การพัฒนาด้านอาวุธนิวเคลียร์ของจีน ซึ่งรายงานโดยนักวิจัยที่ James Martin Center for Nonproliferation Studies ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ได้ระบุว่า จีนมีการสร้างไซโลขีปนาวุธ 119 ไซโลในทะเลทรายใกล้เมืองยู่เหมินของมณฑลกานซู่ และแห่งที่สองจำนวน 120 ไซโลที่กำลังก่อสร้างซึ่งอยู่ห่างจากเมืองยู่เหมินไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ 380 กิโลเมตร โดยทุ่งไซโลทั้งสองแห่งอยู่ใกล้กับที่ตั้งพื้นที่การฝึกของกองกำลังจรวด กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (PLA) ในเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน และยังได้ค้นพบทุ่งไซโลแห่งที่สามในพื้นที่ของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน โดยไซโลแต่ละแห่งมีขีปนาวุธข้ามทวีปหรือ ICBM แบบ DF-41 ซึ่งจะมาแทนที่ขีปนาวุธ DF-4 และ DF-5A ที่เก่า นอกจากนี้ รัสเซียกำลังช่วยเหลือจีนในการติดตั้งระบบเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับขีปนาวุธในอวกาศ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างหลักประกันว่าจะมีเครื่องยับยั้งนิวเคลียร์ที่รอดพ้นจากการโจมตีระลอกแรกของจีน และกำลังจะโจมตีตอบโต้จีน อันเป็นการพัฒนาระบบป้องกันขีปนาวุธของจีน ในขณะที่ Hans Kristensen แห่งสหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกันได้ประเมินคลังอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมดของจีนในปี 2020 (พ.ศ.2563) ว่ามีหัวรบ 320 หัว ซึ่งรวมถึง ICBMs ของกองกำลังจรวดของ PLA รวมทั้งขีปนาวุธที่ยิงจากเรือดำน้ำ และความสามารถทางยุทธศาสตร์ของกองทัพอากาศ PLA ที่จะทำให้จีนสามารถเพิ่มคลังอาวุธนิวเคลียร์เป็นสองเท่าภายในสิ้นทศวรรษนี้ โดยที่จีนมียูเรเนียมเสริมสมรรถนะประมาณ 14 ตัน และพลูโทเนียมประมาณ 2.9 ตัน ซึ่งเพียงพอสำหรับหัวรบนิวเคลียร์ประมาณ 730 หัว ดังนั้น การขยายตัวอย่างรวดเร็วของกำลังอาวุธนิวเคลียร์ดังกล่าวนี้ จะทำให้สามารถลดขีดความสามารถของสหรัฐฯ ในการโจมตีจีน
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.aspistrategist.org.au/china-military-watch-10/ )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
28/8/2021