เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทำเกษตรทั่วไปถือเป็นการเลือกทางเดินได้ถูกต้องหลังจาก “เจ๊ง” ไม่เป็นท่า”วารุณี พาวงษ์”บ้านวังวัด ต.เขาไม้แก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี สาวที่รักในอาชีพค้าขาย หันมาทดลองปลูกกระเจี๊ยบแดงซึ่งก่อนหน้านี้เคยดูคนอื่นปลูกพืชผักขาย เห็นว่าคนรู้จักปลูกกระเจี๊ยบแดงเก็บขายได้ทั้งแบบสดและตากแห้งกระเจี๊ยบแดงดอกสวยเห็นแล้วชอบ จึงตัดสินใจปลูก
ทันที จุดที่น่าสนใจกระเจี๊ยบแดงสดขาย กก.ละ 150 บาท อบแห้ง กก.ละ 300 บาท มีจุดซื้อขายในรพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศรจึงตัดสินในปลูก 2 ไร่ ตัดขายสดตามตลาดนัดได้ด้วยกระเจี๊ยบแดงเป็นพืชสมุนไพรที่อุดมไปด้วยประโยชน์นานาชนิด เช่น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงร่างกาย ป้องกันโรคโลหิตจาง เป็นต้นในปัจจุบัน ผู้คนเริ่มนิยมนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการดูแลสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการศึกษาค้นหาว่า มีพืชสมุนไพรชนิดใดที่น่าสนใจบ้าง ซึ่ง “กระเจี๊ยบแดง” ก็เป็นหนึ่งในพืชสมุนไพรเหล่านั้น ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์หลากหลายด้าน เหมาะสำหรับนำมาใช้ในการบำรุงร่างกาย
“กระเจี๊ยบแดง” มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus sabdariffa L เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศซูดาน และแถบประเทศในทวีปแอฟริกาลักษณะลำต้นเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 50-180 ซม.
มีสีม่วงอมแดง เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ลักษณะใบคล้ายรูปฝ่ามือมี 3 แฉก หรือ 5 แฉก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย ความกว้างและยาวประมาณ 8-15เซนติเมตรออกดอกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบ กลีบดอกชมพู หรือเหลือง ก้านดอกสั้น มีกลีบประมาณ 8-12 กลีบ เมื่อดอกกระเจี๊ยบแดงเจริญเติบโตเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร และผลจะมีปลายแหลม ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตรผลของกระเจี๊ยบแดง ผลอ่อนจะเป็นสีเขียว ส่วนผลแก่จะแตกออกเป็น 5 แฉก เมล็ดสีน้ำตาล ตัวผลจะมีกลีบเลี้ยงสีแดงหนาชุ่มน้ำหุ้มเอาไว้คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบแดงในกระเจี๊ยบแดง 100 กรัม เต็มไปด้วยสารอาหารหลายชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการดังนี้
พลังงาน 49.00 กิโลแคลอรี่-ไขมัน 0.6 กรัม
-คาร์โบไฮเดรต 11.3 กรัม-โปรตีน 1 กรัม
-เส้นใย 1.30 กรัม
-แคลเซียม 215มิลลิกรัม
-ฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม
-เหล็ก 1.50 มิลลิกรัม
-ไนอะซิน (Niacin) 0.3 มิลลิกรัม-วิตามินซี 12 มิลลิกรัม-วิตามินเอ 287 IUกระเจี๊ยบแดงถือเป็นอีกหนึ่งพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นส่วนดอก ส่วนต้น หรือส่วนใบ ล้วนแต่สามารถนำมาเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับทุกคนได้ กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอกมีสารสีแดงจําพวกแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) จึงทําให้มีสีม่วงแดงนอกจากนี้ ยังมีกรดอินทรีย์ เช่น กรดแอสคอบิก (ascorbic acid) กรดซิตริก (citric acid) กรดมาลิก (malic acid) และกรดทาร์ทาริก (tartaric acid) ที่ทำให้กระเจี๊ยบแดงมีรสเปรี้ยวกระเจี๊ยบแดงมีสารต่างๆ ดังที่กล่าวมา จึงทำให้กระเจี๊ยบแดงมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่หลากหลาย เช่น ฤทธิ์ขับปัสสาวะ ฤทธิ์ลดความดันโลหิตในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นต้น
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดงกระเจี๊ยบแดงถือเป็นอีกหนึ่งพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นส่วนดอก ส่วนต้น หรือส่วนใบ ล้วนแต่สามารถนำมาเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับทุกคนได้ตำรายาไทย กลีบเลี้ยงมีรสเปรี้ยว แก้อาการขัดเบา แก้เสมหะ ขับน้ำดี ลดไข้ แก้ไอ ขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย บำรุงธาตุ แก้กระหายน้ำ รักษาไตพิการ ขับเมือกมันให้ลงสู่คูทวารหนัก ละลายไขมันในเลือด ตำรายาโบราณ ใช้ทั้งต้นใส่หม้อต้มน้ำ 3 ส่วน เคี่ยวไฟให้งวดเหลือ 1 ส่วน ผสมกับน้ำผึ้งกึ่งหนึ่ง รับประทานวันละ 3 เวลา หรือจะรับประทานน้ำยาเปล่าๆ ก็ได้ จนหมดน้ำยานั้น เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด
ตามคำแนะนำกระทรวงสาธารณสุข(สาธารณสุขมูลฐาน) ใช้กลีบเลี้ยงของกระเจี๊ยบแห้ง 3 กรัม บดเป็นผง ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วยแก้ว หรือประมาณ 300 มิลลิลิตร ดื่มวันละ 3 ครั้ง นาน 7 วัน หรือจนกว่าจะหาย ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติบัญชียาสมุนไพร ยาชงกระเจี๊ยบแดง ใช้รักษากลุ่มทางเดินปัสสาวะ วารุณีบอกว่าปีนี้ปลูก 2 ไร่ ตัดขายสดวันเว้นวันตามตลาดนัดและขายในตลาดสีเขียวใน รพ.รายได้ดีปีหน้าจะขยายพื้นที่อีกนิดหน่อยและปรับปรุงวิธีปลูกให้ดีกว่านี้เชื่อว่าครั้งที่สองต้องดีกว่านี้แน่นอน…
ภาพ/ข่าว:ทองสุข สิงห์พิมพ์