เพิ่งจะได้รับรางวัลคนดีศรีแผ่นดิน “นารายณ์ทอง” ประจำปี 2563 สาขาผู้ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมดีเด่น ประจำปี 2563 ซึ่งก็ถือว่ารางวัลเป็นเครื่องเตือนใจให้ “อ.หนานบุญ มหามนต์สิทธาจารย์” (กฤษฎิ์ชณวงศ์ ชูทรัพย์สายมา) มีความมุ่งมั่นการทำความดีต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
อ.หนานบุญ เป็นชาวจังหวัดน่าน ปัจจุบันทำงานที่จังหวัดพิษณุโลก หากย้อนกลับไปเมื่อช่วงประมาณ อ.หนานบุญ มีอายุประมาณ 12 ปี ท่านได้เล่าว่า มีความสนใจในศิลปะการแสดงแบบฉบับล้านนาหรือภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็น อาทิ “ฟ้อนเจิง” ซึ่งเป็นการนำศิลปะการลีลาต่อสู้และป้องกันภัยแบบภูมิปัญญาชาวล้านนามาถ่ายทอดเป็นศิลปะการแสดง มีทั้งเจิงมือเปล่า เจิงอาวุธ เช่น เจิงดาบ เจิงหอก เจิงไม้ค้อน และ “กลองสะบัดชัย” ของผมจะเป็นกลองสะบัดชัยแบบของน่าน กลองสะบัดชัยเป็นกลองที่มีมานานนับศตวรรษ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวภาคเหนือ มีที่มาจาก “กลองชัยมงคล” ที่ใช้ตียามออกศึกสงครามมาแต่โบราณกาลเพื่อความเป็นสิริมงคล จากนั้นได้มาเป็นเครื่องส่งสัญญาณให้ชาวบ้านได้รับรู้เรื่องราวต่าง ๆเช่น การประชุม และ การแจ้งเหตุร้าย ในที่สุดได้วิวัฒนาการมาเป็นกลองที่ใช้ในแสดงกลองสะบัดชัยกระทั่งถึงทุกวันนี้
“ผมได้มีโอกาสแสดงศิลปะล้านนามานับครั้งไม่ถ้วน ทั้งในพิธีการสำคัญต่าง ๆ พร้อมทั้งได้ถ่ายทอดให้กับคนรุ่นหลังมามากมาย มีการรวมกลุ่มสืบทอดการแสดง ทั้งในชุมชนและสถาบันการศึกษา ซึ่งมีความภูมิใจและประทับใจมาก จึงอยากให้คนรุ่นหลังได้ช่วยกันอนุรักษ์และสืบทอดกันไปแบบรุ่นต่อรุ่นครับ”
นอกจากด้านศิลปวัฒนธรรมการแสดงแบบล้านนาแล้ว อ.หนานบุญ ยังมีความรู้ความสามารถ ทางด้านการเขียนยันต์และสักยันต์อักขระแบบล้านนา รวมทั้งการศึกษาพิธีกรรมและมนต์คาถาต่าง ๆ ของชาวล้านนา เพื่อช่วยเหลือผู้คนที่มีความเดือดร้อน ทุกข์ใจ และช่วยเสริมบารมี โชคลาภ อีกด้วย
อ.หนานบุญ เล่าว่า ผมได้ศึกษาเรื่องยันต์ล้านนามานานแล้ว ได้เรียนการเขียนอักขระล้านนา การเขียนยันต์ลายต่าง ๆ คนล้านนามีความเชื่อและศรัทธาเรื่องยันต์และการสักยันต์มาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ เป็นสิ่งที่สร้างขวัญและกำลังใจ สร้างความมั่นใจ ทำใจมีจิตใจที่เข้มแข็ง ยันต์แต่ละลวดลายมีความหมายและให้คุณแตกต่างกันออกไป เช่น ด้านเมตตามหานิยม ด้านป้องกันภูติปิศาจ สิ่งอัปมงคล แก้คุณไสย และด้านโชคลาภเงินทอง แล้วการสักยันต์ของคนโบราณไม่ใช่สักเพื่อความสวยงามและเป็นเรื่องความเชื่อ ความศรัทธา ไสยศาสตร์
“ในขณะทำพิธีการสักยันต์นั้น ผู้สักยันต์จะมีการอัญเชิญครูบาอาจารย์มาคุ้มครองปกปักรักษา ซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณธรรม เคารพครูบาอาจารย์ ระลึกว่ามีครูบาอาจารย์มาประจำกายอยู่ ขณะเดียวกันผู้ที่สักยันต์หรือทำพิธีกรรมอันใดเพื่อความเป็นสิริมงคลก็จะต้องมีความประพฤติดีทั้งกาย วาจา ใจ สิ่งที่ทำจึงจะส่งผลสัมฤทธิ์ให้ประสบความสำเร็จและสมหวังดังที่ต้องการ ผมว่าปัจจุบันนี้การสักยันต์ล้านนาค่อยๆ เลือนหายไป ครูและอาจารย์ที่สักยันต์แทบไม่มีเหลืออยู่ ส่วนคนที่เคยสักก็น่าจะอยู่ในวัย 80 กว่าปีแล้ว โดยสักมาตั้งแต่หนุ่ม ๆ อย่างไรก็ตามผมพยายามที่รักษาและพร้อมที่ถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ เพื่อให้การสักยันต์แบบล้านนา กลายเป็นเอกลักษณ์และมรดกแห่งภูมิปัญญาสืบทอดต่อไปโดยไม่รู้จบสิ้น”
สำหรับผู้ที่สนใจที่จะศึกษาและสืบทอดศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งเข้าร่วมพิธีกรรมแบบฉบับล้านนา อาทิ พิธีกรรมเผาเคราะห์ร้ายผ่านไม้มงคล ซึ่งเป็นอันเก่าแก่กว่า 1,000 ปี เป็นพิธีกรรมลับเฉพาะ ที่เก่าแก่มากและได้ผลเร็วที่สุดและ เผาเคราะห์ร้าย สิ่งไม่ดีออกจากจิตจากใจจากตัว ให้พ้นไปไม่ให้กลับมาอีก โดยใช้ไม้มงคล 9 ชนิด ไม้ไผ่สีสุก,ไม้ราชพฤกษ์,ไม้ขนุน,ไม้ชัยพฤกษ์,ไม้ทองหลาง,ไม้ทรงบาดาล,ไม้สัก,ไม้พะยูง และไม้กันเกรา โดยจะ เขียนชื่อ วันเดือนปีเกิด ลงไปแต่ละอัน เสกอันต่ออัน เสกคนต่อคน แล้วเผาให้จนไหม้ หมด แล้ว ทำพิธีสวดมนต์ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเทวดานพเคราะห์ ช่วยนำสิ่งไม่ดีออกจากตัวเราให้หมด แล้วนำสิ่งที่เหลือ นำไปทำเรือไปลอยสู่แม่น้ำแม่คงคา ส่งสิ่งไม่ดี สิ่งร้ายลอยน้ำไป ให้หมดสิ้น ซึ่งพิธีกรรมนี้จัดขึ้น ณ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 7 กันยายน 2563 หมดเขตรับจองชื่อเข้าร่วมพิธีกรรมในวันที่ 4 กันยายน 2563 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร.062-609-8454