สะพานข้ามทะเลอ่าวเฉวียนโจว เป็นสะพานรถไฟความเร็วสูงข้ามทะเลแห่งแรกของจีน
สะพานข้ามทะเลอ่าวเฉวียนโจว (泉州湾跨海大桥) เป็นสะพานรถไฟความเร็วสูงข้ามทะเล แห่งแรกในประเทศจีน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
๑. สะพานข้ามทะเลอ่าวเฉวียนโจว เป็นส่วนสำคัญ ของโครงการรถไฟความเร็วสูงฝูเซี่ยะ (福厦高铁 จาก นครฝูโจวที่เป็นเมืองเอกของ มณฑลฝูเจี้ยน – เมืองเซี่ยะเหมิน ๆ ที่เป็นเมืองท่าชายฝั่งทะเล ของมณฑลฝูเจี้ยน) โดยช่วงเที่ยงของวันที่ ๖ ส.ค.๖๔ ได้มีการติดตั้งคานเหล็กกล่องสุดท้าย ของส่วนปิดช่วงกลาง ทำให้ปิดสะพานหลัก ของสะพานอ่าวเฉวียนโจวได้สำเร็จ ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูง ฝูโจว – เซียะเหมิน ที่กำลังก่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูงข้ามทะเลสายแรกในจีน เริ่มจากนครฝูโจว ทางตอนเหนือถึงเมืองเซียะเหมิน และเมืองจางโจวทางตอนใต้ ของมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งเป็นสายหลัก ที่มีความยาวรวม ๒๗๗.๔๒ กิโลเมตร และออกแบบความเร็วไว้ที่ ๓๕๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในโครงการควบคุมหลักของสะพานข้ามทะเลอ่าวเฉวียนโจว โดยมีความยาวทั้งหมด ๒๐.๒๘๗ กิโลเมตร และช่วงสะพานข้ามทะเล ยาว ๘.๙๖ กิโลเมตร เป็นสะพานแขวนสายเคเบิล ที่มีเสาคู่ และระนาบคู่ รวมทั้งคานเหล็กผสมคอนกรีต เป็นสะพานรถไฟความเร็วสูง ข้ามทะเลแห่งแรกในจีน
๒. หลังจากปิดสะพานได้สำเร็จ การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงฝูเซี่ยะ ก็เข้าสู่ขั้นตอนการวิ่งขั้นสุดท้าย หลังจากเสร็จสิ้นการสร้างรถไฟความเร็วสูงฝูโจว-เซียะเหมิน โดยทำให้ฝูโจวและเซียะเหมิน จะเกิด “วงจรการเดินทางภายใน ๑ ชั่วโมง” (“一小时生活圈”) ในขณะเดียวกัน ในฐานะที่เป็นส่วนขยายที่สำคัญของรถไฟความเร็วสูงกรุงปักกิ่ง – นครฝูโจว การสร้างทางรถไฟความเร็วสูงฝูเซี่ยะ เมื่อเสร็จสมบูรณ์จะช่วยให้ เมืองทั้ง ๖ แห่งของมณฑลฝูเจี้ยน (นครฝูโจว เมืองผู่เถียน เมืองเฉวียนโจว เมืองเซียะเหมิน เมืองจางโจว และ เมืองหลงเหยียน) บรรลุ “การเข้าถึงทางรถไฟความเร็วสูงสู่กรุงปักกิ่ง” (“高铁进京”) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นการแก้ปัญหาข้อจำกัด “คอขวด” (“瓶颈”) ของทางรถไฟในพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน
บทสรุป สะพานข้ามทะเลอ่าวเฉวียนโจว จึงเป็นส่วนสำคัญของ โครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างนครฝูโจว – เมืองเซี่ยะเหมิน ที่จะก่อให้เกิดการส่งเสริม การบูรณาการอย่างรวดเร็ว ของการคมนาคมในมณฑลฝูเจี้ยน โดยผ่านเครือข่ายรถไฟความเร็วสูงแห่งชาติ เพื่อให้บทบาทของช่องทางในการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟความเร็วสูง ตามแนวชายฝั่งทะเลด้านตะวันของจีน สามารถเชื่อมต่อในการเข้าถึงทางรถไฟความเร็วสูง สู่กรุงปักกิ่ง โดยจะเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างอดีต และความเจริญรุ่งเรืองในอนาคต
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://news.dayoo.com/society/202108/06/140000_54012815.htm และเว็บไซต์ https://hb.chinadaily.com.cn/a/202108/07/WS610dfcfda3101e7ce975daae.html )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการเส้นทางสายไหม
18/8/2021