เกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลัง อ.ศรีมหาโพธิ อ.นาดี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ได้รับผลกระทบจากโรคใบด่างในไร่มันสำปะหลัง โรคใบด่างในไร่มันสำปะหลังเกิดจากแมลง
หวี่ขาวที่กัดกินน้ำเลี้ยงขอใบมันสำปะหลังเมื่อต้นมันมีอายุได้ 2-3 เดือน แมลงหวี่
ขาวจะกัดกินน้ำเลี้ยงจากใบมันฯ เมื่อใบมันถูกกัดกินน้ำเลี้ยงจะทำให้ใบหงิกงอและ
จะมีสีเหลืองและจะแห้งตายทำให้ต้นมันแห้งตายตามไปด้วย แมลงหวี่ขาวจะอยู่กันเป็นฝูงหลายพันตัวเหมือนแมลงหวี่ดำทั่วไป มีขนาดเล็กสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แมลงหวี่ขาวสามารถทำลายใบมันรวดเร็วมากหาก เพียง 1 วันใบมันจะเริ่มหงิกงอเหลืองและแห้งตายคาต้นมัน
ต้นมันฯจะสูงราว 1.80 ซม.จะไม่โตทำให้เกษตรกรเสียต้นพันธ์ที่จะปลูกต่อไปในฤดูการหน้า ต้องหาซื้อต้นพันธ์มาปลูกเป็นการเพิ่มต้นทุนในการปลูกมันฯเพิ่มขึ้นเท่าตัว
จากการลงพื้นที่สำรวจตามไร่มันฯ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.ศรีมหาโพธิ ในพื้นที่เทศบาลกรอกสมบูรณ์พบว่ามีการระบาดของโรคใบด่างเป็นจำนวนมากทั้งแปลง เกษตร
กรบอกที่ปลูกมันฯแซมต้นที่ตายแล้ว 2 ครั้งก็ยังตายอีกเพราะฝนแล้ง ปัญหาโรคใบ
ด่างในไร่มันสำปะหลังเคยไปปรึกษาเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอก็ยังไม่มีคำตอบที่แน่
ชัดว่าจะมีทางกำจัดแมลงหวี่ขาวได้อย่างไร
ในส่วน อ.นาดี อ.กบินทร์บุรีพบว่ามีการแพร่ระบาดจากโรคใบด่างเป็นจำนวนมากไม่แพ้กัน โดยเฉพาะที่บ้านชำโสม บ้านหนองช้างลงอ.กบินทร์บุรี เกษตรกรบอก
ว่าโรคใบด่างในไร่มันฯแพร่ระบาดเร็วมากจากแปลงนี้ลุกลามไปแปลงนั้น
นายบุญสิน เหล็กเขียว อายุ55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 17/3 ม.4 ต.กบินทร์บุรี อ.กบินทร์บุรีจ.ปราจีนบุรี กล่าวชาวไร่มันสัมปะหลังหลายรายในพื้นที่ได้ประสบปัญหานี้มาก เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอแนะนำว่าให้ทำลายต้นมันทิ้งทั้งแปลงโดยการเผา หรือไถฝังกลบเป็นทางออกที่ดีที่สุด เป็นการทำลายแมลงหวี่ขาวให้ตายไป หากไม่ทำตามคำ
แนะนำก็จะพบปัญหาการแพร่ระบาดโรคใบด่างในไร่มันต่อไป ซึ่งเกษตรกรไม่
กล้าที่จะทำตามคำแนะนำเพราะเป็นการลงทุนทำไร่มันอีกครั้ง ต้นพันธ์ก็หายากจึงจำเป็นต้องปล่อยให้แมลงหวี่ขาวระบาดในไร่มันต่อไปถึงฤดูการเก็บเกี่ยวมันตายไม่มีหัวก็ต้องยอมรับได้แค่ไหนเอาแค่นั้น…
ภาพ/ข่าว:ทองสุข สิงห์พิมพ์
ลักขณา สีนายกอง/รายงาน