกข์สุขของประชาชนอันเป็นพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติเป็นประจำแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังพระราชทานคำแนะนำแก่หน่วยงานต่างๆ ในการจัดระบบการสื่อสารให้สำเร็จลุล่วง ไปได้ด้วยดี ดังเช่นในพุทธศักราช ๒๕๒๘ ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ ๑๓ กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารสำหรับการประสาน งานของคณะกรรมการสาขาต่างๆ ที่ประจำอยู่ในสนามแข่งขัน จึงดำเนินการติดตั้งเครื่องวิทยุถ่ายทอดสัญญาณ (Repeater) ที่ยอดเขาฉลาก อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปรากฏว่ามีปัญหาเครื่องถ่ายทอดสัญญาณไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ระหว่างการทดลองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงติดต่อเข้ามาสอบถามรายละเอียดต่างๆ และพระราชทานคำแนะนำตั้งแต่ความถี่ของเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ ความถี่ที่เหมาะสมต่อการใช้ และการติดตั้งสายอากาศให้ใช้งานได้ดี ทำให้สามารถแก้ปัญหาไปได้อย่างลุล่วง อันแสดงถึงพระปรีชาสามารถของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง
จากความสนพระราชหฤทัยในศาสตร์การสื่อสาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงค้นคว้า ทดลอง และปฏิบัติการสื่อสารด้วยพระองค์เองอย่างจริงจัง และนอกจากการประกอบวิทยุกระจายเสียง การพัฒนาปรับปรุงระบบวิทยุสื่อสารแล้วยังทรงใช้เครื่องรับ-ส่งวิทยุคมนาคมชนิดมือถือ ที่เรียกว่า Walkie Take ด้วยพระราชประสงค์ว่าเมื่อมีความจำเป็นในโอกาสที่เสด็จแปรพระราชฐานและโทรศัพท์ใช้ไม่ได้ จะได้มีเครื่องมือสื่อสารใช้งานได้ เพื่อให้ได้ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะข่าวสารสาธารณภัยที่เกิดขึ้นกับประชาชน จะได้ทรงพระราชทานความช่วยเหลือได้ทันการณ์
เพื่อพัฒนาเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อปี ๒๕๑๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ดร.สุธี อักษรกิตติ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนืออยู่ในขณะนั้น ออกแบบและสร้างสายอากาศย่านความถี่สูงมากขึ้น หรือที่เรียกกว่า VHF ทั้งเพื่อการใช้งานกับวิทุยส่วนพระองค์ เพื่อพระราชทานให้แก่หน่วยราชการต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีความรู้ความสามารถในด้านการสื่อสาร สามารถพัฒนาระบบวิทยุสื่อสารขึ้นใช้ในประเทศเอง
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9
ในครั้งนั้น จึงทำให้ปวงชนชาวไทยสามารถผ่านเหตุการณ์อันยากลำบากครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์มาได้
ปัจจุบัน แม้จะเข้าสู่ยุคดิจิทัล มีโทรศัพท์มือถือใช้ แต่ในการจัดกิจกรรม ภายใน หรือภายนอกสถานที่ ทั้งหน่วยงานรัฐ หรือเอกชน ประชาชนทั่วไป ก็ยังนิยมใช้ “วิทยุสื่อสาร” กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสะดวกในการติดต่ออยู่เช่นกัน
ข้อมูลจาก หนังสือ ๘๐ พรรษา ปวงประชาสุขศานต์ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์5 เหล่าทัพ