ประธานกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขปัญหาการออกประทานบัตรเหมืองแร่และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ สภาผู้แทนราษฎร และกรรมการลงพื้นที่ และศึกษาดูงาน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ลงพื้นที่ พบปะประชาชนชาว อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ส.ส.ประทวน สุทธิอำนวยเดช จ.ลพบุรี เขต 1 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขปัญหาการออกประทานบัตรเหมืองแร่และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผย กับศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี ว่า คณะกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขปัญหาการออกประทานบัตรเหมืองแร่และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ สภาผู้แทนราษฎร ส.ส.สุทา ประทีป ณ ถลาง จ.ภูเก็ต เขต 1 ในฐานะกรรมาธิการ พร้อมคณะกรรมาธิการฯ ลงพื้นที่ไปศึกษาดูงาน ณ ที่ว่าการอำเภออมก๋อย จ.เชียงใหม่โดยรับฟังการบรรยายและประชุมร่วมกับหน่ายงานที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ปัญหาการขอประทานบัตรเหมืองแร่ถ่านหิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดยมีตัวแทนของชาวบ้านเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ณ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมทั้งเดินทางไปศึกษาดูงานในพื้นที่บ้านกะเบอะดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ด้วยเช่นกัน ด้าน นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขปัญหาการออกประทานบัตรเหมืองแร่และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยเพิ่มเติมว่า พบว่า พื้นที่ดังกล่าวยังเป็นพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ มีประชาชนพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์อยู่มาหลายชั่วอายุคนใช้พื้นที่ทำกิน ทำนา ปลูกผักต่างๆ
ขณะที่บริเวณลำห้วยเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ กังวลกันว่าถ้ามีการเปิดเหมืองจริง ไม่เพียงหมู่บ้านกะเบอะดินซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่ราว 200 หลังคาเรือนเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ หากแต่ยังรวมถึงหมู่บ้านอื่นๆ จำนวนมากที่อาจต้องย้ายออกไป เนื่องจากต้องขยายถนนให้รถบรรทุกวิ่งเข้ามานำแร่ออกไป รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการทำเหมืองแร่ดีบุกใน อ.อมก๋อย รวมถึงใน จ.เชียงใหม่ด้วย ข้อมูลโครงการ ข้อกังวลและความเดือดร้อนของประชาชนจากคณะทำงานในพื้นที่ จากนั้นเดินทางไปพบปะประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าวที่บ้านกะเบอะดิน และเดินทางไปยังบริเวณซึ่งจะเปิดทำเหมือง ข้อมูลโครงการ ข้อกังวลและความเดือดร้อนของประชาชนจากคณะทำงานในพื้นที่ จากนั้นเดินทางไปพบปะประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าวที่บ้านกะเบอะดิน และเดินทางไปยังบริเวณซึ่งจะเปิดทำเหมือง กรรมาธิการ พิจารณาแก้ปัญหา ประทานบัตรเหมืองแร่และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ได้ลงพื้นที่ อ.อมก๋อย จ. เชียงใหม่ ลงพื้นที่ดังกล่าวในเกิด ฝนฟ้าคะนอง ฝนตก โปรยปรายเป็นระยะทางถึงเหมืองแร่ดังกล่าว ต้อง ใช้ร่มและเสื้อกันฝนเพื่อไปดูสถานที่จริง เก็บข้อมูล ไปประชุมกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขปัญหาการออกประทานบัตรเหมืองแร่และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ ลงพื้นที่และศึกษาดูงาน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ที่ สภาผู้แทนราษฎรต่อไป สายฝนและลมหนาวในเช้าฤดูหนาวขแงวันนี้ ย้ำเตือนว่า ครบ 1 ปี เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมานั้น ได้จัดงานครบรอบ 1 ปี ของการต่อสู้เพื่อชีวิตของคนอมก๋อยการต่อสู้ ประชาชนและเยาวชน ชาว อมก๋อย เหมืองแร่อมก๋อย มีการจัดกิจกรรมภายใต้ชื่อ “เหมืองแร่ถ่านหิน 1 ปี ของการต่อสู้และย่างก้าวของคนอมก๋อย” โดยมีชาวบ้านจากหมู่บ้านต่าง ๆ เข้าร่วม มีเยาวชน นักวิชาการ นักกฏหมาย รวมถึงตัวแทนนายอำเภออมก๋อย เข้าร่วมกิจกรรมรับฟังความคิดเห็น กะเบอะดินเป็นชุมชนเล็กๆชุมชนหนึ่งในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรในหมู่บ้านราว 400 คน นับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์ รวมทั้งการผสมผสานความเชื่อในทางด้านจิตวิญญาณเป็นหลัก ชื่อของหมู่บ้านกะเบอะดิน มาจากคำว่า “กะเบอะ” ซึ่งเป็นชื่อของหม้อชนิดหนึ่งในภาษา “ปกาเกอะญอ” ซึ่งเมื่อมารวมกับคำว่าดินจะแปลว่า “หม้อดิน” ที่ชาวบ้านในหมู่บ้านในสมัยก่อนจะทำปั้นหม้อดินเพื่อขายให้ตามหมู่บ้านต่างๆ จนกระทั่งถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้านแห่งนี้ 720,000 ตัน คือปริมาณถ่านหินในพื้นที่กะเบอะดิน กะเหรี่ยงโปว์ อำเภออมก๋อย จ.เชียงใหม่ ในปี 2543 บริษัท 99 ธุวานนท์ จำกัด ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองถ่านหินจากกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ในเนื้อที่ประมาณ 284 ไร่ 30 ตารางวา ระยะเวลาการยื่นขอสัมปทาน 10 ปี
ภายหลังมีการทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่เสร็จในเดือนตุลาคม ปี 2554 และจัดประชุมการจัดทำประชาคมหมู่บ้าน ในปี 2552 โดยไม่ชี้แจงถึงผลกระทบของเหมืองถ่านหินต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบและในเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ชุมชนในพื้นที่รวมตัวยื่นจดหมายและข้อเรียกร้องให้ยุติโครงการฯ ถึงนายอำเภออมก๋อย โดยยกผลกระทบต่อวิถีชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ผลกระทบด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศ การปนเปื้อนในแหล่งน้ำโดยเฉพาะน้ำทิ้งจากเหมืองที่มีสภาพเป็นกรด (Acid Mine Drainage; AMD) ตลอดจนการทำลายระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ภายหลังมีการทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ที่เสร็จในเดือนตุลาคม ปี 2554 และจัดประชุมการจัดทำประชาคมหมู่บ้าน ในปี 2552 โดยไม่ชี้แจงถึงผลกระทบของเหมืองถ่านหินต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบและในเดือนพฤษภาคม ปี 2562 ชุมชนในพื้นที่รวมตัวยื่นจดหมายและข้อเรียกร้องให้ยุติโครงการฯ ถึงนายอำเภออมก๋อย โดยยกผลกระทบต่อวิถีชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ผลกระทบด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้นจากมลพิษทางอากาศ การปนเปื้อนในแหล่งน้ำโดยเฉพาะน้ำทิ้งจากเหมืองที่มีสภาพเป็นกรด (Acid Mine Drainage; AMD) ตลอดจนการทำลายระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
ทางกลุ่มเยาวชนกะเบอะดินได้เปิดเผยข้อมูลแผนที่ที่ชื่อว่า “ที๊ง คู เท้ะ ฌี้ หรือแผนที่ต้นน้ำดีที่อมก๋อย” เป็นผลงานชิ้นสำคัญของกลุ่มเยาวชนและชาวบ้านบ้านกะเบอะดิน ที่ต้องการจะบอกเรื่องราวตัวตนอัตลักษณ์ของพวกเขา รวมถึงคนรุ่นพ่อแม่ของเขาผ่านแผนที่นี้ โดยทรัพยากรน้ำซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการผลิตพืชผลเกษตรในหมู่บ้านแห่งนี้อย่างที่เห็นเป็นรูปธรรมเกี่ยวโยงกันกับวิถีความเป็นอยู่รวมทั้งรายได้ที่มาจากการผลิตในฐานะของเกษตรกรที่เป็นคนกลุ่มใหญ่ในพื้นที่ต่างยึดโยงกับแหล่งน้ำลำห้วยต่างๆ รวมถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น อนึ่ง ทั้งนี้ ข้อกังวลนอกจากเรื่องคนในชุมชนที่อาจต้องย้ายที่อยู่ และไม่รู้ว่าต้องไปอยู่ที่ไหนแล้ว ยังกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชาว อ.อมก๋อย ที่จะตามมาด้วย สิ่งแวดล้อมในชุมชน ตามหนังสือบริษัทเอกชน ยื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ถ่านหินจากอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ตามคำขอเลขที่ 1 /2543 เนื้อที่ประมาณ 284 ไร่ 30 ตารางวา ตั้งอยู่หมู่ที่ 12 บ้านกะเบอะดิน ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.จังหวัดเชียงใหม่ โดยทางกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จ.จังหวัดเชียงใหม่ จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของราษฎรในที่ทางการขอประทานบัตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนในที่ดินในวันที่ 28 ก.ย. 2562 ณ โรงเรียนบ้านแม่อ่างขาง ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้เก็บรวบรวมความคิดเห็นและนำข้อมูลเสนอต่อกรมอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐานและการเหมืองแร่เพื่อให้ประกอบการพิจารณา
OMKOY190962
ดังนี้ผู้แทนประชาชนมีความเห็นต่อการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น 6 ประการ ได้แก่ 1 .รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม( Environmental Impact Assessment : EIA) แผนการทำเหมืองแร่ถ่านหินตามคำขอประทานบัตรที่ 1/2543 (EIA)ที่ ได้จัดทำประชามติ เมื่อปี 2552 ซึ่งมีข้อมูลรายงานฉบับนี้ไม่มีการจัดทำเวทีประชาคมของหมู่บ้านที่มีความคิดเห็นเฉพาะผู้นำหมู่บ้านที่ 20 บ้านขุน ต.อมก่อย อ.อมก๋อย จ.จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งไม่มีความครอบคลุมถึงราษฎรผู้ได้รับผลกระทบอะไร
ขณะที่ตอนวันที่ 9 ก.ย. 2562 ได้มีประกาศจากอุตสาหกรรมจ.จังหวัดเชียงใหม่ เชิญชวนประชาชนที่อยู่ในที่ดินได้รับผลกระทบระยะ 1 กม. ห่างจากจุดทำเหมือนแร่ ประกอบด้วย 2 หมู่บ้าน คือ บ้านกะเบอะดิน หมู่ 12 และบ้านขุน หมู่ 20 ต. อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.จังหวัดเชียงใหม่ จึงมองว่ารายงานฉบับนี้ขัดกับความเป็นจริง และไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างครบถ้วน ทั้งที่เป็นหมู่บ้านในที่เป้าหมายที่ได้รับผลกระทบโดยตรง จึงเป็นการจัดทำรายงานที่ไม่มีความคลุมถึงหมู่บ้านและราษฎรที่ได้รับผลกระทบ และไม่สามารถนำไปใช้พิจารณาได้อย่างแท้จริง
2.EIA ของโครงงานทำเหมือนแร่ถ่านหินตามคำขอประทานบัตรที่ 1/2543 จัดทำแล้วเสร็จเมื่อ ต.ค. 2554 ไม่มีความโปร่งใส และกระบวนการจัดทำข้อสรุป ซึ่งมีความบกพร่องหลายอย่าง เช่น วุฒิภาวะของผู้ร่วมประชาคม มีบางส่วนไม่บรรลุนิติภาวะ แต่ได้ให้ความคิดเห็นอย่างไม่ได้รับข้อมูลครบถ้วน ลายนิ้วมือและประชาชนที่มี ผู้คนจำนวนมากไม่ได้ร่วมลงชื่อจริง แต่มีปรากฎในวาระการสัมมนาประชาคมด้วย จึงคิดว่ารายงานฉบับนี้ไม่มีความโปร่งใส ไม่สามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาได้welikebet
3.จากข้อมูลข้างต้นเครือข่าย ประชาชนคิดว่า EIAแผนการทำเหมืองแร่ถ่านหิน คำขอประทานบัตร 1/2543 จัดทำแล้วเสร็จ ต.ค. 2554 ไม่มีความถูกต้องชอบธรรมตั้งแต่ต้น การจัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ได้รับผลกระทบระยะ 1 กม. ในวันที่ 28 ก.ย. 2562 จึงเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมายและไม่สามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้ แต่เจ้าหน้าที่รัฐยังคงดำเนินการอยู่
4.หากจ.จังหวัดเชียงใหม่ โดยอุตสาหกรรมจ.จังหวัดเชียงใหม่ ยังคงดำเนินการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ได้รับผลกระทบในระยะ 1 กม. ในวันที่ 28 ก.ย. 2562 เครือข่ายเหมืองแร่ยุติเหมืองแร่อมก๋อย ขอประชาชนชาวอมก๋อยเรียกร้องให้มีตัวแทนเข้ารับฟังความคิดเห็น โดยที่ตัวแทนสามารถให้ความเห็นและสามารถนำความคิดเห็นของบุคคลเหล่านั้นไปประกอบการพิจารณาด้วย โดยภาคส่วนต่าง ๆ ดังนี้ 1. ภาคประชาชน 2.มูลนิธิพัฒนาเอกชน 3.สาธารณสุขประจำอำเภอ 4.ตัวแทนกำนันผู้ใหญ่บ้าน 5.คณะผู้ตัดสินพัฒนาชีวิตชาวอำเภออมก๋อย 6.เครือข่ายยุติเหมืองแร่อมก๋อย
5.เพื่อให้ให้เป็นการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง กลุ่มเครือข่ายราษฎรมีความคิดว่า ต้องการให้มีการจัดทำเวทีประชาคมหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบใหม่ทั้งหมด ด้วยเหตุผลความรู้วามรู้ความเข้าใจของประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อยในขณะนั้นยังมีไม่พอและระยะเวลาจากวันที่ดำเนินการสัมมนาประชาคมจนถึงปัจจุบันเวลาได้ล่วงเลยมานานแล้วส่งผลให้สังคมและวิถีชีวิตของบุคคลที่อยู่อาศัยในที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการนำข้อมูลที่ผ่านมาใช้ประกอบกรพิจารณาเหตุการณ์ในปัจจุบันถือว่าไม่ยึดถือตามประโยชน์ของราษฎรอย่างแท้จริง
6.เครือข่ายขอทราบผลการพิจารณาดำเนินการข้อเรียกร้องภายในวันที่ 23 ก.ย. 2562 เพื่อให้นำไปเป็นข้อมูลอธิบายให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่และอยู่ในที่ทางห่างไกลทุรกันดารให้ทราบต่อไป
นายประทวน สุทธิอำนวยเดช ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขปัญหาการออกประทานบัตรเหมืองแร่และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยคณะกรรมาธิการ จำนวน 30 ท่านลงพื้นที่ ศึกษาดูงานเหมืองแร่ ลงพื้นที่และศึกษาดูงาน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ได้กล่าวขอบคุณ ว่าที่ร้อยตรี อดิศักดิ์ ดวงจินดา นายอำเภออมก๋อย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และตลอดจนข้าราชการ อำเภออทก๋อย ทุกๆท่านที่ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการฯ ผมต้องขอขอบคุณมาณโอกาสนี้ด้วยครับ การทำสิ่งที่ ประชาชนชาวอำเภออมก๋อย นำปัญหาสิ่งแวดล้อมและความทุกข์ร้อนของประชาชน จะนำความ เสนอ ไปถึงรัฐบาลและ จะนำเข้าสู่ที่สภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ใจรัก วงศ์ใหญ่ วัชรนนท์ วงศ์ใหญ่ ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี