ความไม่สมดุลของอำนาจกำลังรบทางเรือในอดีต มักส่งผลให้เรือรบที่มีค่าที่สุดของฝ่ายที่อ่อนแอกว่า ต้องจอดอยู่เพียงในท่าจอดเรือมากกว่าที่จะได้มีโอกาสบุกโจมตี ซึ่งในปัจจุบัน ยิ่งทำให้จีนต้องทบทวนถึงการใช้งบประมาณก้อนโตสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่มีมูลค่าสูงกับความคุ้มค่าในการป้องกันประเทศ ที่อาจเป็นเพียงศักดิ์ศรีมากกว่าการประเมินเกี่ยวกับอำนาจกำลังรบของคู่ต่อสู้ โดยอาจเสริมสร้างขีดความสามารถขึ้นได้ในภายหลัง แทนที่จะเป็นการป้องปรามต่อกองทัพเรือสหรัฐฯ ด้วยการที่กองทัพเรือจีนจะต้องมีเรือบรรทุกเครื่องบิน 6 ลำ เพื่อการรักษาความสมดุลกับเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯ ที่มีขีดความสามารถสูงกว่า และมีจำนวนถึง 11 ลำ ทั้งๆ ที่เรือรบและเรือดำน้ำซึ่งมีราคาถูกกว่า รวมทั้งขีดความสามารถของขีปนาวุธบนบก และเครื่องบินทิ้งระเบิดต่อต้านเรือพิสัยไกลก็ยังสามารถช่วยให้กองทัพเรือจีนต่อกรกับกองทัพเรือสหรัฐฯ ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกได้ ดังนั้น จึงเป็นความท้าทายสำหรับจีนในการสร้างความสมดุลระหว่างศักดิ์ศรีกับอำนาจกำลังรบ
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://nationalinterest.org/blog/reboot/china-downsizing-its-aircraft-carrier-ambitions-192586 )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
6/9/2021