เอเจนซีส์ – จากการเปิดเผยต่อเนื่องรายวันของสื่ออังกฤษถึงปัญหาค้ามนุษย์ในอุตสาหกรรมประมงไทย
เดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เป็นเจ้าภาพเชิญ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและ
ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ที่เป็นศูนย์กลางรายงานเชิงสอบสวนของเดอะการ์เดียน
ในปัญหาค้ามนุษย์ ที่บ้านเลขที่ 10 ถนนดาวนิง ในเดือนพฤษภาคม 2013 โดยเจ้าสัวธนินท์เดินทางมา
ในฐานะตัวแทนของบริษัทซีพีเพื่อพูดคุยการส่งออก และโอกาสการลงทุนกับเจ้าหน้าที่อังกฤษ
ทั้งนี้ สื่ออังกฤษได้รายงานว่า บริษัท ซี.พี.ฟูดส์ หนึ่งในเครือซีพีกรุ๊ปได้ส่งออกผลิตภัณฑ์กุ้งมายังอังกฤษ
และสหรัฐฯโดยใช้ผลิตภัณฑ์ปลาป่น (fish meal) ที่มีแรงงานทาสต่างด้าวและการค้ามนุษย์ข้องเกี่ยวใน
การผลิตเลี้ยงกุ้งในฟาร์มของบริษัท
และเดอะการ์เดียนยังพบว่า การพบปะระหว่างคาเมรอนและเจ้าสัวซีพีไม่ได้ถูกกำหนดในตารางนัดหมาย
อย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีอังกฤษ แต่ทว่าการเข้าหารือของธนินท์ เจียรวนนท์กับคาเมรอนกลับ
ปรากฏในเว็บไซต์บริษัท ซี.พี.เมื่อกรกฎาคม 2013 และได้ปรากฎในรายงานของกระทรวงต่างประเทศอังกฤษ
(FCO) โดย ฮิวโก สไวร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษได้แจกแจงการพบของตัวแทนจากบริษัท
ซี.พี.ฟูดส์จากไทยว่า “เข้าหารือกับนายกรัฐมนตรีอังกฤษ”
ทางด้านโฆษกบ้านเลขที่ 10 เปิดเผยว่า “ซี.พี.ฟูดส์ได้พบปะกับเจ้าหน้าที่ทำเนียบนายกรัฐมนตรีอังกฤษ
เพื่อถกด้านการค้าและโอกาสการลงทุน” โดยแหล่งข่าวจากบ้านเลขที่ 10เปิดเผยว่า คาเมรอนไม่มีกำหนด
การหารือกับธนินท์ เจียรวนนท์ จากซี.พี.ฟูดส์ ที่ได้รับเชิญให้เข้าพบกับผู้ช่วยของคาเมรอน
และโฆษกคาเมรอนได้ให้ความเห็นถึงการเปิดเผยข่าวค้ามนุษย์ในสินค้ากุ้งแช่แข็งของบริษัท ซี.พี.ฟูดส์ว่า
ต้องขึ้นกับผู้บริโภคชาวอังกฤษว่าจะตัดสินใจบริโภคกุ้งที่เป็นผลผลิตมาจากแรงงานทาสต่างด้าวหรือไม่
และเมื่อถามโฆษกคาเมรอนต่อว่า ทั้งนี้บริษัทค้าปลีกอักฤษควรเลิกสั่งซื้ออาหารทะเลที่มีการผลิตมาจาก
แรงงานทาสหรือไม่ โฆษกหมายเลข 10ตอบว่า “การตัดสินการเลือกซื้อเป็นอิสระ ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการ
ตัดสินใจส่วนบุคคลของผู้บริโภค….มาตรฐานของผู้บริโภคและร้านค้ารวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
มักจะมีผลมาจากพลังของผู้ซื้อเป็นสำคัญ”
ด้าน บ็อบ มิลเลอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร ซี.พี.ฟูดส์ประจำอังกฤษ ได้ให้สัมภาษณ์กับเดอะการ์เดียน
ในสัปดาห์นี้ว่า “เราไม่ได้กำลังแก้ตัวในสิ่งที่เกิดขึ้น เราตระหนักว่ามีปัญหาเกิดขึ้นจริงในส่วนที่เกี่ยวข้อง
กับวัตถุดิบที่ส่งมายังท่าเรือ แต่นี่เป็นเพียงสิ่งที่พบเท่านั้น เรายังไม่เห็นหลักฐานปรากฏอย่างเด่นชัด”
ขณะที่พรรคแรงงานอังกฤษได้เรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษกดดันธุรกิจค้าปลีกให้คว่ำบาตรสินค้าที่เกี่ยว
ข้องแรงงานทาส รวมถึงกำหนดให้บริษัทต้องชี้แจงหากมีการใช้แรงงานทาสในเครือซัปพลายเออร์
ของบริษัท อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้รัฐบาลอังกฤษยังต้องการให้เป็นไปตามความสมัครใจของห้างค้า
ปลีกแต่ละแห่งมากกว่า