ศาสตราจารย์ด้านยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยการทัพเรือสหรัฐฯ James Holmes ชี้ว่า อย่าประเมินขีดความสามารถของจีนต่ำเกินไป หากจีนสามารถควบคุมน่านน้ำและน่านฟ้าในทะเลจีนใต้ หรือปฏิเสธไม่ให้กองทัพเรือสหรัฐฯ ใช้พื้นที่ส่วนกลางได้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนตรรกะในการป้องกันเกาะของ Alfred Thayer Mahan ให้เป็นประโยชน์ได้ โดยเฉพาะการที่ขีปนาวุธต่อต้านเรือรบ DF-26 (ASBM) ที่มีพิสัยไกล 1,800-2,500 ไมล์ แม้ว่ากองกำลังทางเรือและทางอากาศของสหรัฐฯจะที่มีอาวุธนำวิถีที่แม่นยำก็ตาม นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงสิ่งที่ Carl von Clausewitz เน้นย้ำเรื่องปฏิกิริยาการใช้เหตุผลของทหารต่อปัจจัยแวดล้อมที่หลากหลายในการรบและสงครามที่ไม่อาจวัดด้วยเชิงปริมาณได้ รวมทั้งการประเมินเจตจำนงและความสามารถก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ โดยเฉพาะหากจีนสามารถทำให้การค้นหาและกำหนดเป้าหมายมีความซับซ้อนมากขึ้น จนทำให้ขีปนาวุธของสหรัฐฯ อาจพุ่งชนเรือพาณิชย์ขึ้นมา ก็จะเกิดผลในทางการเมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนได้
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://nationalinterest.org/blog/reboot/big-question-could-america-sink-china%E2%80%99s-modern-navy-192479 )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
28/8/2021