ปัจจุบันกองทัพอากาศจีนมีเครื่องบินขับไล่ J-10 มากกว่า 300 ลำ เป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์แบบเครื่องยนต์เดียวน้ำหนักเบาที่สามารถปฏิบัติการได้ทุกสภาพอากาศ ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการต่อสู้ทางอากาศสู่อากาศและภารกิจโจมตี ในขณะที่ J-10C ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ล่าสุดและทันสมัยที่สุด เพิ่งได้รับการติดตั้งเครื่องยนต์ WS-10 Taihang ที่พัฒนาขึ้นในประเทศ ที่ได้ปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรกในการฝึกยิงจริงหลังจากเข้าประจำการกับกองทัพอากาศจีนรวมทั้งการเฉลิมฉลอง 100 ปีของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเมื่อวันที่ 1 ก.ค.64 ซึ่งนอกจากระบบการบินที่ปรับปรุงแล้ว เช่น เรดาร์ควบคุมการยิงของ AESA และเครื่องตรวจจับอินฟราเรดแบบถ่ายภาพ (IIR) PL-10 แล้ว J-10C ยังสามารถยิงขีปนาวุธอากาศสู่อากาศรวมถึงขีปนาวุธโจมตีระยะไกลขั้นสูง
เครื่องบินขับไล่ J-10 ที่แม้จะรับใช้กองทัพอากาศจีนมานานกว่าสองทศวรรษแล้ว แต่อนาคตของ J-10 ยังคงไม่แน่นอนเมื่อเผชิญกับการพัฒนาของเครื่องบินขับไล่ขั้นสูงอื่นๆ เช่น J-20 และ FC-31 รวมทั้งคู่ต่อสู้ในภูมิภาค เช่น อินเดีย ที่ปฏิบัติการด้วยเครื่องบิน Rafale และ Su-30MKI อันทรงพลัง นอกจากนี้ จีนกำลังดำเนินการวิจัยและพัฒนาและพัฒนาเครื่องบินขับไล่ J-11 ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก Sukhoi Su-27 ที่ออกแบบโดยอดีตสหภาพโซเวียต ทั้งนี้ J-11 เป็นเครื่องบินขับไล่แบบสองเครื่องยนต์ที่ทำการบินครั้งแรกในปี 1998 (พ.ศ.2541) และด้วยรูปแบบรวมถึงการอัพเกรดที่หลากหลาย เช่น ระบบเตือนการเข้าใกล้ขีปนาวุธ (MAWS) การแสดงห้องนักบินที่ได้รับการปรับปรุง และระบบควบคุมการยิงสำหรับขีปนาวุธ R-77 หรือ PL-10 จึงทำให้ J-11 กลายเป็นส่วนสำคัญของกองทัพอากาศจีน โดยมีมากกว่า 400 ลำในขณะที่กองทัพเรือจีนก็ได้ใช้ปฏิบัติการอยู่ประมาณ 70 ลำ
สรุปโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://eurasiantimes.com/dead-meat-why-chinas-workhorse-j-10-fighter-jets-need-to-hang-its-boots-before-rafale-strikes/?amp )
นำเสนอข่าว/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาเซียนและโครงการคลองกระ
11/8/2021