ช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัส COVID-19 ในประเทศจีน ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ล่วงมาถึงต้นปีนี้ คอทุเรียนชาวไทยฝันว่าจะได้กินทุเรียนในราคาถูกอย่างแน่นอน เพราะตลาดใหญ่ของทุเรียนไทยอยู่ที่จีน เมื่อจีนนำเข้าไม่ได้ ขณะที่ผลผลิตทุเรียนออกมาประดังพร้อมกัน ราคาย่อมถูกลงอย่างแน่นอน
นักชิมชาวไทย ความฝันก็ดับสลายไป เมื่อทุเรียนจากสวนในภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ออกลูกมาทัน ในจังหวะที่จีนกลับมาเปิดเมืองพอดี
ไม่ได้ชิมความอร่อยของทุเรียน เพราะชาวจีนเหมาหมดสวนเลยทีเดียวทำให้ตลาดทุเรียนในเมืองไทยราคาพุ่ง ฟันกำไรดอกเนาะ ดึงเงินตราที่เข้ามาเมืองไทยเลยทีเดียวทำให้พ่อค้าแม่ค้า ขายทุเรียนแพงเป็นประวัติการณ์ ที่ไม่เคยมีมาก่อน
สาเหตุมาจาก นักธุรกิจชาวจีน ได้มีคำสั่งซื้อจากจีน ที่เคยคาดกันว่าจะเป็นศูนย์ กลับมามหาศาลเท่าเดิม แถมยังทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำไป ทำให้ในประเทศก็ต้องซื้อทุเรียนในราคาแพงตามไปด้วย
สำนักข่าวเดลิซันเดย์
พร้อมด้วย ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี ได้ สำรวจ ตลาด ราคาทุเรียน ราคาไม่แตกต่าง
ราคาขายปลีกสูงเท่ากับปีที่แล้ว
ก่อนหน้านี้ ในช่วง COVID-19 เริ่มระบาดหนักในประเทศจีน คอทุเรียนชาวไทยเคยวาดฝันว่า ปีนี้จะได้กินทุเรียนราคาถูกลง เพราะคาดกันว่าทุกเรียนจากสวนในไทยจำนวนมากจะส่งไปขายในจีนไม่ได้ แต่ปรากฏว่าตอนนี้ ราคาทุเรียนขายปลีกที่พบทั่วไป ยังสูงถึงกิโลกรัมละ 180-300บาท ใกล้เคียงกับปีก่อน
แกะใส่แพ็ค ราคาอยู่ในประมาณ ราคาเริ่มต้น 190 จนถึงราคา 220 เลยทีเดียวในท้องตลาด
คนไม่มีตังค์ก็ไม่มีสิทธิ์ได้กินราคาแบบนี้
สำนักข่าวเดลิซันเดย์ ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี ตั้งข้อสังเกต ว่า
ราคาขายปลีก กระทบถึงคอทุเรียนคนไทย
เมื่อราคาสูงตั้งแต่หน้าสวนมาที่ล้ง ล้งจึงปล่อยขายทุเรียนในราคาสูงขยับตามกันไป มาถึงพ่อค้ารายย่อย โดยเฉพาะ รถเร่ขายทุเรียนที่พบเห็นกันตาม ริมถนนหลายสาย ซึ่งบางคนมาขายเป็นการเฉพาะกิจ เพื่อหารายได้เสริมช่วงที่มีปัญหา COVID-19 ความคิดเดิมมองว่า ทุเรียนราคาดี น่าจะทำกำไรได้ แต่เมื่อรับมาขายจริงจึงรู้ว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด
ผู้ค้าคนหนึ่งบอกกับทีมข่าวว่า เห็นจังหวะราคาทุเรียนลดลงช่วงสองสัปดาห์ก่อน จึงคิดไปรับจากล้งที่ระยองมาขายในกรุงเทพฯ และ ต่างจังหวัด ปัญหาที่พบคือ ล้งไม่ได้ขายให้ในทันทีตามที่ต้องการ ล้งรอจนกว่าราคาทุเรียนขยับขึ้น จึงจะตัดส่วนที่เหลือจากส่งออกขายให้ ราคาต้นทุนจึงแพงกว่าที่คิด ล้งจะขายให้กิโลกรัม 120-125 บาท แถมยังขนส่งเข้ามาขายในกรุงเทพฯ ไม่สะดวกเหมือนในเวลาปกติ เพราะต้องพยายามเลี่ยงเคอร์ฟิว
ขณะที่พ่อค้าบางคนในพื้นที่ลพบุรี บอกว่า คุณภาพทุเรียนไม่ดี มีทุเรียนอ่อนมาก ประกอบกับอากาศร้อนที่จัด ทำให้ทุเรียนเสียหาย ราคาทุเรียนที่รับมาราคาจึงไม่แน่นอน และบางคนก็รับมาในจำนวนมากไม่ได้ เพราะมีทุนน้อย และเสี่ยงที่จะขาดทุนถ้าคุณภาพไม่ดี
ราคาที่สูงส่วนหนึ่งถูกมองว่า เพราะล้งปั่นราคา ไม่ใช่มาจากความต้องการของตลาดจีนทั้งหมด เพราะกำลังซื้อของจีนชะลอลงจากปัญหาเศรษฐกิจเหมือนกัน ผลจากราคาถูกปั่นจนสูง อาจทำให้ชาวสวนเข้าใจว่า ตลาดเปิดกว้าง จึงตัดสินใจขยายพื้นที่ปลูกไป”
จีนที่เคยเหมาทุเรียนต้นฤดู กิโลกรัมละ 150-180 บาท ทิ้งเงินมัดจำ ขอยกเลิกออร์เดอร์นำเข้าจากประเทศไทย ด่านชายแดนก็ไม่มีคนงานจีนเข้าไปทำงาน ตั้งแต่ช่วงเทศกาลตรุษจีน ด่านบ่อหานและด่านโมฮาน มณฑลยูนนาน ไม่ปิดการนำเข้าและส่งออก แต่ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่คนจีนเข้าไป ผลไม้จึงตกค้างอยู่ที่จุดนั้น
เราคงไม่อยากให้ทุเรียนล้นตลาด และเกิดปัญหาในวันข้างหน้า เพราะการขยายพื้นที่ปลูกไปเรื่อยๆ ไม่อยู่บนฐานความต้องการที่แท้จริง ส่วนราคาทุเรียนที่ในประเทศแพงระดับร้อยกว่าบาท จุดเปลี่ยนคือการเปิดตลาดส่งไปจีนปริมาณมากเมื่อ 4-5 ปีก่อน เป็นราคาที่คอทุเรียนต้องรับมาระยะหนึ่งแล้ว
สถานการณ์ในปัจจุบัน คาดการณ์ก่อน COVID-19 ระบาด ราคาจะตก
นอกจากความต้องการในจีน ณ เวลานั้น คิดว่าน้อยลงแล้ว ผลผลิตทุเรียน 3 จังหวัดภาคตะวันออก คือ ระยอง จันทบุรี ตราด ที่ประเมินกันไว้ จะมากกว่าปีที่แล้ว กว่า 50,000 ตัน หรือ เพิ่มขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์ ส่งออกไปก็ยาก คนจีนน่าจะกินน้อยลง แถมทุเรียนจะออกมากขึ้น ทำให้ประเมินกันว่า ราคาจะลดลงอย่างแน่นอน ผู้ส่งออกประเมินไว้ว่า ราคาจะตกเหลือเพียงกิโลกรัมละ 60-80 บาท
ทีมข่าว ตั้งข้อสังเกตว่า
สถานการณ์พลิกจีนสั่งนำเข้า ล้งรับซื้อไม่อั้น
แต่เหตุการณ์กลับพลิกล็อก จีนปลดล็อกดาวน์เร็วกว่าที่คาด พอดีจังหวะที่ทุเรียนไทยออกสู่ตลาด คนจีนที่ถูกปิดเมืองก็อยากอุดหนุนสินค้าโดยเฉพาะอาหาร ล้งจึงกลับมารับซื้อไม่อั้น
“ทุเรียนที่ล้งรับซื้อหน้าสวน ราคาจึงไม่ถูกเสียแล้ว ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นมา ราคารับซื้อที่สวนสูงถึงกิโลกรัมละ 125 บาท แพงที่สุดในเดือนมีนาคม เกือบกิโลกรัมละ 140 บาท แล้วค่อยๆ ปรับลงมา ซึ่งสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 104 บาท”
ขณะที่ นายธวัชชัย จรรยา เจ้าของล้ง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เปิดเผยทางโทรศัพท์กับทีมข่าวว่า ซึ่งเป็นผู้ส่งออกทุเรียน บอกว่า แม้ในช่วงเริ่มการระบาดของโรค COVID-19 จะทำให้ล้งชะงัก หรือชะลอการเหมาสวนแต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น กลับพบว่า ความต้องการจากตลาดจีนยังคงมีสูง จึงทำให้เกิดการแย่งซื้อ แต่ราคาปลายทางที่ขายได้ไม่ได้สูงตามไปด้วย เพราะมีผู้ค้าจำนวนมาก
สำนักข่าวเดลิซันเดย์ ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ
จังหวัดลพบุรี ได้มีโอกาส ขายสวนทุเรียนเมืองนนท์ขึ้นชื่อความอร่อย และราคาราคาแพงที่สุด
ราคาแรง ! ทุเรียนนนท์ขายเป็นลูก ไม่ขายเป็นกิโล ต่ำสุด 5 พัน แพงสุด 4 หมื่น มาช้าก็อดกิน ไม่ได้จองเอาไว้ก็อดรับประทาน
สวนทุเรียนของ นายไพทูน ทรงจำปา ที่บริเวณ ม.4 ต.บางศรีทอง ซึ่งปลูกทุเรียนหลายสายพันธุ์ อาทิ ทุเรียนหมอนทอง ก้านยาว กระดุม อีรวง หลงลับแล และพวงมณี รวมถึงผลไม้อื่น ๆ อีกหลายชนิด
โดยขณะนี้ทุเรียนที่ จ.นนทบุรี จะขายเป็นลูก ไม่ได้ขายเป็นกิโล และราคาแต่ละลูกต้องดูตามขนาดว่าลูกใหญ่หรือว่าสวยหรือไม่ และต้องดูจำนวนพูของทุเรียนด้วยว่ามากหรือน้อย หรือพูใหญ่-พูเล็ก เป็นต้น
ทั้งนี้ ทุเรียนบางลูกก็จะมีราคาสูงถึง 30,000-40,000 บาท แล้วแต่ขนาด ส่วนราคาต่ำสุดก็ 5,000-7,000 บาท ซึ่งทุเรียนแต่ละสวนใน จ.นนทบุรี จะมีคนเข้ามาสั่งจองที่สวนเอง ไม่ได้ตัดไปวางขายตามท้องตลาด
อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันดีว่า “ทุเรียนนนท์” ขึ้นชื่อในเรื่องของความอร่อย หอม มัน หวาน ทำให้นายวัชรเดช เกียรติชานน นายอำเภอบางกรวย ขอลองชิมทุเรียนหมอนทองลูกละ 10,000 บาท พร้อมกล่าวว่า รสชาติหอม หวาน มัน อร่อย สมราคาจริง ๆ ไม่เสียชื่อทุเรียนของ จ.นนทบุรี ที่มีชื่อเสียงมายาวนาน
เอาล่ะท้องตลาด ในเมืองลพบุรี ก็มีการขายทุเรียนเหมือนกันแต่ราคา ตาม เหมือนกันทั่วๆไป ที่วางขายไปทั่วประเทศ คนลพบุรีไม่ได้ จับจ่ายซื้อ เหมือนเช่นเคยเพราะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี บางครั้งก็ขายไม่ได้ ขายไม่ออกพ่อค้าแม่ค้าไม่อยากเอามาขายที่ท้องลพบุรีกลัวขายไม่ได้เอา
ผลไม้อย่างอื่นมาทดแทนทุเรียน
เอ้า…ใครชอบรสชาติไหน พันธุ์อะไรของทุเรียน ก็ไปสรรหากันเลยจ้า เอาให้ถูกปากถูกคอ แต่อย่าลืม…กินมากอ้วนนะจ๊ะ เพราะน้ำตาลสูง แถมแพงด้วย (ฮ่าๆๆ)
ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ
จังหวัดลพบุรี
สำนักข่าวเดลิซันเดย์