“การพัฒนาบูรณาการทางการทหารและพลเรือนเป็นยุทธศาสตร์ชาติ” (“军民融合发展作为一项国家战略”) ของผู้นำจีน
(ตอนที่ 2/2)
ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
๑. การดำเนินการบูรณาการทหาร-พลเรือนสู่การพัฒนาเชิงลึก นับตั้งแต่การประชุมใหญ่ระดับชาติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ ๑๘ เมื่อปี ๒๐๑๒ (พ.ศ.๒๕๕๕) ซึ่งได้มีการกำหนดลักษณะและกฎหมายจาก “รูปแบบการพัฒนาของการบูรณาการทางทหารกับพลเรือนอย่างลึกซึ้งในโครงสร้างพื้นฐานและสาขาที่สำคัญ” ไปจนถึง “รูปแบบการพัฒนาเชิงลึกของการบูรณาการทางทหารกับพลเรือนที่มีทุกองค์ประกอบ หลากหลายสาขา และมีประสิทธิภาพสูง” อันนำไปสู่การ “ยกระดับการพัฒนากองทัพ -บูรณาการพลเรือนเข้ากับยุทธศาสตร์ชาติ” ในการวางตำแหน่งของการรวมกลุ่มทหารและพลเรือนดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๒. แนวทางที่ประกอบกันเป็นการรวมตัวของทหารกับพลเรือน โดยการเปลี่ยนแปลงทางการทหารและการมีส่วนร่วมของพลเรือนในอุตสาหกรรมหลัก ๒ รูปแบบ กล่าวคือ
๒.๑ รูปแบบ “การทหารสู่พลเรือน” (“军转民”) หมายถึง การถ่ายโอนอุปกรณ์การผลิตและบุคลากรของอุปกรณ์ทางทหารและผลิตภัณฑ์ทางทหารอื่น ๆ โดยเฉพาะ ไปยังสาขาการผลิตพลเรือนรวมทั้งการจัดตั้งสวนอุตสาหกรรมบูรณาการระหว่างทหารและพลเรือนหลายประเภทอย่างต่อเนื่อง โดยมีอุตสาหกรรมการทหารเป็นหน่วยงานหลัก ทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมาก
๒.๒ รูปแบบ “การมีส่วนร่วมของพลเรือนในกองทัพ” (“民参军”) หมายถึง การเข้ามาของผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ผลิตอุปกรณ์พื้นฐาน รวมทั้งซัพพลายเออร์วัตถุดิบของระบบเศรษฐกิจและสังคม ได้เข้าสู่อุตสาหกรรมการทหารตามการจำแนกประเภทของห่วงโซ่อุตสาหกรรม
๓. การพัฒนาอุตสาหกรรมบูรณาการทหารและพลเรือน
๓.๑ รัฐบาลจีนประกาศนโยบายที่เอื้ออำนวยต่อระบบอุตสาหกรรมเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ด้วยการบูรณาการทางการทหารกับพลเรือนใน ๒ บทบาท ได้แก่ (๑) การแทรกแซงโดยตรงในการควบรวมและเข้าซื้อกิจการของวิสาหกิจทหาร-อุตสาหกรรม และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับการปฏิรูปและการควบรวมกิจการของวิสาหกิจทหาร-อุตสาหกรรม (๒) การโน้มน้าวทางอ้อม อาทิ รูปแบบธุรกิจและสภาวะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
๓.๒ การเปิดตลาดพลเรือนสำหรับอุตสาหกรรมขั้นสูงทางการทหาร โดยการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการป้องกันประเทศภายใต้การรวมตัวของทหารและพลเรือนจะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
๓.๓ การบูรณาการทางทหารและพลเรือนเป็นเครื่องมือใหม่ในทุกภูมิภาค โดยใช้ประโยชน์จากโอกาสในการแนะนำอุตสาหกรรมการทหาร วิสาหกิจกลางและสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อสร้างศูนย์บ่มเพาะบูรณาการทหารและพลเรือน และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมบูรณาการทหารและพลเรือนในท้องถิ่นในเวลาเดียวกันทั้งภายในและภายนอก
๓.๔ อาศัยเค้าโครงของอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศและค่อย ๆ แทรกซึมเข้าไปในระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยการจำแนกประเภทพื้นฐานของอุตสาหกรรมการทหารของจีนเป็น ๖ หมวดหมู่ ได้แก่ อุตสาหกรรมนิวเคลียร์ อุตสาหกรรมการบิน อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ อุตสาหกรรมการต่อเรือ อุตสาหกรรมอาวุธ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
บทสรุป การพัฒนาและการผลิตผลิตภัณฑ์การบินขั้นสูงทางการทหาร โดยนอกจากเพื่อผลลัพทธ์ในด้านการสงครามแล้ว ยังสามารถส่งเสริมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านโลหะวิทยา เคมีภัณฑ์ วัสดุ และอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบินพลเรือนในประเทศของจีนที่ยังคงเติบโตอย่างมั่นคงและรวดเร็ว จากการสร้างเครื่องบินขนาดใหญ่ C919 อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสร้างสวนอุตสาหกรรมการบินทั่วไปมากกว่า ๑๔๐ แห่งทั่วประเทศจีน จึงเป็นรูปธรรมของการพัฒนาบูรณาการทางการทหารและพลเรือนเป็นยุทธศาสตร์ชาติของจีนที่ชัดเจนได้กรณีหนึ่ง
ประมวลโดย พลตรี ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล
( ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://zhuanlan.zhihu.com/p/383315935 )
นำเสนอข่าว/รายงาน
ว่าที่ พันตรี กรพด รุ่งหิรัญวัฒน์
ตำแหน่ง เลขาธิการ
สถาบันศึกษาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาเซียนและโครงการคลองกระ
10/8/2021