สำนักงานเกษตรอำเภอวังโป่งส่งเสริมให้ความรู้เกษตรกรเพาะเลี้ยงแมลงหางหนีบ กำจัดหนอนกระทู้ในแปลงข้าวโพด แทนการใช้สารเคมี หลังจากปีที่ผ่านมาหนอนกระทู้ระบาดหนักในแปลงข้าวโพดของเกษตรกรทำให้สูญเงินในการซื้อสารเคมีกำจัดหนอนกระทู้ กว่า 2000 บาทต่อไร่ โดยนำเกษตรกรปราชญ์ในพื้นที่ ที่ใช้แมลงหางหนีบ กำจัดหนอนกระทู้แล้วได้ผลได้ผลสำเร็จลดต้นทุนเกือบ 5 หมื่นบาทในการซื้อสารเคมีกำจัดหนอนกระทู้ในแปลงข้าวโพด 30 ไร่ปีทีผ่านมา
ที่บริเวร ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนท้ายดง(ต้นแบบ) หมู่ 1 ต.ท้ายดง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ น.ส.ลักขณา พรหมเศรณี เกษตรอำเภอวังโป่ง พร้อมนักวิชาการ และปราชญ์ชาวบ้าน จัดอบรม ให้ความรู้กับเกษตรกรในพื้นที่ตำบลท้ายดง กว่า 30 คน ในการเพาะเลี้ยง แมลงหางหนีบ (หรือตัวห้ำ) ที่มีศักยภาพในการควบคุมแมลงศัตรูพืช กำจัดหนอนกระทู้ ในแปลงข้าวโพด โดยมี นางสาวฉัตรนภา เมืองแป้น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท้ายดง เปิดโครงการ ทั้งนี้ตัวแทนบริษัทอัครา รีซอรัสเซส จำกัดมหาชน ได้ นำนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ของโรงเรียนบ้านวังชะนาง เข้าศึกษาเรียนรู้ การเพาะเลี้ยงแมลงหางหนี หวังเพื่อปลูกฝังกระตุ้นจิตสำนึกให้ลดการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช กันตั้งแต่วัยเด็ก
แมลงหางหนีบ(หรือตัวห้ำ) เป็นแมลงขนาดเล็ก ลำตัวแบน และยาวรี ขนาดตั้งแต่ 4-15ม.ม แพนหางเป็นรูปคีม ใช้สำหรับจับเหยื่อ ป้องกันตัว สร้างรังและช่วยผสมพันธุ์ ชอบอยู่ในที่มืดและอับชื้น ค่าน้ำมันรถ เส้นใต้เศษซากพืช เปลือกไม้ “แมลงหางหนีบ”สามารถกินหนอนเป็นอาหาร วันละ 6-10 ตัว เหมาะในการกำจัด-ควบคุมแมลงศัตรูพืชด้วยชีววิธี ตัวห้ำตัดวงจรชีวิตแมลงศัตรูพืช หยุดการระบาดอย่างทันท่วงที
ด้านนายพิพัฒพงษ์ ปรารถนา อายุ 64 ปี อยู่บ้านเลขที่ 210 หมู่ 1 ต.ท้ายดง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูณณ์ ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวอย่าง ต.ท้ายดง กว่าว่า การเลี้ยงแมลงหางหนีบนั่นเลี้ยงง่ายโดยการเพียงนำแกลบดำตากแดด 2 วัน และพลิกกลับกองแกลบดำทุกวัน จากนั้นนำแกลบดำที่ตากแดดแล้วใส่ในใส่ใน กระละมัง ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 30-40 ซ.ม. แล้วฉีดพ่นน้ำให้ทั่วให้ความชื้น ต่อมาให้ใส่แมลงหางหนีบตัวเต็มวัยลงไป เพศเมีย 25 ตัว เพศผู้ 25 ตัว จากนั้นพอเพศเมียอายุ 50-60 วัน จะเริ่มวางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 30-60 ฟอง โดยให้อาหารแมวบดละเอียด 40 กรัมต่อกะละมัง สลับกับให้ไข่ผีเสื้อข้าวสาร 10 กรัม ให้เกิดความคุ้นเคย และให้ฉีดพ่นน้ำบนแกลบดำรักษาความชื้น เปลี่ยนอาหารทุก 3 วัน ป้องกันอาหารเน่าเสีย จากนั้น 60 วัน แมลงหางหนีบจะโตเต็มที่ ก็นำไป ในแปลงปลูกข้าวโพด แมลงหางหนีบ 1 กะละมัง จะมีแมลงหางหนีบ 240- 300 ตัว นำไปใส่ในแปลงข้าวโพดโดยวางเป็นกองๆละ 1 กำมือ ให้ทั่วๆพื้นที่ ไร่ข้าวโพดบนพื้น 2 ไร่ 2 งาน เท่านี้แมลงหางหนีบก็จะกำจัดหนอนกระทู้ได้ 30 วัน ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรได้จำนวนมาก โดยปีที่ผ่านมาตนได้ปลูกข้าวโพด 30 ไร่ ลดค่าสารเคมีไปได้เกือบ 5 หมื่นบาท
มนสิชา/ชัยกฤต คล้ายแก้ว เพชรบูรณ์