ด้วยการที่จีนมีความก้าวหน้า ในการพัฒนาขีปนาวุธ ที่มีความเร็วเหนือเสียงจำนวนมาก (Hypersonic Missiles) จากการลงทุนอย่างมหาศาลในศูนย์ทดสอบและความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม จนประสบความสำเร็จ ในการทดสอบ ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง เช่น DF-17 รวมท้้ง DF-21 และ DF-26 ทำให้กระทรวงกลาโหม ของญี่ปุ่นประกาศ เมื่อวันที่ 7 ส.ค.64 ว่า กำลังพิจารณาใช้อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน ในการตรวจจับขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง ของจีน โดยโดรนเหล่านี้จะติดตั้งเซ็นเซอร์อินฟราเรด ที่สามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าถึงการโจมตี ที่อาจเกิดขึ้นจากขีปนาวุธ ที่มีความเร็วเหนือเสียง ซึ่งสามารถหลบเลี่ยงเรดาร์ ต่อต้านอากาศยานแบบเดิมได้ ทำให้การตรวจจับ เป็นไปอย่างล่าช้า และส่งผลให้การสกัดกั้น ทำได้ยากมากขึ้น นอกจากนี้ ระบบป้องกันขีปนาวุธที่มีอยู่ ก็ไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะตอบโต้ ขีปนาวุธที่มีความเร็วเหนือเสียงเหล่านั้นได้ ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหานี้ อากาศยานไร้คนขับจึงถูกนำมาใช้เพื่อตรวจจับขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงให้ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ
การดำเนินการของญี่ปุ่นดังกล่าวนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความขัดเแย้ง จากการที่ ทั้งญี่ปุ่นและจีนต่างอ้างสิทธิ์ ในหมู่เกาะเช็งกากุ (Senkaku) หรือที่จีนเรียกว่า หมู่เกาะเตี้ยวหวี (钓鱼岛) ซึ่งรวมถึงเกาะที่ไม่มีคนอาศัยอยู่อีก 5 เกาะ ที่มีพื้นที่รวมไม่เกิน 5 ตารางกิโลเมตร
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://eurasiantimes.com/japans-1st-line-of-defense-tokyo-to-deploy-advance-drones-to-check-chinese-hypersonic-missiles/?amp )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาเซียนและโครงการคลองกระ
15/8/2021