ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 ก.ย.63 ที่ศาลแรงงานกลาง ศาลนัดอ่านคำพิพากษาคดีที่ : นายวีระชาติ คงสาหร่าย หัวหน้าผู้ตรวจสอบภายใน IFEC กับพวกรวม 35 คน ซึ่งเป็นพนักงานของบริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชื่อย่อ IFEC ได้ยื่นร้องต่อพนักงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าบริษัท IFEC และนายจ้างค้างจ่ายค่าจ้างเดือน กันยายน 2562 โดยศาลมีคำพิพากษาว่า ฟังได้ว่าลูกจ้างผู้ร้องทำงานให้แก่โจทก์ผู้เป็นนายจ้าง และโจทก์จ่าย ค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างผู้ร้องมาโดยตลอด และโจทก์ยังได้แสดงอำนาจในการควบคุมบังคับบัญชาของโจทก์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง กลับเมื่อนายหาญ เชี่ยวชาญ โจทก์เบิกความรับว่าโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างฯลฯ โจทก์ผู้เป็นนายจ้างจึงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างของการทำงานเดือนกันยายน 2562 เป็นเงินจำนวน 1,994,429 บาท ค่าล่วงเวลาของการทำงานเดือนสิงหาคม 2562 เป็นจำนวน 26,401.92 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่ลูกจ้างผู้ร้องทั้ง 34 คน
ทำให้พนักงาน IFEC ที่มารอฟังคำพิพากษาต่างแสดงความดีใจ เฮ ศาลแรงงานกลาง กรุงเทพมหานคร มีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินค่าจ้างแรงงานกับพนักงาน โดยที่ IFEC อ้างว่าไม่เคยเห็นหน้าพนักงานของตนเอง ทั้งที่หลายคนทำงานมาก่อน กรรมการชุดนี้ได้รับคัดเลือกมาเสียอีก อายุงานบางคนมากกว่า 5-6 ปี ขณะนี้ไม่ใช่ตัวบริษัทแม่อย่าง IFEC แต่บริษัทย่อยหลายบริษัท พนักงานก็เดือดร้อนไปทั่ว ร่วมมากกว่า 400 ครอบครัว เช่น IFEC Thermal,สมาร์ท ทรี และ บริษัทโรงแรมดาราเทวี จำกัด
แต่แปลก ตรงที่กรรมการกลับพยายามผลักดันให้มีการจัดจ้าง ผู้สอบบัญชีราคาสูงผิดปกติ ถึง 48 ล้านบาท มีการออกสื่อเรื่อง special account team ไม่ใช่ special audit เป็นทีมบัญชีพิเศษ แต่กลับกลั่นแกล้งพนักงานบัญชีเดิมของบริษัท ตลอดจนมีข่าวมีการทำเอกสารขึ้นใหม่เพราะกรรมการอ้างว่าไม่มีเอกสารเดิม ซึ่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา เจ้าหนี้ได้ยื่นหลักฐานให้ศาลทราบว่าเอกสารต่างๆ ยังมีอยู่ในบริษัท ตลอดจนกรรมการเองก็ไปเห็นมากับตาแล้ว
ดังนั้น ขอให้ กลต.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลลูกจ้างโดยด่วน เพราะเรื่องอาจบานปลายไปถึงการปิดงบฯ ของบริษัท เนื่องจากพนักงานกลุ่มนี้เป็นกำลังหลักของบริษัทตั้งแต่ต้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรรมการที่เปลี่ยนไปมาแต่อย่างใด
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน