มหกรรมจีน-อาหรับ ครั้งที่ 5 พัฒนาการค้า ”เส้นทางสายไหม” สมาคมฯ บริษัท ห้างร้าน เข้าร่วมคึกคัก เม็ดเงินสะพัดไม่หวั่นโควิด
งานมหกรรมจีน-อาหรับ ครั้งที่ ๕ (ที่第五届中国-阿拉伯国家博览会) เปิดฉากขึ้นเมื่อวันที่ ๑๙ ส.ค.๖๔ ณ เมืองยินชวน เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย (宁夏回族自治区银川市开幕) ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. แม้ว่างานมหกรรมจีน-อาหรับ ครั้งที่ ๕ จะได้รับผลกระทบจากโรคระบาดทำให้จำนวนผู้เข้าร่วมงาน และขนาดของงานจะลดลงไปก็ตาม แต่ก็ยังดึงดูดผู้ประกอบการ สมาคมธุรกิจ และหน่วยงานธุรกิจจากทั่วประเทศจีนจำนวนมาก โดยมีบริษัทในประเทศจีนทั้งหมด ๒๓๙ แห่งจาก ๑๕ มณฑล / เขตปกครองตนเองและเมือง ที่ได้เดินทางมาเข้าร่วมงาน เพื่อการพัฒนาความร่วมมือเศรษฐกิจ และการค้า “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (“一带一路”) โดยเฉพาะการส่งเสริมบทบาทการสาธิต และขับเคลื่อนงานมหกรรมจีน-อาหรับ ด้วยการจัดตั้งกลไกมณฑล (เมือง) เจ้าภาพคู่เป็นครั้งแรก ซึ่งมณฑลเหอหนาน และมหานครฉงชิ่ง ได้กลายเป็นเจ้าภาพคู่หลักของงานในครั้งนี้
๒. ในงานมหกรรมจีน-อาหรับครั้งนี้ ได้มีพิธีลงนามระหว่างมหานครฉงชิ่ง และเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยเกี่ยวกับสัญญาแสดงเจตจำนงสำหรับโครงการความร่วมมือ ๑๑ โครงการ รวมถึงการก่อสร้างศูนย์โลจิสติกส์เชื่อมโยง นอกจากนี้ “งานมหกรรมจีน-อาหรับ จะเป็นเวทีเปิดระดับประเทศที่สำคัญ โดยมหานครฉงชิ่งมุ่งกระชับความร่วมมือกับเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น รวมทั้งร่วมกันขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้ากับประเทศและภูมิภาคตาม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” รวมถึงประเทศกลุ่มอาหรับด้วย โดยเฉพาะในงานครั้งนี้ ที่ได้มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญและบุคคลภายในอุตสาหกรรมจากกระทรวงพาณิชย์ของจีน กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของอียิปต์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน ตลอดจนหอการค้าต่างประเทศ และวิศวกรรมแห่งประเทศจีน โดยได้หารือในเชิงลึกเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จของจีนและมาตรการเชิงนโยบาย
บทสรุป งานงานมหกรรมจีน-อาหรับ ครั้งที่ ๕ มุ่งเน้นถึง “โอกาส อนาคตและความยั่งยืน” ( “机遇·未来·可持续” ) ในการพัฒนาความร่วมมือเศรษฐกิจและการค้า โดยการร่วมกันสร้าง “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” และได้มีการลงนามในโครงการต่างๆ มูลค่าเกือบ ๔ พันล้านหยวน ครอบคลุมการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน พลังงานใหม่ การเกษตรกรรมสมัยใหม่ การผลิตอุปกรณ์ชีวการแพทย์ การบิน และสาขาอื่นๆ รวมทั้งการหารือในเชิงลึกเกี่ยวกับนโยบาย มาตรการ พื้นที่ความร่วมมือ และการป้องกันความเสี่ยงสำหรับการร่วมกันสร้าง “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง”
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://news.cnstock.com/news,bwkx-202108-4743279.htm และเว็บไซต์ https://politics.gmw.cn/2021-08/19/content_35094241.htm )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
24/8/2021