“กบบางชนิดมีวิวัฒนาการใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคเรียกหาคู่ซึ่งพวกมันจะสามารถได้ยินได้แม้ว่าบรรยากาศโดยรอบจะเป็นสายน้ำที่ไหลเร็วและมีเสียงดังกึกก้อง” นักวิจัยกล่าว
นักชีววิทยา ดอกเตอร์ Sandra Goutte จาก Sorbonne University ในกรุงปารีส และทีมวิจัยได้ทำการศึกษาเสียงเรียกของกบที่อาศัยตามกระแสน้ำ (torrent frog) ใน Borneo, Indonesia, Malaysia, China และ Cambodia
พวกเขาค้นพบว่ากบเหล่านี้มีการใช้พิชท์เสียงในการเรียกหาคู่สูงกว่ากบชนิดอื่น ๆ บนโลกและมีเพียงไม่กี่สายพันธุ์ที่ใช้คลื่นอัลตร้าโซนิกในการเรียกหาคู่
“คุณสามารถเห็นได้ว่ากบนั้นกำลังเรียกหากันแต่คุณจะไม่สามารถได้ยินเสียงของพวกมันได้ ” ดอกเตอร์ Goutte ผู้ทำงานวิจัยกว่าว
“การส่งเสียงเรียกของกบชนิดนี้บางทีอาจจะถูกจำกัดด้วยสภาพแวดล้อมที่มันอยู่อาศัยซึ่งก็คือกระแสน้ำที่ไหลอย่างรวดเร็วและแรง ซึ่งก่อให้เกิดเสียงรบกวน”
กบตัวผู้โดยทั่วไปจะเรียกหาคู่ในขณะที่จะนั่งอยู่บนต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ข้าง ๆ กระแสน้ำที่ไหลอย่างรวดเร็ว กบตัวเมียจะวางไข่บนหินและหลังจากนั้นลูกอ๊อดจะเจริญเติบโตในน้ำที่เต็มไปด้วยอากาศที่อยู่ใกล้ ๆ ปัญหาคือเสียงน้ำตกนั้นจะมีพิชท์เสียงที่ต่ำประมาณ 2 กิโลเฮิร์ทซึ่งจะกั้นเสียงพิชท์ของกบในการเรียกหาคู่แทบทุกชนิดซึ่งโดยทั่วไปอยู่ต่ำกว่า 5 กิโลเฮิร์ท
Dr. Goutte และทีมวิจัยของเขาทำการวัดพิชท์ในการเรียกหาคู่ของกบกว่า 70 สายพันธุ์ของกบที่อาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำ ซึ่งมีขนาดตามความยาวช่วงตัวอยู่ตั้งแต่ประมาณ 2 ถึง 15 เซนติเมตร
พวกเขาพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วกบแทบทุกตัวจะมีเสียงพิชท์ในการเรียกหาคู่อยู่ในช่วงระหว่าง 4 ถึง 10 กิโลเฮิร์ท มีเพียงบางสายพันธุ์ที่ใช้ความถี่ที่
มากกว่า 20 กิโลเฮิร์ท ซึ่งอยู่ในช่วงของคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิก เหนือการได้ยินของมนุษย์
ผู้เขียนงานร่วม Dr. Jodi Rowley จาก Australian Museum Research Institute กล่าวว่า “การส่งเสียงเรียกของกลุ่มกบนั้นจะมีความถี่ที่หลากหลายจากต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด ซึ่งสูงถึง 44 กิโลเฮิร์ท”
“กบเพียงไม่กี่สายพันธุ์เท่านั้นที่รู้จักการเรียกคู่ของมันด้วยคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิกและพวกมันมักอาศัยอยู่ตามแม่น้ำที่มีลักษณะไหลเร็ว”