ชาวลพบุรีแตกตื่น
สมัครพร้อมเพย์ ต่อแถวยาวออกหน้าธนาคาร
สมัครเป็นผู้ประกันตน ม 40 รับเงินเยียวยา 5000 บาท แน่นธนาคาร เพื่อมาสมัครพร้อมเพย์ในพื้นที่จ. ลพบุรี
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เมื่อเวลา 12.00 น.
รายงานข่าวว่าบรรยากาศที่ ธนาคารออมสินสาขาวงเวียนสระแก้ว และธนาคารกรุงไทย. สาขาวงเวียนสระแก้ว จ.ลพบุรี มีประชาชนกลุ่มอาชีพอิสระและฟรีแลนซ์นอกระบบประกันสังคม แห่กันไปสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 แน่นตั้งแต่เช้าก่อนเวลาเปิดทำการ เพื่อต้องการรับเงินเยียวยา 5,000 บาท ในกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ 29 จังหวัด ซึ่ง จ.ลพบุรี เป็นหนึ่งใน29 จังหวัดที่มีการล็อกดาวน์ด้วย
สาเหตุที่ประชาชนแห่กันมาสมัครมาตรา 40 ที่สำนักงานประกันสังคม จลพบุรี สาขาลพบุรี เป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะมีอีกหลายช่องทางที่สามารถสมัครได้เช่นผ่านเว็บไซต์และเคาน์เตอร์เซอร์วิส เพราะต้องการความมั่นใจและสามารถสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ทันที บรรยากาศมีประชาชนต่อแถวแห่สมัครพร้อมเพย์ที่ธนาคารชื่อดังทั้ง 2 แห่ง เพราะมีประชาชนยืนต่อแถวก็จะถึงนอกถนน
รายงานข่าวว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารทั้ง 2 แห่ง จ.ลพบุรี
ต้องออกมาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนด้านนอกและจัดระเบียบและอธิบายรายละเอียดและขั้นตอนต่างๆ ให้กับประชาชนที่มาสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้เข้าใจ
และสมัครพร้อมเพย์
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมอีกว่า การเยียวยาผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 39 และม 40 (ประกันตนเอง) มีการช่วยเหลือ 1 เดือน ได้รับการช่วยเหลือ 2,500 บาท ลูกจ้างที่ได้รับชดเชยจะได้รับเงิน 50% ของค่าจ้างไม่เกิด 7,000 บาท รวมได้ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนผู้ประกอบการจะได้รับรายละ 3,000 บาท กลุ่มอาชีพอิสระที่ไม่ได้ทำประกันสังคมใด มีสิทธิได้รับการเยียวยา เตรียมหลักฐานยื่นลงทะเบียนผู้ประกันตนตาม ม 40 เพื่อรับการช่วยเหลือเดือน ก.ค.64
เตรียมรับเงินเยียวยาประกันสังคม เปิดวิธีผูกบัญชี “พร้อมเพย์” กับ “บัตรประชาชน” เริ่มโอนวันที่ 4-6 ส.ค.นี้
รัฐเตรียมจ่าย “เงินเยียวยาประกันสังคม” สำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากการ “ล็อกดาวน์” ช่วง “โควิด-19” รอบล่าสุด โดยจะโอนเงิน “เยียวยา” เข้า “พร้อมเพย์” ที่ผูกกับ “บัตรประชาชน” ของผู้ที่มีคุณสมบัติและได้รับผลกระทบตรงตามที่กำหนด เบื้องต้นคือเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 10 จังหวัด และอยู่ใน 9 กลุ่มอาชีพตามที่กำหนด โดยครอบคลุมผู้ประกันตน “ประกันสังคม” มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ตามระยะเวลาที่กำหนด
นอกจากคุณสมบัติที่ต้องมีครบตามที่รัฐกำหนดแล้ว สิ่งที่ต้องมีและเตรียมให้พร้อมสำหรับรับเงินเยียวยา คือ “พร้อมเพย์” เพื่อรับเงินโอนโดยตรงจากรัฐ
ทำไมต้องผูกบัญชีพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน
สำหรับเงื่อนไขของการใช้พร้อมเพย์ ในการรับเงินต่างๆ จากภาครัฐ เช่น “เงินคืนภาษี” “เงินเยียวยา” (ในบางกรณี) จำเป็นผูกหมายเลขบัญชีกับหมายเลขบัตรประชาชน เนื่องจากรัฐจะตรวจสอบสิทธิการโอนโดยตรงจากบัตรประชาชนซึ่งแม่นยำกว่าการผูกบัญชีกับเบอร์โทรศัพท์
อย่างไรก็ตามการผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขโทรศัพท์ก็ยังสามารถทำได้ และใช้งานได้ตามปกติ สามารถโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ได้แบบไม่มีค่าธรรมเนียมเช่นกัน (กรณีโอนครั้งละไม่เกิน 5,000 บาท) เพียงแต่ไม่สามารถรับเงินโดยตรงจากรัฐเท่านั้น
เงินเข้า 9 ส.ค.นี้! ‘ประกันสังคม’ จ่าย ‘เงินเยียวยา’ ม.33 เพิ่มเติม 3 จังหวัด
วันนี้! เตือนนายจ้าง ‘ประกันสังคม’ ม.33 รีบยื่นขอรับ ‘เงินเยียวยา’ ผ่าน e-service
วิธีเช็คว่าพร้อมเพย์ผูกอยู่บัญชีไหน ?
สำหรับคนที่ “เคยผูกพร้อมเพย์” แล้ว แต่จำไม่ได้ว่าผูกพร้อมเพย์ไว้กับบัญชีธนาคารไหน หรือได้ผูกบัญชีไปหรือยัง ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง ผ่านแอพพลิเคชั่นของแต่ละธนาคาร (Mobile Banking) ตามขั้นตอนดังนี้
- เข้าไปที่เมนู “พร้อมเพย์” หรือ “ตรวจสอบพร้อมเพย์” (แต่ละธนาคารใช้ชื่อเมนูต่างกัน)
- ระบบขึ้นสถานะ ว่า “เบอร์โทรศัพท์” หรือ “เลขบัตรประชาชน” ผูกบัตรธนาคารใดอยู่แล้วบ้าง
ทั้งนี้ กรณีที่ ยังไม่มีการผูกบัญชีธนาคารใดๆ กับพร้อมเพย์เลย ระบบจะขึ้นเมนูให้กดผูกบัญชีกับธนาคารผ่านแอพพลิเคชั่น ณ เวลานั้นๆ ได้ทันที เพียงแค่ โดยสามารถกดเข้าไปที่เมนูที่ปรากฏ อ่านเงื่อนไขการใช้งาน และกดผูกบัญชี ระบบก็จะทำการผูกบัญชีธนาคารเข้ากับหมายเลขบัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์ของเราเลย
ตัวอย่าง การตรวจสอบการผูกบัญชีพร้อมเพย์
จากตัวอย่างข้างต้น ลองตรวจสอบผ่านแอพฯ ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (ขวา)
- กรณีทางด้านซ้าย มีการผูกพร้อมเพย์กับเบอร์โทรศัพท์ไปแล้ว แต่ยังไม่เคยผูกพร้อมเพยฺกับหมายเลขบัตรประชาชน ซึ่งหากต้องการผูกบัญชีกับบัตรประชาชนสามารถเลือกเมนู “ลงทะเบียน” และดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ได้เลย
- กรณีทางด้านขวา แสดงให้เห็นว่าเคยมีการผูกพร้อมเพย์กับเบอร์โทรศัพท์ไปแล้ว (พร้อมระบุบัญชี) และเคยผูกพร้อมเพย์บัตรประชาชน (พร้อมระบุบัญชี)
ความคืบหน้าจะรายงานให้ทราบภายหลัง
นันท์นภัส วงศ์ใหญ่
ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ