แผนอนุรักษ์ พัฒนาป่าไม้และทุ่งหญ้าในระยะห้าปีของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 14 ของจีน ป่าเพิ่ม สัตว์ป่าเพิ่ม ระบบนิเวศน์ดีขึ้น
กรมป่าไม้และทุ่งหญ้าแห่งชาติจีน และคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน ได้ร่วมกันเผยแพร่ “เค้าโครงแผนการอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้และทุ่งหญ้าในระยะห้าปี ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๑๔” (“十四五”林业草原保护发展规划纲要”) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. ในเค้าโครงแผนการอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้และทุ่งหญ้าดังกล่าว ระบุว่า ภายในปี ๒๐๒๕ (พ.ศ.๒๕๖๘) จีนจะพัฒนาอัตราการปลูกป่าขึ้นถึง ๒๔.๑% โดยมีพื้นที่ ๑๙,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ทุ่งหญ้ามีสัดส่วนต้นหญ้าปลูกมากกว่า ๕๗% โดยในช่วง ๕ ปี ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๑๓ ที่ผ่านพ้นไปนั้น ระบบนิเวศของจีนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด สัดส่วนป่าปลูกอยู่ที่ ๒๓.๐๔% กิจการป่าไม้และทุ่งหญ้าพัฒนาก้าวหน้าอย่างมีเสถียรภาพ โดยมีมูลค่าถึง ๘ ล้านล้านหยวน ประกอบขึ้นเป็นอุตสาหกรรมหลัก ที่มีมูลค่ามากกว่า ๑ ล้านล้านหยวนต่อปี ทั้งหมด ๓ อุตสาหกรรม ได้แก่ ป่าไม้เศรษฐกิจ การแปรรูปไม้ และการท่องเที่ยวป่าไม้ โดยเฉพาะการลดความยากจน ด้วยเศรษฐกิจทางระบบนิเวศนั้นมีผลงานที่ชัดเจน จากมาตรการชดเชยความเสียหายทางระบบนิเวศ การปลูกพืช และอุตสาหกรรมทางระบบนิเวศได้ช่วยให้ผู้ยากจนจำนวนกว่า ๒๐ ล้านคนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
๒. เค้าโครงแผนฯ เสนอว่า เมื่อดำเนินการตาม “แผนห้าปี ฉบับที่ ๑๔” (“十四五”) ของจีน จะดำเนินการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพื้นที่สีเขียวของประเทศในวงกว้างทางวิทยาศาสตร์ โดยสร้างระบบพื้นที่สงวน เพื่อคุ้มครองธรรมชาติ โดยมีอุทยานแห่งชาติเป็นส่วนประกอบหลัก เสริมสร้างการป้องกัน และฟื้นฟูทุ่งหญ้า เสริมสร้างความเข้มแข็งในการปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำ เสริมสร้างการคุ้มครองสัตว์ป่า และส่งเสริมการป้องกันและควบคุมการแปรสภาพเป็นทะเลทรายในเชิงวิทยาศาสตร์ เพิ่มประสิทธิภาพและเสริมสร้างอุตสาหกรรมป่าไม้และหญ้า เสริมสร้างการกำกับดูแลและการจัดการทรัพยากรป่าไม้และหญ้า เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการพัฒนาป่าและหญ้าที่มีคุณภาพสูง
บทสรุป เค้าโครงแผนการอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้และทุ่งหญ้าของจีน ในระยะห้าปีตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ ๑๔ ระหว่างปี ๒๐๒๑ – ๒๐๒๕ (พ.ศ.๒๕๖๔ – ๒๕๖๘) เน้นการสร้างระบบอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักให้มีความสมบูรณ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ ที่มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง อันจะทำให้ประชากรของสัตว์ป่า และพืชที่ใกล้สูญพันธุ์ได้เพิ่มมากขึ้น
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.xinhuanet.com/2021-08/19/c_1127775953.htm และเว็บไซต์ https://www.sohu.com/a/438960976_99955613 )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
25/8/2021