กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของจีน ผ่านสภาประชาชนฯ มีผลบังคับใช้ 1 พ.ย.2564
จากการประชุม คณะกรรมการประจำสภาประชาชนแห่งชาติของจีน ชุดที่ ๑๓ ครั้งที่ ๓๐ เมื่อวันที่ ๒๐ ส.ค.๖๔ ได้ลงมติผ่าน “กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” (“个人信息保护法”) โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. เนื่องจากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญหาต่างๆ เช่น การรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลมากเกินไป การขาดความคุ้นเคยกับข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ที่ละเอียดอ่อนซึ่งได้กลายเป็นประเด็นร้อน ในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และได้รับความสนใจอย่างมากจากโลกภายนอก ดังนั้น การเกิดขึ้นของ “กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” (“个人信息保护法”) จึงเป็นสัญลักษณ์ว่าหลังจากการบังคับใช้ “กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์” (“网络安全法”) และ “กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล” (“数据安全法”) ซึ่งเป็นระบบกฎหมายของจีนที่มีความทันสมัยในยุคนี้ ซึ่งมีความสำคัญกล่าวคือ
๑.๑ หลังจากเกือบ ๒๐ ปี ในที่สุด ประเทศจีนก็มีกฎหมายที่สำคัญในสังคมดิจิทัล โดยได้ก่อตั้งระบบกฎหมายหลักว่าด้วย “กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์” “กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล” และ “กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”
๑.๒ หลังจากผ่านไปกว่าครึ่งศตวรรษ ระบบกฎหมายของประเทศจีนที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลได้ถูกสร้างขึ้น ปัจจุบัน 128 ประเทศ ได้ออกกฎหมายเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล และความเป็นส่วนตัว
๑.๓ เป็นก้าวสำคัญในระบบการเข้าสู่สังคมดิจิทัลที่ “เน้นบุคคล” (“以人为本”) ภายใต้ “กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” ของจีน ซึ่งได้ชี้แจงถึงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ที่ต้องมีกฎหมายรองรับ
๑.๔ เป็นไปตามกฎสากลทั่วไปอย่างสมบูรณ์
๑.๕ เป็นส่วนช่วยในการกำกับดูแลทางดิจิทัลทั้งหมด โดยรักษาสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ของการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลและการส่งเสริมการใช้ข้อมูลนั้น ซึ่งเป็นประเด็นหลักของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
๒. กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว มุ่งให้ความสำคัญกับองค์กร ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือใช้วิธีการที่ผิดกฎหมาย ตลอดจนใช้ประโยชน์จากข้อมูลเกินความจำเป็น โดยเฉพาะมีการซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางธุรกิจ อันทำลายความสงบสุขของชีวิตประชาชน รวมทั้งคุกคามความปลอดภัยทางชีวิต สุขภาพ และทรัพย์สินของประชาชน
บทสรุป กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้กำหนดขอบเขตเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล และกฎเกณฑ์การจัดการกฎหมายเจาะจงต่อปัญหาสำคัญทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยกำหนดความรับผิดชอบ ด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว ด้วยระบบที่สมบูรณ์แบบมาตรฐานสากลที่เคร่งครัด และกำหนดความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มบทลงโทษ ต่อการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพื่อรักษาสภาวะแวดล้อมในยุคสมัยของสังคมดิจิทัล โดยเน้นถึงการรักษาสมดุลระหว่างความสัมพันธ์ของการปกป้องสิทธิส่วนบุคคล และการส่งเสริมการใช้ข้อมูลนั้น
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.npc.gov.cn/npc/c30834/202108/a8c4e3672c74491a80b53a172bb753fe.shtml และเว็บไซต์ https://www.huxiu.com/article/450166.html รวมทั้งเว็บไซต์ http://www.chinanews.com/gn/2021/08-20/9547947.shtml )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
26/8/2021