ขอพูดถึงดินแดนซึ่งเป็นที่ก่อตั้งของจังหวัดเลย มีหลักฐานและประวัติความเป็นมาว่าก่อตั้งโดยชนเผ่าไทยที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่ก่อตั้งอาณาจักรโยนก โดยพ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้อพยพผู้คนจากอาณาจักรโยนกที่ล่มสลายแล้ว ผ่านดินแดนล้านช้าง ข้ามลำน้ำเหืองขึ้นไปทางฝั่งขวาของลำน้ำหมันจนถึงบริเวณที่ราบ พ่อขุนผาเมืองได้ตั้งบ้านด่านขวา ส่วนพ่อขุนบางกลางหาวได้แบ่งไพร่พลข้ามลำน้ำหมันไปทางฝั่งซ้าย สร้างบ้านด่านซ้าย จากนั้นได้อพยพขึ้นไปตามลำน้ำและได้สร้างบ้านหนองคูขึ้น พร้อมกับนำชื่อหมู่บ้านด่านซ้ายมาขนานนามหมู่บ้านหนองคูใหม่เป็นเมืองด่านซ้าย และอพยพไปอยู่ที่บางยางในที่สุด
ต่อมามีชาวโยนกกลุ่มหนุ่งได้อพยพมาตั้งบ้านเรือนระหว่างชายแดนตอนใต้ของอาณาเขตล้านช้างอยู่ระยะหนึ่งก่อนที่จะอพยพหนีภัยสงครามข้ามลำน้ำเหืองมาตั้งเมืองเซไลขึ้น จากหลักฐานสมุดข่อยที่มีการค้นพบเมืองเซไลอยู่ด้วยความสงบร่มเย็นมาจนกระทั่งถึงสมัยเจ้าเมืองคนที่ 5 เกิดทุพภิกขภัยขึ้นจึงได้พาผู้คนอพยพไปตามลำแม่น้ำเซไล และได้ตั้งบ้านเรือนขึ้น ขนานนามว่า “ห้วยหมาน”
ในปี 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพิจารณาเห็นว่าหมู่บ้านแฮ่ ซึ่งตั้งอยู่ริมห้วยน้ำหมานและอยู่ใกล้กับแม่น้ำเลย มีผู้คนเพิ่มมากขึ้น สมควรจะได้ตั้งเป็นเมืองเพื่อประโยชน์ในการปกครองอย่างใกล้ชิด จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งเป็นเมือง เรียกชื่อตามนามของแม่น้ำเลยว่า “เมืองเลย”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลยออกเป็น 4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งเมืองคือ อำเภอกุดป่อง ในปี พ.ศ.2442-2449 ได้เปลี่ยนชื่อเมืองเลยเป็นบริเวณลำน้ำเหือง และในปี 2450 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2450 ยกเลิกบริเวณลำน้ำเหืองให้คงเหลือไว้เฉพาะเมืองเลย โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็น อำเภอเมืองเลย จนถึงปัจจุบัน
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
9,000 ปี ยุคหิน วัฒนธรรมโฮบินเนียนตอนปลาย ครั้งที่มนุษย์ยังเร่ร่อนยังชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์และเก็บพืชพันธุ์ในป่าเป็นอาหาร มีการค้นพบหลักฐานพวกเครื่องมือหินกะเทาะ ซึ่งทำจากกรวดแม่น้ำ และเศษภาชนะดินเผา บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขง ในท้องที่อำเภอเชียงคาน
5,000 ปี ยุคหิน ร่วมสมัยกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี มีการค้นพบหลักฐานคือเครื่องมือหินขัด เช่น ขวานหินขัด และกำไลหิน กระจายอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ เกือบ 100 แห่ง ในท้องที่อำเภอท่าลี่ อำเภอปากชม และอำเภอเชียงคาน ทางตอนเหนือ ต่อลงมาตามแนวที่ราบตอนกลาง และตอนใต้ของจังหวัด ในบริเวณอำเภอเมืองเลย และอำเภอวังสะพุง
4,000-2,000 ปี ยุคสัมฤทธิ์ พบหลักฐานที่ทำให้สันนิษฐานได้ว่า มีการขุดแร่เหล็กและทองแดงในบริเวณอำเภอปากชม และอำเภอเมืองเลย ขึ้นมาใช้
ยุคประวัติศาสตร์
พุทธศตวรรษที่ 13-17 ยุคทราวดี พบใบเสมาหินที่ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง
พุทธศตวรรษที่ 21 เกิดการสร้างบ้านแปงเมืองสามแห่งในพื้นที่จังหวัดเลย คือ บ้านเซไล ในที่ราบลุ่มตอนกลางของจังหวัด เมืองเชียงคาน ทางตอนเหนือ ติดริมฝั่งแม่น้ำโขง และเมืองด่านซ้าย ทางทิศตะวันตก เมืองทั้งสามแห่งนี้และเมืองใกล้เคียงภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านช้าง
พ.ส.2103 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา กับพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต ทรงร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรักขึ้น ที่เมืองด่านซ้าย เพื่อเป็นสักขีพยานในการทำสัมพันธไมตรีระหว่างสองอาณาจักรคือ อยุธยากับล้านช้างขณะนั้นพม่าในรัชสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ถึงสมัยพระเจ้าบุเรงนอง กำลังแผ่ขยายอำนาจเข้ามายังลุ่มน้ำเจ้าพระยา และลุ่มน้ำโขง
พ.ศ. 2220 มีจารึกการสร้างที่วัดศรีภูมิ ตำบลกุดป่อง ซึ่งเมืองด่านซ่ายและเมืองเชียงคาน เป็นเมืองที่ถูกเอ่ยถึงในประวัติศาสตร์ ส่วนร่องรอยของเมืองในสมัยโบราณเป็นคูเมือง เช่น เมืองตูม ที่อำเภอท่าลี่
พ.ศ. 2238 เกิดความวุ่นวายในอาณาจักรล้านนา เป็นเหตุให้ต้องแบ่งแยกออกเป็น 2 แคว้น คือ หลวงพระบางทางเหนือ และเวียงจันทน์ทางใต้ เมืองเชียงคานกลายเป็นเมืองหน้าด่านของหลวงพระบาง ป้องกันการรุกรานจากฝ่ายเวียงจันทน์ ขณะนั้นเมืองเชียงคานตั้งอยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงในอาณาเขตประเทศลาว
พ.ศ.2321 ลานช้างรวมทั้งเชียงคาน ตกเป็นประเทศราชของไทยในสมัยกรุงธนบุรี
พ.ศ.2396 เลยได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเมืองเลย ขึ้นกับมณฑลอุดร รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวคำแสนเป็น “หลวงศรีสงคราม” เจ้าเมืองคนแรก
พ.ศ.2446 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส จนไทยต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส คนจากเมืองเชียงคานเดิมจึงอพยพมาตั้งบ้านเมืองใหม่อยู่ฝั่งไทย โดยใช้ชื่อเดิมคือ เชียงคาน
พ.ศ.2476 ยกฐานะเมืองเลย ขึ้นเป็นจังหวัด
พ.ศ.2504 ตัดทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 201 เชื่อมขอนแก่นกับเมืองเลย ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม นับเป็นการเปิดเมืองเลยออกสู่โลกภายนอก เส้นทางสายนี้ยังทำให้คนจากต่างถิ่นอพยพเข้าสู่เมืองเลยมากขึ้น
พ.ศ.2535 พัฒนาเมืองเลย เป็นศูนย์สนับสนุนการท่องเที่ยวบริเวณริมแม่น้ำโขง
พ.ศ.2440 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองพื้นที่ ร.ศ.116 แบ่งการปกครองเมืองเลย ออกเป็น 4 อำเภอ อำเภอที่ตั้งเมือง คือ อำเภอกุดป่อง
พ.ศ.2442-2449 เปลี่ยนชื่อเมืองเลย เป็นบริเวณลำน้ำเลย
พ.ศ.2559-24450 เปลี่ยนชื่อเมืองเลย เป็นบริเวณลำน้ำเหือง
พ.ศ.2450 มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2450 ยกเลิกบริเวณลำน้เหือง ให้คงเหลือไว้เฉพาะเมืองเลย โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็นอำเภอเมืองเลย จนถึงปัจจุบัน
ให้คงเหลือไว้เฉพาะเมืองเลย
โดยให้เปลี่ยนชื่ออำเภอกุดป่อง เป็นอำเภอเมืองเลย จนถึงปัจจุบัน
พูดถึงนักปกครองแล้วต้องเอ่ยถึงท่าน นี้ ฝีมือขั้นเทพ นักประสานสิบทิศ เข้าถึงประชาชนทุกชั้นทุกวัย เป็นนักวิชาการตัวยง ผลงานเข้าตาหลายชิ้นหลายอัน ประสบการณ์ทำงานด้านการท่องเที่ยวและการปกครอง ก็ชั้นยอด ก็ท่านนี้เลย นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี จะเข้าสู่ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ประชาชนข้าราชการก็รู้จักท่านดี ฝีมือไม่ธรรมดา พัฒนาให้ จังหวัดลพบุรี เจริญก้าวหน้าทุกวันนี้ก็ท่านนี้ ทีมข่าว ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ. จังหวัดลพบุรี และ สำนักข่าวเดลิซันเดย์ ขอนำประวัติย่อๆและผลงานของท่านนำเสนอ ให้ท่านรู้จักให้มากกว่านี้
นายผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์
รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย
1. การศึกษา/อบรม
รัฐศาสตร์บัณฑิต (รบ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รม.) สาขาการปกครอง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หลักสูตรนักเรียนนายอำเภอ (นอ.) รุ่นที่ 50 วิทยาลัยการปกครอง
หลักสูตรนักปกครองระดับสูง (นปส.) รุ่นที่ 52 วิทยาลัยมหาดไทย
2. การรับราชการ
พ.ศ. 2533 – 2538
ปลัดอำเภอและผู้ช่วยจ่าจังหวัดสุรินทร์, ผู้ช่วยจ่าจังหวัดเลย
พ.ศ. 2538 – 2539
นักการข่าว 6 สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ
พ.ศ. 2539 – 2540
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6 สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก
พ.ศ. 2540 – 2543
ผู้ช่วยผู้ตรวจส่วนท้องถิ่น (จพง.ปค.6 ) ที่ทำการปกครองจังหวัดตาก
และผู้ช่วยผู้ตรวจการส่วนท้องถิ่น (จพง.ปค. 6) ที่ทำการจังหวัดเลย
พ.ศ. 2544 – 2545
ผู้ตรวจการท้องถิ่นจังหวัดเลย (จพง.ปค. 7) ที่ทำการปกครองจังหวัดเลย
พ.ศ. 2545 – 23 ก.ย. 2555
ท้องถิ่นจังหวัดเลย (อำนวยการระดับต้น)
24 ก.ย. 2556 – 10 ก.พ. 2556
ท้องถิ่นจังหวัดเลย (อำนวยการระดับสูง)
11 ก.พ. 22556 – 27 ธ.ค. 2557
ท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ (อำนวยการระดับสูง)
28 ธ.ค. 2557 – 1 พ.ย. 2558
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น (อำนวยการระดับสูง)
2 พ.ย. 2558 – 9 ต.ค. 2559
ผู้อำนวยการสำนักบริหารการคลังท้องถิ่น (อำนวยการระดับสูง)
10 ต.ค. 2559 – 2563 รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ปัจจุบัน ระดับตำแหน่ง ราชการจังหวัดเลย ศูนย์ข่าว หนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ. จังหวัดลพบุรี เคยมีโอกาสเข้าร่วม ทำงานและลงพื้นที่กับท่านมา ตลอด ที่ท่านทำงานมุ่งมั่น เข้มแข็งจริงจังจริงใจต่อชาวบ้านเสมอ. ไม่ชอบทิ้งประชาชนในพื้นที่ ท่านเป็นนักปกครองชั้นดีของกระทรวงมหาดไทยหรือทีเดียว ทีมข่าวคาดหวังว่า ท่านจะได้รับตำแหน่งสูงขึ้นจากเดิมแน่นอน เพราะผลงานท่าน และ ถ้ามีฝีมืออยู่ตัวอยู่แล้ว. อีกไม่นาน ท่านจะได้รับข่าวดีจาก กระทรวงมหาดไทย. ก็ได้ ผมเชื่อความดีของท่านผมเชื่อความสามารถคุณท่านจะ คนน่าจะเข้าตา ผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทย. อีกไม่นานเกินรอการรับข่าวดีจาก กระทรวง มหาดไทยอาจเป็นได้ ท่านย้าย ไปโดนตำแหน่งที่จังหวัดเลย อีกไม่นานได้รับข่าวดีการพัฒนาในด้านการท่องเที่ยว สังคม อีกไม่นานถ้าจะขึ้นตำแหน่ง สูงขึ้น จะจับตามองอีกว่าท่านจะไปถึงดวงดาวถึงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดหรือไม่ ต้องรอผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทยพิจารณาอีกที เชื่อ ผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทยจะพิจารณา ให้ท่านดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดจังหวัดไหนจังหวัดหนึ่ง เราจะได้รับข่าวดีอีกไม่นาน เราชื่อฝีมือท่านพัฒนาได้ดีมาก คอยติดตาม ความเคลื่อนไหวของท่านต่อไป . ..
ใจรัก วงศ์ใหญ่ ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี