(7 เม.ย.64)เมื่อเวลา 11.50น.ที่อาคารรัฐสภา นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือผ่านเจ้าหน้าที่สารบรรณถึงนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ระงับยับยั้งการงดค่าปรับผู้รับจ้างก่อสร้างอาคารรัฐสภา โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จากการที่มีข่าวว่าสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีหนังสือแจ้งต่อผู้รับจ้างก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ว่า ได้อนุมัติให้งดเรียกค่าปรับประมาณ 1,200 ล้านบาทไปแล้วนั้น นายวัชระ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่าตนขอคัดค้านการกระทำดังกล่าวของนางพรพิศ เพชรเจริญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจาก
1.สัญญาก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ กำหนดไว้ 900 วัน ค่าก่อสร้าง 12,280 ล้านบาท แต่ขยายระยะเวลาก่อสร้างถึง 4 ครั้ง รวม 1,864 วัน เป็นเวลาสองเท่าของสัญญาเดิม รวมทั้งสิ้น 2,764 วัน และถึงวันนี้ รวม2,861 วัน ก็ยังไม่แล้วเสร็จ
2. ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการจ้างผู้รับเหมาช่วงอันเป็นการผิดสัญญาจ้าง
- การก่อสร้างไม่เป็นไปตามแบบ วัสดุอุปกรณ์หลายประการไม่ได้มาตรฐาน รายละเอียดทั้งหมดอยู่ที่อดีต
ส.ส.วิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีตประธานคณะกรรมาธิการป.ป.ช.สภาผู้แทนราษฎร - บริษัทเอกชนมาตั้งสำนักงานชั่วคราวใต้อาคารรัฐสภามีการใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาของทางราชการนาน
นับปี และมีการใช้ไฟฟ้าทำการก่อสร้างห้องต่างๆ โดยข้าราชการปล่อยปละละเลย จนมีค่าไฟฟ้าสภาสูงถึงเดือนละ 10 ล้านบาท
5. มติคณะรัฐมนตรีชุดพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช.มีมติเมื่อวันที่ 6
มิถุนายน 2560 และ 12 ธันวาคม 2560 กำหนดสร้างสภาให้เสร็จภายในสิ้นปี 2562 แต่นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการอนุมัติให้ขยายเวลาครั้งที่ 4 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563
6. เมื่อครบกำหนดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 บริษัทต้องการขยายเวลาครั้งที่ 5 อีก 133 วัน แต่ถูกสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทำความเห็นถึง 10 หน้า ระบุว่าเอกชนส่อว่าใช้สิทธิไม่สุจริตและไม่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ
7. เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 บริษัทเอกชนฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสภาฯเป็นเงิน 1,600 ล้านบาทและบริษัทแจ้งว่าอาจมีการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติม - การก่อสร้างไม่เสร็จตามสัญญา สภาต้องจ่ายค่าเช่าอาคารสถานที่ ค่าเช่าที่ประชุมรัฐสภา ค่าเช่าที่สัมมนา
ค่าเช่ารถตู้รับส่งข้าราชการ ทางราชการเสียหายรวมนับพันล้านบาท - สมาคมผู้ตรวจสอบอาคารและบริหารความปลอดภัยอาคาร หรือ ตปอ.มาตรวจแล้วปรากฏว่าไม่ผ่านมาตรฐาน
สำหรับเหตุผลที่ผู้รับจ้างเสนอในการงดค่าปรับ เป็นเหตุผลเดียวกันกับที่ผู้รับจ้างเคยยื่นต่อสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ในช่วงการขอขยายเวลาในการก่อสร้าง และสำนักกฎหมายได้เคยมีความเห็นว่า ข้อกล่าวอ้างของผู้ว่าจ้าง อาจไม่สมเหตุสมผลและไม่เกิดประโยชน์ต่อทางราชการ หากพิจารณาอนุมัติให้มีการขยายระยะเวลาการดำเนินการตามสัญญาจ้าง หากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร อนุมัติการงดค่าปรับให้แก่ผู้รับจ้าง เท่ากับผู้รับจ้างสามารถปฏิบัติงาน ได้ตามเวลาที่ตนต้องการ อีกทั้งได้รับการคุ้มครองจากการอนุมัติของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรในการงดค่าปรับอีกด้วย ถือว่าขัดกับข้อสัญญาจ้างการก่อสร้างอย่างชัดเจน ที่ระบุให้มีการก่อสร้างภายใน 900 วัน เป็นการทำให้การบังคับใช้ตามสัญญาจ้าง การบังคับตามกฎหมายว่าด้วยพัสดุ กฎหมายว่าด้วยงบประมาณ และกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลัง ถูกละเมิดอย่างร้ายแรง ดังนั้นประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีหน้าที่อำนาจสั่งการระงับยับยั้งความเสียหายต่อทางราชการที่เกิดจากการกระทำของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จึงขอให้สั่งการระงับยับยั้งการงดค่าปรับผู้รับจ้างก่อสร้างดังกล่าว และจะได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ให้รีบดำเนินการตามกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติต่อไป