(15 ก.ค.63)เมื่อเวลา11.55น.ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ เข้ายื่นจดหมายพร้อมนำต้นตะไคร้หอม,สะเดา,ข่า,ขมิ้นชัน,คื่นฉ่าย และสมุนไพรที่ถูกคณะกรรมการวัตถุอันตรายขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตรายมามอบให้นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยยื่นผ่านนายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เนื้อหาในจดหมายได้ขอให้ถอดพืชสมุนไพร 13 รายการออกจากบัญชีวัตถุอันตรายทุกประเภท ซึ่งเป็นผลมาจากกรณีที่นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่กำหนดให้พืชสมุนไพร 13 ชนิด (คือ สะเดา ชา,ตะไคร้หอม,ขมิ้นชัน,ขิง,ข่า,ดาวเรือง,สาบเสือ,กากเมล็ดชา,พริก,คื่นช่าย,ชุมเห็ดเทศ,ดองดึง,และหนอนตายหยาก) เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 2 ให้ขยับเป็นประเภทที่ 1 นั้น ตนขอคัดค้านประกาศของคณะกรรมการวัตถุอันตรายดังกล่าว และไม่เห็นด้วยในการประกาศให้พืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายไม่ว่าเป็นประเภทที่ 1 หรือ 2 ก็ตาม เพราะพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด ไม่ใช่ “วัตถุ”(วัตถุตามพจนานุกรมไทย พ.ศ.2560 หมายถึง “สิ่งของ”) พืชสมุนไพรเป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่วัตถุ และเป็นสมุนไพรพื้นบ้านมาแต่โบราณกาลใช้ในการประกอบอาหารนานาชนิด และมีผลในการรักษาโรคแผนโบราณ
วัชระถูกกลุ่มแม่บ้านสั่งให้มายื่นนายกฯถอด13สมุนไพรไทยออกจากรายชื่อวัตถุอันตราย
(15 ก.ค.63)เมื่อเวลา11.55น.ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ เข้ายื่นจดหมายพร้อมนำต้นตะไคร้หอม,สะเดา,ข่า,ขมิ้นชัน,คื่นฉ่าย และสมุนไพรที่ถูกคณะกรรมการวัตถุอันตรายขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตรายมามอบให้นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยยื่นผ่านนายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เนื้อหาในจดหมายได้ขอให้ถอดพืชสมุนไพร 13 รายการออกจากบัญชีวัตถุอันตรายทุกประเภท ซึ่งเป็นผลมาจากกรณีที่นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขอให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่กำหนดให้พืชสมุนไพร 13 ชนิด (คือ สะเดา ชา,ตะไคร้หอม,ขมิ้นชัน,ขิง,ข่า,ดาวเรือง,สาบเสือ,กากเมล็ดชา,พริก,คื่นช่าย,ชุมเห็ดเทศ,ดองดึง,และหนอนตายหยาก) เป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 2 ให้ขยับเป็นประเภทที่ 1 นั้น ตนขอคัดค้านประกาศของคณะกรรมการวัตถุอันตรายดังกล่าว และไม่เห็นด้วยในการประกาศให้พืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายไม่ว่าเป็นประเภทที่ 1 หรือ 2 ก็ตาม เพราะพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด ไม่ใช่ “วัตถุ”(วัตถุตามพจนานุกรมไทย พ.ศ.2560 หมายถึง “สิ่งของ”) พืชสมุนไพรเป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ใช่วัตถุ และเป็นสมุนไพรพื้นบ้านมาแต่โบราณกาลใช้ในการประกอบอาหารนานาชนิด และมีผลในการรักษาโรคแผนโบราณ
นายวัชระ กล่าวว่า “การประกาศพืชสมุนไพร 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตราย สร้างภาพพจน์เสียหายให้ประเทศในสายตาของนานาชาติ ซึ่งสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด ไม่เป็นวัตถุอันตรายหรือมีอันตรายใดๆต่อผู้บริโภคเลยแม้แต่น้อย จึงสงสัยมากว่าข้าราชการมีเหตุผลอย่างใรในการนำพืชสมุนไพรพื้นบ้านไปขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตราย เป็นการจำกัดสิทธิ์ สร้างความยุ่งยากให้กับเกษตรกรหรือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้นายทุนใหญ่ในอนาคตหรือไม่
ข้าราชการไม่ควรสร้างความยุ่งยากหรือออกระเบียบกฎหมายให้กระทบต่อวิถีชีวิตปรกติของพี่น้องประชาชน นายกรัฐมนตรี ต้องยกเลิกการขึ้นทะเบียนสมุนไพรเป็นวัตถุอันตรายทันที อย่าให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อรัฐบาลมากไปกว่านี้
นายวัชระ กล่าวว่า “การประกาศพืชสมุนไพร 13 ชนิด เป็นวัตถุอันตราย สร้างภาพพจน์เสียหายให้ประเทศในสายตาของนานาชาติ ซึ่งสมุนไพรทั้ง 13 ชนิด ไม่เป็นวัตถุอันตรายหรือมีอันตรายใดๆต่อผู้บริโภคเลยแม้แต่น้อย จึงสงสัยมากว่าข้าราชการมีเหตุผลอย่างใรในการนำพืชสมุนไพรพื้นบ้านไปขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตราย เป็นการจำกัดสิทธิ์ สร้างความยุ่งยากให้กับเกษตรกรหรือเป็นการเอื้อประโยชน์ให้นายทุนใหญ่ในอนาคตหรือไม่
ข้าราชการไม่ควรสร้างความยุ่งยากหรือออกระเบียบกฎหมายให้กระทบต่อวิถีชีวิตปรกติของพี่น้องประชาชน นายกรัฐมนตรี ต้องยกเลิกการขึ้นทะเบียนสมุนไพรเป็นวัตถุอันตรายทันที อย่าให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อรัฐบาลมากไปกว่านี้