วันนี้ 26 มิถุนายน 2563 นายสิทธิพล เมืองสง ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเขต 3 (กระบี่ ) บูรณาการร่วมกับนายโสภณ อ่อนคง ประมงจ.สตูล ,นายโชคชัย เมืองสง หัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลเกาะหลีเป๊ะ สตูล ,นาวาเอก จุมพจน์ เสนาะพิณ รองผู้อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดสตูล,น.ต.ปรัชญ์ ขำเจริญ หัวหน้าสถานีเรือละงู/รองผู้บังคับหน่วยรักษาความปลอดภัยทางทะเลเกาะหลีเป๊ะ,เจ้าหน้าที่ประมงจังหวัดสตูล,เจ้าหน้าที่จากกองทัพเรือ,สถานีเรือละงู, กรมประมง กรมทรัพยากรทางทะเล ,กรมเจ้าท่า ,และตำรวจน้ำ ร่วม 50 นาย เพื่อซึ่งเป็นชุดคณะทำงานรื้อถอนเครื่องมือทำการประมงที่ผิดกฎหมายในเขตจังหวัดชายทะเล จ.สตูล ออกปฏิบัติการรื้อถอนเครื่องมือประมงโพงพางในเขตพื้น จ.สตูลจำนวน 300 ช่อง
นายโสภณ อ่อนคง ประมงจ.สตูล กล่าวว่า ทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมากกรมประมงโดยกองตรวจการประมงและหน้าที่ในการบริหารจัดการควบคุมป้องกันและปราบปรามและบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำได้ดำเนินควบคุมเครื่องมือประมงที่มีประสิทธิภาพสูงและทำลายล้างโดยเฉพาะในเขตทะเลชายฝั่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำทั้งตัวอ่อน และพ่อพันธุ์เข้ามาเพื่อวางไข่โฟงพางก็เป็นเครื่องมือประมงชนิดหนึ่งที่ลักษณะการทำประมงจะวางอยู่ในพื้นที่ ลำครอง ปากแม่น้ำและในอ่าวเป็นจำนวนมากจึงจำเป็นต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องซึ่งในการปฏิบัติงานอาศัยอำนาจความตามพระราชกำหนดการประมงพ. ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ห้ามทำการประมูลด้วยเครื่องมือตามมาตรา 67 วรรค 1 ห้ามมิให้ผู้ใดหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้เป็นเครื่องมือจมูกประเภทของปลามีบทลงโทษตามมาตรา 146 ปรับตั้งแต่ 100 หรือ 500 บาทและมาตรา 169 ให้เครื่องมือทำการประมงสัตว์น้ำและเครื่องปรุงที่นำมาใช้ในการทำความผิดกฎหมายกระทำความผิดกฎหมาย และในวันนี้ ในพื้นที่ จ.สตูล ซึ่งมีโพงฟางอยู่เป็นจำนวนมาก ทางประมงจังหวัดจึงได้ ร่วมกับทุกภาคส่วนในการร่วมกัน รื้อถอน โพงฟาง และคาดว่า จะรื้อถอนให้หมดภายใน 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีที่ผ่าน คือปี 62 เป็นต้นไป และตลอดมาได้มีรือถอน แต่ เมื่อเจ้าหน้าที่ทำการรื้อถอนแล้ว ก็ยังมีพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เข้าไปทำการวางหรือเอาไม้ไปปัก ทำเป็นโพงพางอีก โดยการทำการโพงพางนั้นจะใช้ไม้ 11 ศอก ในการทำและมีอวนที่มีขนาดความยาวไม่ต่ำกว่า 10 เมตร วางไว้ข้างใต้ เพื่อให้ปลาเข้าไป และปลาที่เข้าไปนั้นจะเป็นทั้งปลาเล็กปลาน้อย ก็จะเข้าไปหมด ซึ่งถือว่าเป็นการทำที่ผิดกฎหมาย บ่อยครั้งที่มีการจับกุม ตัวผู้กระทำผิด แต่ถึงอย่างไรถ้าไม่รื้อถอนทิ้ง ก็จะไม่หมดสิ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันสอดส่องดูแล ไม่ให้มีการทำโพงพางและต้องรื้อทิ้งให้หมด ภายใน 5 ปี นี้อย่างแน่นอน
นิตยา แสงมณี // ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสตูล