ขีปนาวุธนำวิถีของจีนเพื่อโจมตีเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ (CVN) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่โดดเด่นที่สุดคือ DF-21D (พิสัยไกล 900 ไมล์) และ DF-26 (มีระยะการยิงสูงสุด 1,800-2,500 ไมล์) โดยเป็นขีปนาวุธต่อต้านเรือรบ (ASBMs) ซึ่งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (PLA) ใช้เป็นหลักในการป้องกันการเข้าถึง/ปฏิเสธพื้นที่ (A2/AD) ของจีน ดังนั้น ขีปนาวุธของ PLA อาจคุกคามสหรัฐฯ และเรือรบของพันธมิตร ที่แล่นอยู่ในทะเลที่ใดก็ได้ภายในแนวห่วง โซ่เกาะที่สอง(second island chain) ในมหาสมุทรแปซิฟิก และโดยเฉพาะ DF-26 จะมีพิสัยไกลกว่าแนวห่วงโซ่ เกาะที่สองอย่างมาก ทำให้เป็นอันตราย สำหรับกองกำลังเฉพาะกิจ ของสหรัฐฯ ที่แล่นเรือไปทางตะวันตกจากฮาวาย หรือชายฝั่งตะวันตกของอเมริกา
ในขณะที่เกาะกวม ญี่ปุ่น หรือด่านหน้าแปซิฟิกตะวันตกอื่น ๆ ก็จะอยู่ภายใต้เงา ของการโจมตีด้วยขีปนาวุธ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การทำสงครามเรือดำน้ำจะถือเป็นยุทธศาสตร์ทางทะเลของสหรัฐฯ สำหรับการสู้รบในมหาสมุทรและใกล้ชายฝั่ง โดยเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ (SSN) เช่น เรือชั้นเวอร์จิเนียของสหรัฐฯ หรือลอสแองเจลิส สามารถโจมตีการขนส่งทางผิวน้ำในทะเลหลวงได้ หรือสามารถหลบอยู่ใต้แนวป้องกัน A2/AD ของจีน เพื่อ โจมตีเรือข้าศึกรวมทั้ง เป้าหมายชายฝั่ง ซึ่งจะเป็นความผิดพลาดหากรัฐสภาสหรัฐฯ ปล่อยให้ขนาดของกองเรือดำน้ำ SSN ของสหรัฐฯ ลดน้อยลงจาก 53 ลำในวันนี้เหลือเพียง 41 ลำในปี 2029 (พ.ศ.2572) ในขณะที่จีนกำลังเพิ่มกองเรือดำน้ำ ที่ขับเคลื่อนด้วยนิวเคลียร์ ได้มากถึง 78 ลำ
สรุปโดยรวมแล้ว การดำเนินการ A2/AD ของจีน ได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านยุทธวิธีและการปฏิบัติการสำหรับกองเรือรบของสหรัฐฯ ซึ่งต้องศึกษาบทเรียนทางประวัติศาสตร์ ตามแนวความคิดของอัลเฟรด เธเยอร์ มาฮาน (Alfred Thayer Mahan) แม้ว่ากองเรือรบของสหรัฐฯ จะยังมีความแข็งแกร่งกว่ากองเรือรบของจีน ในการรบ ในทะเลเปิดอยู่ก็ตาม
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://nationalinterest.org/blog/reboot/us-and-china-have-each-others-aircraft-carriers-their-sights-191581 )
นำเสนอ/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาเซียนและโครงการคลองกระ
14/8/2021