ที่บริษัท ทีพีไอ โพลีนเพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) พันเอก บุญส่ง พรมนิล ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 26 (ผบ.กรม.ทพ.26) รับมอบปูนซีเมนต์สำหรับสร้างฝายชะลอน้ำ (250 ฝาย) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จำนวน 2,260 ถุง มูลค่า 185,220 บาท จาก บริษัท ทีพีไอ โพลีนเพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ตามแผนงานของ “ ศูนย์บริหารจัดการน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนองตอบนโยบายของ พลโท ธัญญา เกียรติสาร แม่ทัพภาคที่ 2/ประธาน ศูนย์บริหารจัดการน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้การดำเนินการผ่านแนวคิด “ น้ำ คือ ชีวิต ” “ น้ำ คือ ความมั่นคง ” ตามคำสั่ง กองทัพภาค ที่ 2 / กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ที่ 29 / 2561 ลงวันที่ 16 ก.พ. 2561 กองทัพภาคที่ 2 โดยกรมทหารพรานที่ 26 ร่วมกับองค์การบริหารส่วนโคกกระชาย,อุทยานแห่งชาติทับลานที่ 3 (คลองน้ำมัน) และประชาชนบ้านมาบกาด จะดำเนินการเปิด “โครงการกองทัพบกอาสาปลูกป่าสร้างฝาย สืบสานพระราชปณิธาน” “ น้ำ คือ ชีวิต ” “ น้ำ คือ ความมั่นคง ” ในวันที่ 17 มิถุนายน 2563 นี้ สำหรับบริษัท ทีพีไอ โพลีนเพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) คือหนึ่งในบริษัทต้นแบบที่ให้การสนับสนุนด้วยดีตลอดมาในการให้การสนับสนุนให้กับกองทัพภาคที่ 2 โดยผ่านทางกรมทหารพรานที่ 26 ในการจัดสร้างฝายชะลอน้ำ บริเวณพื้นที่รับผิดชอบของกรมทหารพรานที่ 26 รับผิดชอบพื้นที่ต้นน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำมูล จากแหล่งน้ำบริเวณอุทยานแห่งชาติทับลาน อำเภอครบุรีและอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ประโยชน์ของฝายชะลอน้ำ เกิดประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฝายชะลอน้ำสามารถชะลอให้น้ำฝนตามธรรมชาติที่ตกลงมาอยู่บนผืนแผ่นดินยาวนานมากขึ้น การทำฝายชะลอการไหลของน้ำจะเป็นส่วนช่วยสร้างความชุ่มชื้นในดินได้มากขึ้นสร้างความสมบูรณ์ของป่าต้นน้ำ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี ทำหน้าที่คืนความชุ่มชื้นเข้าสู่ระบบน้ำธรรมชาติ ช่วยให้ปริมาณน้ำธรรมชาติมากขึ้นเป็นการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ซ้ำซากและปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ซ้ำซากเพื่อชะลอการไหลของน้ำลงสู่พื้นที่ตอนในให้อยู่ในพื้นที่ต้นน้ำให้ได้มากที่สุด อันจะส่งผลต่อปริมาณน้ำที่สามารถกักไว้ในพื้นที่ เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งก็ยังคงมีน้ำช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้เกิดขึ้น สภาพป่าต้นไม้ พืชพรรณที่มีอยู่ในบริเวณนั้นจะได้รับการฟื้นฟูพัฒนาสภาพป่าต้นน้ำ ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ สามารถเก็บกักซับน้ำเป็นแหล่งเพิ่มพูนความหลากหลายในระบบนิเวศน์ ทำให้สภาพแวดล้อมของชุมชนมีความชุ่มชื้นยิ่งขึ้นเป็นแหล่งเก็บกักน้ำเสมือนเป็นแอ่งเก็บน้ำขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ต้นน้ำ อันเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในการใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภค เป็นการป้องกันความแห้งแล้งสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายของระบบนิเวศน์ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดแหล่งอาหารตามธรรมชาติเพื่อการเก็บหาบริโภคและพึ่งพิงป่าได้ ทำให้ชุมชนมีแหล่งอาหารแหล่งเสริมสร้างอาชีพจากการอนุรักษ์ป่า เช่น การเก็บหาผลิตผลจากป่า เห็ด หน่อไม้ เป็นการเสริมสร้างอาชีพเพิ่มพูนรายได้ ชุมชนเกิดความรักสามัคคี มีความสุขใจ มีส่วนร่วมในการรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน เกิดระบบการบริหารจัดการป่าชุมชนให้มีความเข้มแข็งเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งอาหาร แหล่งสมุนไพรของคนในชุมชนและคนนอกชุมชนเกิดเครือข่ายการเรียนรู้ และขยายผลการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์การจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำด้วยฝายชะลอน้ำ เรียนรู้การใช้ประโยชน์แบบพึ่งพิงป่าได้อย่างเกื้อกูล รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ของเยาวชน เป็นเส้นทางเดินธรรมชาติแก่ผู้มาศึกษาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการปลูกสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนเห็นคุณค่าของป่าต้นน้ำ
แชร์ให้เพื่อน