ผู้สื่อข่าวพิเศษรายงานมาจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 2564 เวลา 05.00 น.นางจิ่ง แซ่จ่าว ประธานกลุ่มแม่บ้านรักไทย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในวัย 54 ปี ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคมะเร็งตับและปอดซึ่งนางจิ่งเป็นผู้ที่ชาวแม่ฮ่องสอนให้ความเคารพรักและความศรัทธาเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้นางจิ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านรักไทย ซึ่งเป็นชาวอพยพจากจีนยูนาน โดยเดินตามรอยพระราชดำริในการพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็นผู้ให้ความเมตตาแก่ชาวหมู่บ้านรักไทยที่ทำให้สามารถยังชีพและช่วยเหลือตัวเองได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้นางจิ่งยังได้พัฒนาหมู่บ้านรักไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอนมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันภายใต้แห่งความสำนึกและความจงรักภักดีตั้งสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์
อีกทั้งยังเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือทางส่วนราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนในการติดต่อประสานงาน พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านตรงข้ามจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
วาระสุดท้ายของชีวิต นางจิ่ง แซ่จาว ได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งตับและปอด ระยะสุดท้าย และได้สิ้นลมอย่างสงบ เมื่อเวลา 05.00 น. ของวันที่ 18 มิถุนายน 2564 ที่บ้านพักในหมู่บ้านรักไทย จังหวัดแม่ฮ่องสอน และทำพิธีสวดศพตามธรรมเนียมจีนในหมู่บ้านรักไทย และชาวบ้านในหมู่บ้านรักไทยได้หยุดกิจการเพื่อเป็นการไว้อาลัยต่อผู้วายชนม์จนถึงวันที่ 23 มิถุนายน 2564 โดยทำพิธีฝังศพตามธรรมเนียมจีนของ นางจิ่ง แซ่จาว วันที่ 23 มิถุนายน 2564 เวลา 10.00 น. ณ บ้านเลขที่ 12/ช ตำบลหมอกจาแป๋ อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทางด้านประวัติ “นางจิ่ง แซ่จ่าว” นั้นบรรพบุรุษเดิมเป็นชาวจีนยูนานอพยพหนีสงครามมาปี พ.ศ.2516 มีครอบครัวทหารจีน คณะชาติ จากกองพล 93 บ้านถ้ำงอบประมาณ 2-3 ครอบครัวเดินทางอพยพติดตามสามีที่เป็นทหารเข้ามาปลูกบ้านเรือน ทำสวนไร่นาในเขตพื้นที่บ้านรักไทย ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของชุมชนบ้านรักไทยตั้งแต่นั้นมา โดยครอบครัวแรกที่อพยพเข้ามาคือครอบครัวของนายโกวยี่ฉ่าย หยางเจินอาง และ นางหลงเซียน แซ่หลิน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ครอบครัวของเจ้จิ่งในวัยเด็ก และต่อมาเจ้จิ่งแต่งงานกับสามีชาวเขาบ้านรักไทยด้วยกัน มีบุตร 2 คน ชาย 1หญิง 1 คน และหลังจากมีลูกสาวไม่นานสามีก็เสียชีวิตจากโรคประจำ ตัว และเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
โดยในเวลานั้นผู้อพยพส่วนใหญ่ทำอาชีพปลูกฝิ่นขาย ไม่มีอาชีพอื่นเป็นหลักแหล่ง เนื่องจากไม่สามารถลง
จากเขาเพื่อมาประกอบอาชีพรับจ้างในเมืองได้ เนื่องจากไม่มีสัญชาติไทย และด้วยความห่วงใยของในหลวงภูมิพล รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระราชินีพันปีหลวง ในขณะนั้น ที่ทรงเห็นประชาชนผู้อพยพชาวเขาที่กำลังตกทุกข์ได้ยากกลุ่มนี้ไม่มีอาชีพที่ถูกต้องสุจริตและผิดกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย พระองค์จึงคิดช่วยชาวบ้านรักไทยกลุ่มนี้ให้มีอาชีพที่สุจริตและสร้างความยั่งยืน
โดยพระองค์ทรงรับสั่งให้ขุดแหล่งกักเก็บเพื่อนำไปใช้ทำการเกษตรที่สูง เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอากาศหนาวตลอดปี แนะให้ชาวบ้านปลูก ชาหยาดน้ำค้าง,ชาอู่หลง,ชาก้านอ่อน,และกาแฟ และดีกว่าปลูกฝิ่นเช่นอดีตจนเป็นที่โด่งดังจนถึงปัจจุบัน และได้ทรงรับสั่งว่าไม่อนุญาตให้นายทุนหรือกลุ่มทุนที่ไม่ใช่ประชาชนในหมู่บ้าน ขึ้นไปสร้างรีสอร์ทหรือเป็นเจ้าของกิจการในพื้นที่นี้ได้ทุกกรณี เนื่องจากพระองค์ทรงต้องการให้ชาวเขากลุ่มนี้ ประกอบอาชีพที่สร้างมูลค่าจากการปลูกชาและทำแหล่งท่องเที่ยวที่พักอาศัยให้อยู่ได้ด้วยตัวพวกเขาเองจนถึงปัจจุบัน
จึงทำให้ชาวบ้านหมู่บ้านรักไทยมีความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระพันปี หลวงเป็นอย่างมากทุก มีรูปภาพพระบรมฉายาลักษณ์ตั้งแต่ซุ้มประตูทางเข้าหมู่บ้านและทุกบ้านเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีที่พระองค์ทรงมีคุณูปการอย่างหาที่สุดมิได้กับพวกเขา และได้ร่วมกันแสดงออกถึงความจงรักภักดีทุกครั้งเวลามีวันสำคัญต่างเช่นวันพ่อแห่งชาติและวันแม่เเห่งชาติ เป็นต้น
สำหรับประวัติด้านคุณงามความดีนั้น นางจิ่ง แซ่จ่าว เป็นผู้มีส่วนร่วมและผู้นำหลักในการพัฒนาหมู่บ้านรักไทยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นางจิ่งเป็นพลเรือนที่”อาสา”ตนเองเพื่อเป็นการ”ตอบแทนบุญแผ่นดิน”
ช่วยเหลือส่วนราชการของ จ.แม่ฮ่องสอน ในการติดต่อประสานงานและอำนวยความสะดวกให้กับส่วนราชการไทยในจังหวัดแม่ฮ่องสอนทุกภาคส่วน โดยภารกิจหลักคือ ประสานส่วนราชการของประเทศเพื่อนบ้านตรงข้ามจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในภารกิจสำคัญให้หน่วยงานปกครอง ความมั่นคงและเป็นล่ามให้ เนื่องจากนางจิ่งสามารถพูดภาษาไทย,ภาษาไทใหญ่,ภาษาว้า,ภาษาเมีนมาและภาษาจีน ได้เป็นอย่างดี และเป็นที่รู้จักและไว้วางใจของผู้นำทหารฝั่งประเทศเพื่อนบ้านเป็นอย่างดี เนื่องจากยังมีญาติพี่น้องยังอาศัยอยู่ฝั่งเมียนมา ซึ่งได้ช่วยส่วนราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองกำลังนเรศวร, กองกำลังผาเมือง ภายใต้กองทัพภาคที่ 3 ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา โดยมีเหตุผลเดียวในการอาสาคือ การได้ตอบแทนบุญคุณแผ่นดินไทยที่ให้เขาเข้ามาตั้งรกรากอาศัยและประกอบอาชีพจนปัจจุบัน
และภารกิจสุดท้าย ป่วยเป็นโรคมะเร็งก็ยังอาสาช่วยหน่วยงานราชการไทยเป็นล่ามในการพบปะพัฒนา
สัมพันธ์ ระหว่าง ฉก.ร.7 ส่วนราชการ กับทหารเมียนมา เพื่อระวังป้องกันแก้ปัญหาโรคโควิด-19 บริเวณ
ช่องทางห้วยผึ้ง ตำบลห้วยผา อา เภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน