เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 เวลา11:00 น. ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี คลองหก ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี นางสาวนนทิชา วรรณสว่างรองอธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานรับมอบอุปกรณ์วัดน้ำในนาข้าวเปียกสลับแห้ง ด้วยระบบเซ็นเซอร์จากกรมชลประทาน จำนวน 2 เครื่อง โดยมีนายธนา สุวัฑฒน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน และคณะเป็นผู้มอบ และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี , ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิตข้าว ร่วมเป็นสักขีพยาน อุปกรณ์การวัดระดับน้ำสำหรับการทำนาข้าวเปียกสลับแห้ง ด้วยระบบเซ็นเซอร์ (alternative wet and dry irrigation : AWDI) ส่วนประกอบหลักของอุปกรณ์ ได้แก่ 1.กระบอกทรงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว พร้อมเจาะรู 2.เซนเซอร์วัดระดับน้ำติดตั้งมาพร้อมกับกล่องประมวลผล 3.เสาติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ การนำไปใช้งานในพื้นที่ ให้ทำการขุดหลุมลึก 25 เซนติเมตร แล้วนำท่อที่เจาะรูฝัง จากนั้นให้อุปกรณ์วัดระดับน้ำลงไปสวมในท่อที่เจาะรูไว้ กดปุ่มที่แดงให้ระบบทำงาน จะแสดงผลผ่าน Application Line ด้าน นายธนา สุวัฑฒน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน กล่าวว่า ชลประทานและกรมการข้าวได้ดำเนินการร่วมกันมีงานวิจัยในเรื่องการการจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้งเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำลงได้ และลดการปล่อยก๊าซมีเทนด้วยโดยกรมชลประทานให้ความอนุเคราะห์ในด้านของการวัดปริมาณน้ำ การบริหารจัดการน้ำ เริ่มตั้งแต่วัดปริมาณน้ำด้วยการใช้แรงงาน การวัดระดับน้ำด้วยท่อสังเกตระดับน้ำ วัดปริมาณน้ำด้วยการคำนวณ วัดปริมาณน้ำด้วยการใช้อุปกรณ์อย่างง่าย จนปัจจุบัน ได้พัฒนาอุปกรณ์วัดระดับน้ำในนาข้าวด้วยระบบเซ็นเซอร์ทำให้การควบคุมการให้น้ำระบบนี้ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเป็นการนำเทคโนโลยีเกษตรแบบแม่นยำมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้เกษตรกรไทยให้เป็นผู้นำในตลาดโลก หลังจากที่ทางกรมชลประทานได้พัฒนาอุปกรณ์วัดน้ำในนาข้าวด้วยระบบเซ็นเซอร์มอบให้กับกรมการข้าวโดยศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จำนวน 2 เครื่อง เพื่อใช้ในโครงการดังกล่าว พร้อมสาธิตการใช้งานให้กับนักวิจัยของกรมการข้าว และกลุ่มเกษตรกรที่สนใจ เพื่อใช้เป็นต้นแบบการนำเทคโนโลยีเกษตร แบบแม่นยำ มาช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้เกษตรกรไทย ทางด้าน นางสาวนนทิชา วรรณสว่างรองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า เนื่องจากข้าวนั้นไม่ต้องการน้ำตลอดเวลา โดยข้าวมีความต้องการน้ำในช่วงระยะเวลาของมัน เมื่อมีอุปกรณ์ตัวนี้เกษตรจะสามารถควบคุมได้จากโทรศัพท์มือถือว่าช่วงไหนควรจะปล่อยน้ำเข้านา 1.ผลผลิตที่สูงขึ้น ที่สามารถควบคุมน้ำได้ตามต้องการ 2.สามารถประหยัดต้นทุน ที่จะทำให้เกษตรกรไม่ต้องสูบน้ำตลอดเวลา 3.ความแม่นยำในการดูระดับน้ำ ถึงระดับความชื้นใต้ดิน จะทราบว่าต้นข้าวสามารถมีชีวิตได้ต่อไปหรือไม่ตามปริมาณที่ข้าวต้องการ ซึ่งหากสามารถต่อยอดเป็นอุปกรณ์ที่ราคาถูกลง แล้วประชาชนสารถเข้าถึงได้มากกว่านี้ในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ และประหยัดน้ำในการทำนามากยิ่งขึ้น เบื้องต้นเกษตรกรที่สนใจสามารถเข้าดูแปลงนาสาธิตที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี และสถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ สุพรรณบุรี
ภาพ/ข่าว ประภาพรรณ ขาวขำ รายงาน