บทเรียนจากสงครามอ่าว (Gulf War) ในภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียร์เซียเมื่อปี 1991 (พ.ศ.2533) ทำให้ผู้นำจีนตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับสงครามสมัยใหม่ โดยการกระตุ้นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อกำหนดทิศทางในการเปลี่ยนแปลงของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (PLA) ทั้งในด้านการเรียนรู้สภาพแวดล้อมและประสบการณ์ของกองทัพประเทศอื่นๆ รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์จากความสมดุลระหว่างคุณภาพและปริมาณที่เปลี่ยนแปลงไปภายใต้การพัฒนาของเทคโนโลยี อันมีพื้นฐานมาจากการวิจัยและพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศที่เป็นของตนเอง พร้อมๆ กับการพัฒนาหลักนิยมการรบโดยเฉพาะการโจมตีที่แม่นยำในระยะไกลซึ่งจะช่วยขัดขวางการปฏิบัติการของศัตรูหรือทำให้กองกำลังของศัตรูต้องสูญเสียอย่างหนัก ตลอดจนการบูรณาการแผนและระบบการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างเหล่าทัพต่างๆ โดยมีกระบวนการสั่งการ การควบคุมและการสื่อสารที่ช่วยให้การใช้กำลังทหารมีการประสานสอดคล้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://nationalinterest.org/blog/reboot/china-has-not-forgotten-lessons-gulf-war-192949 )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
6/9/2021