“ตัวแทนสมาพันธ์ปลัดอำเภอ” ร้อง “ประยุทธ์” สอบการแต่งตั้ง “ผู้ว่าฯตรัง” ให้ปรากฏต่อสังคม พร้อม กำหนดมาตรฐาน ลั่น ไม่ชอบธรรม-ไม่เรียงตามลำดับความอาวุโส
19 ก.ย. 59 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอความเป็นธรรมเรื่องการแต่งตั้งข้าราชการระดับบริหารสูงสุด ระดับ (10 ) ปี 2559 ของกระทรวงมหาดไทยที่ส่งผลกระทบต่อระบบคุณธรรมในการแต่งตั้ง โดยมีนายจตุพร เณรนุ่ม หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชน ทำเนียบรัฐบาล รับเรื่องดังกล่าวไว้ ”
ในหนังสือดังกล่าวระบุว่า -ตามที่ปรากฏข้อความในสื่อออนไลน์ นายสายัณห์ อินทรภักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง จากกรณีการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ปี 59 ของกระทรวงมหาดไทย ที่ไม่ได้ยึดถือระบบคุณธรรม ขาดธรรมาภิบาล โดยเฉพาะได้กล่าวอ้างถึงความเลวร้ายที่สุดในการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในครั้งนี้ จากข้อความดังกล่าว ทางสหพันธ์ปลัดอำเภอแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายของราชการ ในสังกัดกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ถือว่าต้องทำหน้าที่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรง ในการทำหน้าที่ตามกฎหมาย
แต่หลังจากที่ปรากฏข้อความดังกล่าว โดยเฉพาะข้อความซึ่งมีประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบคุณธรรมได้แก่ การแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเทียบเท่า ที่ดำรงตำแหน่ง ยังไม่ถึง 2 ปี หรือ 2 ปีเศษ จำนวนหลายคน ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเทียบเท่า โดยครั้งนี้มีจำนวนหลายคนและการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเทียบเท่า ที่ผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจหน้าที่ ( ปลัดกระทรวงมหาดไทย ) ได้ยึดถือหลักสำคัญที่เคยเป็นธรรมเนียมมาตลอด ของกระทรวงมหาดไทย คือหลักความอาวุโสทางราชการ ได้นำเสนอความอาวุโสทางราชการ แต่ไม่ได้รับการพิจารณาจากบอร์ด ทางตัวแทนกลุ่มฯ จึงเดินทางมายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ตรวจสอบ และนำเสนอความจริงให้ปรากฏต่อสังคม และกำหนดมาตรฐาน ให้เกิดความยุติธรรมในการแต่งตั้งข้าราชการ หากสามารถกำหนดให้เกิดความยุติธรรมในการแต่งตั้งข้าราชการ จะทำให้เกิดขวัญกำลังใจในการทำหน้าที่ โดยเฉพาะการบำบัดทุกข์บำรุงสุข
จากนั้นนายบุญฤทธิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า จากกรณีนายสายัณห์ อินทรภักดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรังไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดจากกระทรวงมหาดไทย ปี 2559ประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดคำถาม ในประเด็นความชอบธรรม ถึงแม้จะเป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะตามหลักความอาวุโส และตามหลักการปกครองบังคับบัญชา เนื่องจากผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดในรอบนี้หลายรายยังปฏิบัติหน้าที่นายอำเภอหรือเทียบเท่า โดยมีรองผู้ว่าฯเป็นผู้บังคับบัญชา แต่ผ่านมา 3 ปี รองผู้ว่าฯยังคงตำรงตำแหน่งเดิม แต่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่เคยเป็นนายอำเภอ กลับได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดแล้ว ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในวงการข้าราชการ ของกระทรวงมหาดไทย ถึงสถาบันการศึกษาที่แต่ละคนจบมาว่ามีผลต่อการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอย่างไรก็ตามการแต่งตั้งผู้ว่าต้องยึดหลักธรรมเนียม ที่เคยปฏิบัติมาทางราชการ แต่ครั้งนี้ นายสายัณห์ กลับไม่ได้รับการพิจารณาจากบอร์ด
“สมาพันธ์ฯ มาร้องเรียนนายกรัฐมนตรีในวันนี้ เพื่อต้องการให้เกิดระบบคุณธรรม ในการแต่งตั้งข้าราชการกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะในช่วงที่ คสช. เข้ามาบริหารประเทศ เพราะที่ผ่านมาจากกรณีรองผู้ว่าจังหวัดตรังไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้น ไม่ได้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่ที่ผ่านมามีการฟ้องร้องกันหลายครั้ง และแต่ละครั้งมีความชัดเจน แต่ผู้บังคับบัญชามักจะบอกให้ทุกคนดำเนินการอยู่ในกระบวนการตรวจสอบ ร้องเรียนทางสมาพันธ์ฯ เห็นว่า ไม่จำเป็นต้องร้องเรียน เพียงแค่ดูระบบหลักเกณฑ์ก็เพียงพอที่จะดำเนินการ สิ่งสำคัญวันนี้ อยากให้กำลังใจนาย กฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ให้กล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง และอยากให้นายกฯ ตรวจสอบ และกำหนดแนวทางการแก้ไขที่ชัดเจน” นายบุญฤทธิ์กล่าว
นายบุญฤทธิ์ กล่าวถึงกรณีรองผู้ว่าจังหวัดที่อาวุโสน้อย อายุงานเพียง 1-2 ปี ได้ขึ้นเป็นผู้ว่าฯทันที จะทำให้เกิดปัญหาในการปกครอง บังคับบัญชา ซึ่งบางคนยังเป็นแค่นายอำเภอ แต่ได้ขึ้นเป็นผู้ว่าฯ และมาปกครองรองผู้ว่าฯ ซึ่งเคยเป็นผู้บังคับบัญชามาก่อน ก็จะเกิดการปกครองลำบาก จะเอาน้องไปปกครองพี่ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จากนี้ทางสมาพันธ์ฯ จะรวบรวมเรื่องทั้งหมดเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อแก้ไขกฎหมาย ให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงในระบบข้าราชการไทยในการแต่งตั้งทั้งนี้ขอยืนยันว่าทางสมาพันธ์ฯ ไม่ได้มีการได้เสียกับการแต่งตั้งหรือการมาร้องเรียนทั้งสิ้น