สมัยนี้ไม่ได้สู้รบกันจริงจังเหมือนในอดีต และการรบก็อาศัยปัจจัยหลายๆ การพิจารณาก็พิจารณาจากความพร้อมทางทหาร ทั้ง 3 ด้านหลักๆ คือ ทหารบก ทหารอากาศ ทหารเรือ ทั้งอาวุธในการรบ ความทันสมัยของเทคโนโลยี ความทันสมัยของอาวุธความร้ายแรง ของอาวุธและเครื่องบินรบ รถถัง เรือรบ และอีกหลายๆปัจจัย รวมไปถึง พลเรือนที่มีอยู่ หรือ ทหาร ในการทำสงคราม เฉพาะข้อมูลที่ครอบคลุมประเทศจากทั่วโลกกับสถิติตาม แหล่งสาธารณะต่างๆ ประเทศ ได้แก่ ประเทศระดับโลกที่สำคัญ ในการทำสงคราม เป็นการเปรียบเทียบจุดแข็งทางทหารจากทั่วโลก
10.ตุรกี
ตุรกี (อังกฤษ: Turkey; ตุรกี: Türkiye) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (อังกฤษ: Republic of Turkey; ตุรกี: Türkiye Cumhuriyeti) เป็นประเทศที่มีดินแดนทั้งในบริเวณเทรซบนคาบสมุทรบอลข่านในทวีปยุโรปใต้ และคาบสมุทรอานาโตเลียในยุโรปใต้เช่นกัน ตุรกีมีพรมแดนทางด้านทิศตะวันออกติดกับประเทศจอร์เจียอาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน และอิหร่าน มีพรมแดนทางด้านทิศใต้ติดกับอิรัก ซีเรีย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทางทิศตะวันตกติดกับกรีซ บัลแกเรีย และทะเลอีเจียนทางเหนือติดกับทะเลดำ ส่วนที่แยกอานาโตเลียและเทรซออกจากกันคือทะเลมาร์มาราและช่องแคบตุรกี (ได้แก่ช่องแคบบอสฟอรัสและช่องแคบดาร์ดะเนลส์) ซึ่งมักถือเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียกับยุโรป จึงทำให้ตุรกีเป็นประเทศที่มีดินแดนอยู่ในหลายทวีป
9.ญี่ปุ่น
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลของญี่ปุ่น มีประวัติมายาวนาน ในช่วง ศตวรรษที่ 20 จนถึง กลางศตวรรษ กำลังทางเรือญี่ปุ่นมีความก้าวหน้ามากกองทัพเรือญี่ปุ่นในช่วงนั้นถือได้ว่าเป้นมหาอำนาจชาติหนึ่ง แต่ว่าเมื่อแพ้สงครามโลก กองทัพเรือญี่ปุ่นได้ถึงจุดตกต่ำสุด เมื่อปี ค.ศ. 1954 รัฐบาลญี่ปุ่น ได้จัดตั้งกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลและอากาศขึ้น
กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลก็ค่อย ๆ เติบโตบวกกับประสบการณ์การสร้างเรือรบมาตลอดของญี่ปุ่นทำให้วันนี้กองทัพเรือญี่ปุ่นหรือกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเล เป็นกองทัพเรือที่ทันสมัยอย่างมากและมีเรือรบที่เพียงพอต่อยุทธศาสตร์ป้องกันประเทศญี่ปุ่น
8.บราซิล
บราซิล (อังกฤษ: Brazil; โปรตุเกส: Brasil) หรือชื่อทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล (อังกฤษ: Federal Republic of Brazil; โปรตุเกส: República Federativa do Brasil) เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก มีพื้นที่กว้างขวางระหว่างตอนกลางของทวีปอเมริกาใต้และมหาสมุทรแอตแลนติก มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอุรุกวัย อาร์เจนตินา ปารากวัย โบลิเวีย เปรู โคลอมเบีย เวเนซุเอลา กายอานา ซูรินาเม และดินแดนเฟรนช์เกียนา — ทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ยกเว้นเอกวาดอร์และชิลี
7.เยอรมัน
กองทัพเรือเยอรมันเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเยอรมัน (บุนเดซเวร์) และร่วมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพันธมิตรนาโต้ ภารกิจกองทัพนี้ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมในการรักษาความสงบกับการดำเนินงานบังคับให้เกิดสันติภาพ ตลอดจนการป้องกันอาณาเขตของเยอรมนีและพันธมิตร
6.ฝรั่งเศส
กองทัพฝรั่งเศส เป็นกองทัพของสาธารณรัฐฝรั่งเศส กองทัพฝรั่งเศสเป็นกองทัพที่มีความทันสมัยมีหน้าที่ปกป้องในอธิปไตยของชาติ กองทัพฝรั่งเศส อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพคือประธานาธิบดี กองทัพฝรั่งเศสเป็นสมาชิกของนาโต้, กองกำลังของสหภาพยุโรป และ European Union Battlegroups.
5.อังกฤษ
กองทัพสหราชอาณาจักร หรือ กองทัพอังกฤษ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กองทัพในสมเด็จพระราชินี (อังกฤษ: Her Majesty’s Armed Forces) และ บ้างเรียกว่า กองทัพในพระมหากษัตริย์ (อังกฤษ: Armed Forces of the Crown) เป็นกองทัพของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ กองทัพนี้ประกอบด้วยหน่วยที่แต่งเครื่องแบบอาชีพสามเหล่า ได้แก่ ราชการทหารเรือ (Naval Service) ซึ่งรวมกองทัพเรือและนาวิกโยธิน กองทัพบกและกองทัพอากาศ
4.อินเดีย
กองทัพอินเดีย (เทวนาครี: भारतीयसशस्त्रसेनाएं ) เป็นกำลังทหารของสาธารณรัฐอินเดีย ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ ตลอดจนกำลังกึ่งทหาร กองทัพอินเดียอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกระทรวงกลาโหม นำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ประธานาธิบดีเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ในปี 2010 กองทัพอินเดียมีกองกำลังพร้อมรบอยู่ที่ 1,325,000 นาย และมีกำลังพลสำรองอยู่ที่ 1,155,000 นาย ทำให้กองทัพอินเดียเป็นหนึ่งในกองกำลังทางทหารที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของบุคลากร
3.รัสเซีย
กองทัพแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเซีย: Вооружённые Си́лы Росси́йской Федера́ции) เป็นราชการทหารของประเทศรัสเซีย ก่อตั้งขึ้นหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย วันที่ 7 พฤษภาคม 2535 บอริส เยลต์ซิน ลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีที่สถาปนากระทรวงกลาโหมรัสเซียและกำหนดให้หน่วยทหารกองทัพโซเวียต ทั้งหมดในดินแดนสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียอยู่ใต้การควบคุมของรัสเซีย ประธานาธิบดีรัสเซียเป็นผู้บัญชาการทหารของกองทัพ
2.จีน
กองทัพสาธารณรัฐจีน ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ (รวมเหล่านาวิกโยธิน) และ กำลังทหารสารวัตรแห่งสาธารณรัฐจีน เป็นสถาบันทหาร มีงบประมาณคิดเป็น 16.8% ของงบประมาณกลางในปีงบประมาณ 2546 เดิมเป็นกองทัพปฏิวัติแห่งชาติก่อนเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพสาธารณรัฐจีนในปี 2490 เนื่องจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ
ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1970 ภารกิจหลักของกองทัพ คือ การยึดจีนแผ่นดินใหญ่คืนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เป็นคอมมิวนิสต์ผ่านโครงการความรุ่งโรจน์ของชาติ (Project National Glory) แต่ภารกิจสำคัญที่สุดของกองทัพปัจจุบัน คือ การป้องกันเกาะไต้หวัน เผิง จินเหมินและหมาจู่จากการบุกครองทางทหารที่เป็นไปได้ของกองทัพปลดปล่อยประชาชน ซึ่งถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามที่เด่นสุดของสาธารณรัฐจีน ขณะที่ข้อพิพาทว่าด้วยสถานะทางการเมืองของไต้หวันยังดำเนินต่อไป
1.อเมริกา
กองทัพสหรัฐอเมริกานับเป็นหนึ่งในกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในแง่ยอดกำลังพล กำลังพลได้มาจากอาสาสมัครจำนวนมากซึ่งได้รับค่าตอบแทน แม้ในอดีตจะมีการเกณฑ์ทหารทั้งในยามสงครามและยามสงบ แต่ไม่มีการเกณฑ์ทหารอีกนับแต่ ค.ศ. 1972 ใน ค.ศ. 2013 สหรัฐอเมริกามีรายจ่ายเพื่อสนับสนุนกองทัพราว 554,200 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี และจัดสรรงบประมาณราว 88,500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการการเผชิญเหตุโพ้นทะเล (Overseas Contingency Operation) เมื่อรวมกันแล้ว สหรัฐอเมริกามีรายจ่ายทางทหารเป็นร้อยละ 39 ของรายจ่ายทางทหารโลก