คนที่พยายามจะลดน้ำหนักมักใช้น้ำตาลเทียมหรืออาหารที่ใช้น้ำตาลเทียมเป็นส่วนประกอบ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสารให้ความหวานกลับมีผลในทางตรงกันข้าม หนึ่งในเหตุผลนั้นก็คือ สารให้ความหวานสามารถกระตุ้นความยากอาหารได้ และการศึกษาใหม่ได้ยืนยันและทำการชี้ให้เห็นว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
ในการศึกษาใหม่ นักวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารให้ความหวานทำให้แมลงวันผลไม้และหนูนั้นหิวมากขึ้น “การศึกษานี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าไม่มีใครรู้จริง ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นภายในสมองหรือสักที่ในร่างกายที่ทำให้เกิดความหิว” Herbert Herzog กล่าว เขาทำงานที่ Garvan Institute of Medical Research ในซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ในฐานะที่เป็นนักประสาทวิทยาเขาศึกษาว่าสมองนั้นทำงานอย่างไร ในการศึกษาใหม่นี้ทีมวิจัยของเขาแสดงให้เห็นว่า สมองนั้นตอบสนองต่อการกินน้ำตาลเทียมอย่างไร ถ้าคนเรามีการตอบสนองในแบบเดียวกัน การกินน้ำตาลเทียมเป็นเวลานานสามารถกระตุ้นให้คนเรานั้นกินอาหารมากกว่าปกติ
การศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ Cell Metabolism เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม
นักวิจัยให้น้ำตาลธรรมชาติและยีสต์กับแมลงวันผลไม้สองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งไม่ได้กินอย่างอื่นอีกและอีกกลุ่มหนึ่งได้รับอาหารเพิ่ม เมื่อผ่านไปห้าวัน อาหารจะหวานเพิ่มมากขึ้นด้วยซูคราโลส ซึ่งก็คือน้ำตาลเทียมที่ขายกันในนามของ Splenda
ในวันที่ 6 กลุ่มที่สองกลับไปกินอาหารที่ประกอบด้วยน้ำตาลและยีสต์เหมือนเดิม ตลอดทั้งวัน นักวิทยาศาสตร์ทำการวัดอย่างระมัดระวังว่าแต่ละกลุ่มนั้นกินอาหารเข้าไปเท่าไหร่ แมลงวันผลไม้ซึ่งกินน้ำตาลเทียมเข้าไปเมื่อครู่นั้นกินอาหารมากกว่ากลุ่มที่กินน้ำตาลปกติถึง 30 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม 2 – 3 วันหลังจากที่ให้อาหารที่ไม่มีซูคราโลสกับแมลงวันผลไม้ พวกมันก็กลับมากินอาหารในปริมาณปกติ
ในการที่จะทำความเข้าใจว่าซูคราโลสนั้นได้ทำงานอย่างไร นักวิจัยได้หยุดยังยีนบางอย่างในแมลงวันผลไม้ ยีนที่พวกเขาหยุดยั้งนั้นคือยีนที่ทำหน้าที่หลักในการกำหนดปริมาณอาหารที่ต้องกินและชนิดของอาหาร หลังจากนั้นพวกเขาให้อาหารกับแมลงวันผลไม้ที่มีน้ำตาลซูคราโลส แมลงวันผลไม้ที่ไม่สามารถใช้ยีนได้จะไม่ทานอาหารเกิน นี่แสดงให้เห็นว่าน้ำตาลเทียมต้องทำอะไรบางอย่างกับยีน ซึ่งก่อให้เกิดการกินอาหารที่มากเกินไป
ข้อมูลใหม่นี้แนะว่าเมื่อยีนเหล่านี้ไม่ทำงาน สมองจะเริ่มเกิดความสับสน สมองของแมลงวันผลไม้กับอาหารที่เกี่ยวข้องกับความหวานนั้นจะบอกถึงปริมาณแคลอรี่ค่าหนึ่ง ยิ่งหวานมากเท่าไหร่แคลอรี่ที่ได้ก็จะยิ่งมากขึ้น แต่กับน้ำตาลเทียมรสชาติหวานมาจากสิ่งที่ไม่มีแคลอรี่ “เมื่อคุณกินน้ำตาลเทียม สมองจะถูกหลอกในช่วงสั้น ๆ ” Herzog กล่าว “หลังจากนั้นมันจะคิดว่าไม่มีแคลอรี่เข้ามา” เพราะมันไม่สามารถเชื่อเครื่องมือวัดความหวานในสมองของมันว่ามีปริมาณแคลอรี่เข้ามาเท่าไหร่ สมองจะเริ่มประพฤติตัวราวกับสัตว์ที่หิวโหย และสิ่งนี้ทำให้เหล่าแมลงวันผลไม้กินอาหารเพิ่มมากขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ยังสงสัยอีกด้วยว่าจะเกิดขึ้นแบบเดียวกันกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหรือไม่ พวกเขาได้ลองทำการทดลองอีกครั้งหนึ่งกับหนูทดลอง พวกเขาทำการให้อาหารที่มีซูคราโลสเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ และทำการเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับน้ำตาลเทียม หนูทดลองเหล่านี้ทานอาหารมากกว่าปกติหลังจากได้รับน้ำตาลเทียมเข้าไปในอาหาร
สมองและร่างกายของมนุษย์นั้นมีความซับซ้อนมากกว่าหนูทดลองและแมลงผลไม้ Herzog คาดว่าแนวโน้มนี้อาจจะเกิดขึ้นกับมนุษย์ได้ด้วย และนั่นสามารถก่อให้เกิดปัญหากับกลุ่มคนที่กินมันเข้าไป จริงๆแล้ว เขาชี้ว่า “ผู้คนส่วนมากไม่ได้ระวังว่า พวกเขาทานน้ำตาลเทียมในอาหารสำเร็จรูปหรือไม่” เขาคิดว่าคนเราต้องมีความระวังว่าน้ำตาลเทียมอาจจะมีผลกระทบโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งรวมไปถึงการหลอกสมองให้ต้องการอาหารที่มากขึ้น