สำนักข่าว onb News สำนักข่าว CK News Fanpage Facebook ขอบฟ้า Fanpage Facebook หิ้วเป้ แบกกล้องท่องเที่ยว ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี
ได้เดินทางไปที่แม่ริม เชียงใหม่ ไปตะลุยท่องเที่ยวที่ปางช้าง ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดภาคเหนือจากการธรรมชาติหุบเขาที่สมบูรณ์ด้วยต้นไม้นานาชนิด
โดยมี นางขวัญเรือน แก้วพิจิตร บรรณาธิการ/ผู้อำนวยการ สำนักข่าว Onb News พร้อมด้วย นายชัชวาลย์ แก้วกระจาย ผู้อำนวยการฝ่ายข่าวภูมิภาคสำนักข่าวONB News สำนักข่าว CK News พร้อมด้วยทีมข่าวสำนักข่าว onb News สำนักข่าว CK News นายใจรัก วงศ์ใหญ่ ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี และ แอดมินเพจเดลิซันเดย์ หิ้วเป้แบกกล้องท่องเที่ยว ได้ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่บุกตะลุยไปที่ปางช้างแม่ริม ปางช้างแม่สา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2519 เป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว โดย นายชูชาติ กัลมาพิจิตร พ่อเลี้ยง ผู้ก่อตั้งปางช้าง แม่สา ซึ่งเห็นคุณค่าในความฉลาดและความสามารถของช้าง และต้องการอนุรักษ์ช้างไทย จึงได้ก่อตั้งปางช้างแม่สาขึ้นในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ที่อยู่ติดกับลำน้ำแม่สาในเขตหุบเขาแม่สา และทำการซื้อช้างจากที่ต่างๆ มาเพื่อทำการฝึกและพัฒนาทักษะต่างๆ โดยมีความมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ความสามารถและความน่ารักของช้างเหล่านี้ให้แก่นักท่องเที่ยว และหวังว่านักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะเกิดความรักและตระหนักในคุณค่าของช้างไทย
“ปางช้างแม่สา” เป็นบ้านช้างหลังใหญ่ที่ช้างอยู่ร่วมกันกับควาญช้าง มีความใกล้ชิดผูกพันธ์กัน ถือเป็นปางช้างที่มีจำนวนช้างมากที่สุดในภาคเหนือ อยู่ท่ามกลางป่าเขาที่อุดมสมบูรณ์ ในเขตพื้นที่แม่สา อ.แม่ริม นักท่องเที่ยวสามารถชมการแสดงของเหล่าบรรดาศิลปินช้างที่ได้รับการฝึกฝนมาป็นอย่างดี เช่น ช้างเดินพาเหรด ช้างเล่นดนตรี ฟุตบอลช้าง ช้างวาดรูป ช้างนวดควาญ และช้างแหนบไม้ และการแสดงอื่นๆ อีกมากมาย
ยังมีกิจกรรมการนั่งช้าง ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับธรรมชาติของป่าเขาและต้นไม้นานพันธุ์โดยรอบ ในบรรยากาศแห่งความเพลิดเพลินและปลอดภัย ส่วนเส้นทางเที่ยวชมนั้นสามารถเลือกได้ตามต้องการ ทั้งแบบปกติซึ่งทางค่อนข้างเรียบง่ายสบาย หรืออีกเส้นทางซึ่งวิบากก็เหมาะกับคนที่ชอบความตื่นเต้น
เป็นคำกล่าวชนิดฝืนยิ้มแข็งใจสู้ของ นางอัญชลี กัลมาพิจิตร กก.ผจก.ใหญ่ปางช้างแม่สา ทายาทคนโตของ นายชูชาติ กัลมาพิจิตร พ่อเลี้ยงเจ้าของปางช้างแม่สา ผู้ล่วงลับ
นายชูชาติ กัลมาพิจิตร พ่อเลี้ยง “ปางช้างแม่สา” ผู้ก่อตั้งปางช้างในช่วงมีชีวิตอยู่ มีความผูกพันกับช้างเป็นอย่างมาก.
นางอัญชลี เผยอีกว่า ปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นเรื่องหนึ่งที่ต้องสนองนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว จึงปิดปางช้างแม่สาชั่วคราวเมื่อวันที่ 23มี.ค.ที่ผ่านมา โดยให้ความร่วมมือที่จะป้องกันไม่ให้เชื้อโควิด-19แพร่ระบาด
ในขณะเดียวกัน ได้ป้องกันพนักงานและคนเลี้ยงช้างของเรากว่า 200 ชีวิต ให้ปลอดจากโรคโควิด-19ด้วย
ตอนนี้ได้เปิดเป็นทางการแล้ว
นางอัญชลี กล่าวถึงการรักษาปางช้างและช้างไว้ และที่สำคัญคือต่อไปจะยกเลิก การแสดงและนั่งช้างบนแหย่ง รวมถึงการ ให้ช้างได้มีอิสรภาพ หลังจาก 40 กว่าปีผ่านไป
การโชว์ช้างอาบน้ำ ในลำห้วยแม่สาของปางช้างแม่สา เป็นส่วนหนึ่งที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบมาก และเป็นความสุขของคนที่ได้มาอาบน้ำช้าง.
ส่วนจะมีปัจจัยนั้นได้คิดจะเปลี่ยนแปลงก่อนหน้านี้แล้ว ประมาณเดือนต.ค.ปีที่แล้ว เมื่อโดนโจมตีเรื่องเนิร์สเซอรีช้างน้อยของปางช้างแม่สาจากสื่ออังกฤษ จึงได้ตัดสินใจตอบคำถามในครั้งนั้นว่า
“เราจะเปลี่ยนแปลงโดยจะยกเลิกการฝึกช้างแสดงและการนั่งช้าง และเราต้องการปิดเนิร์สเซอรีช้างน้อย ขอยุติคำว่าเนิร์สเซอรีด้วย เนื่องจากสื่อใช้คำว่าเนิร์สเซอรีจากนรก”
โดยทิศทางที่เปลี่ยนแปลงต้องสามารถสร้างสิ่งอื่นขึ้นมาทดแทน และจากการศึกษาพบว่าโปรแกรมหรือกิจกรรมของช้าง คนในสมัยปัจจุบันนิยมคือการมาช่วยเลี้ยงช้างหรือเซอร์วิสช้าง ช่วยเหลือช้างโดยให้ช้างได้อยู่แบบที่ช้างเป็น คือเป็นธรรมชาติ คิดว่ามันง่ายมาก หากจะให้ทำแบบนั้น คนสบาย ช้างสบาย แล้วทำไมจะไม่ทำล่ะ
สำหรับการเปิดให้บริการครั้งนี้นั้น จะเปิดทุกวันตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา เป็นต้นไป โดยเปิดบริการวันละ 3 รอบ ๆ ละ 200 คน
รอบแรกเวลา 9.00 น. – 11.00 น.
รอบที่ 2 เวลา 11.00 น. – 13 .00 น.
รอบที่ 3 เวลา 13.00 – 15.00 น.
ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 120 บาท
ค่านั่งช้างชมธรรมชาติ 30 นาที (สำหรับ 2 ท่าน) 800 บาท / เชือก
– ค่านั่งช้างชมธรรมชาติ 1 ชั่วโมง (สำหรับ 2 ท่าน) 1,200 บาท /เชือก
– ค่านั่งช้างชมธรรมชาติไป บ้านโต้งหลวง หมู่บ้านชาวเขาเกษตรเชิงนิเวศน์ (สำหรับ 2 ท่าน) 3,000 บาท /เชือก
หรือหากต้องการไปแบบจอยทัวร์ราคาท่านละ 1,150 บาท
ของทุกวัน ถ้าหากนักท่องเที่ยวท่านใดสนใจ ก็สามารถมาเที่ยวชมช้าง ป้อนอาหารช้างได้ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎของปางช้างแม่สา ซึ่งจะมีการตั้งจุดคัดกรอง วัดอุณหภูมิก่อนเข้าชมช้าง และต้องผ่านอุโมงค์พ่นน้ำยาฆ่าเชื้อก่อน ถึงจะสามารถเข้ามาในปางช้างได้
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ info@maesaelephantcamp.com โทรศัพท์: 089-838-4242 053-206247-8
ใจรัก วงศ์ใหญ่
สำนักข่าวเดลิซันเดย์
ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ
จังหวัดลพบุรี