บทบาทและท่าทีในการแสดงออก ต่อความสมดุล ระหว่างอำนาจด้านต่างๆ โดยเฉพาะต่อความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของจีน และการเผชิญหน้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะเป็นบททดสอบที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ของอินโดนีเซีย จากการที่อินโดนีเซียได้ดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศตามรูปแบบ “การทูตที่เท่าเทียมกัน” (“equidistant diplomacy”) ในทางปฏิบัติกับทั้งจีนและสหรัฐฯ โดยด้านหนึ่ง อินโดนีเซียได้เพิ่มการพึ่งพาอาศัยทางเศรษฐกิจกับจีน ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีขั้นสูง ในเวลาเดียวกัน สหรัฐฯ ก็ได้เสริมกำลังการป้องกันและความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับอินโดนีเซียจากการเจรจาหารือเชิงยุทธศาสตร์ และดำเนินการซ้อมรบร่วมทางทหาร ทั้งนี้ การที่อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรเกือบ 300 ล้านคน และมูลค่าทางเศรษฐกิจการค้านับล้านล้านเหรียญ กับสถานะของการเป็นมหาอำนาจขนาดกลางของโลก จึงเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาดำเนินนโยบายต่อจีนในขณะที่มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้นระหว่างอินโดนีเซีย กับจีนจากข้อพิพาททางทะเล กรณีของหมู่เกาะนาทูนา ที่อุดมด้วยทรัพยากร ซึ่งก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ กิจกรรมของจีนในทะเลจีนใต้มากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นประเด็นสำคัญด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคจากการอ้างสิทธิ์ของจีนโดยใช้เส้นประ 9 เส้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่เขตเศรษฐกิจจำเพาะของอินโดนีเซียในทะเลนาทูนาเหนือ
ดังนั้น ทั้งจีนและสหรัฐฯ ต่างเข้าใจถึงความวิตกกังวลที่เพิ่มขึ้นของอินโดนีเซียจากปัญหาเหล่านั้น จึงต่างพุ่งเข้าหาอินโดนีเซียในรูปแบบของการสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญ จึงน่าติดตามดูแนวทางการดำเนินนโยบายของอินโดนีเซียต่อการผ่อนปรนข้อจำกัดของสหรัฐฯ ในการซ้อมรบทางทหารร่วมระหว่างสหรัฐฯ กับกองกำลังพิเศษของอินโดนีเซีย รวมถึงการซ้อมรบร่วมทางทะเล และการดำเนินนโยบายของอินโดนีเซียต่อการพึ่งพาซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งระหว่างจีนกับอินโดนีเซีย
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.scmp.com/comment/opinion/article/3145505/could-tensions-china-threaten-indonesias-tradition-superpower )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
27/8/2021