ลพบุรีเตรียมความพร้อมตกแต่งสถานที่ ต้อนรับเทศกาลตรุษจีนปีหนูทองอย่างยิ่งใหญ่ ประดับโคมไฟสีแดงหรือ หงเติงหลง นับพันดวง ควบคู่กับการรณรงค์ขอความร่วมมือ งดการจุดธูปเทียน เพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในช่วงเทศกาลตรุษจีน
สำหรับบรรยากาศการเตรียมความพร้อม ก่อนถึงเทศกาลสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน เพื่อต้อนรับเทศกาลตรุษจีน ปีหนูทอง ประจำปี 2563 ตามวัดและศาลเจ้าต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี เป็นไปอย่างคึกคัก โดยเฉพาะที่วัดเขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรงจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นวัดไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษชาวจีน ภายในวัดตลอดเส้นทาง ได้มีการปรับภูมิทัศน์ทำความสะอาดตกแต่งสถานที่ และประดับโคมสีแดงสด นับพันใบ ซึ่งโคมเหล่านี้ ถือเป็นสัญญาลักษณ์ ของโคมตรุษจีน หรือ ที่ชาวจีนเรียกกันว่า หงเติงหลง เพื่อรวมสืบสานประเพณีสำคัญในบรรยากาศมงคล ตามความเชื่อที่ว่า โคม นี้จะเป็นเครื่องชี้นำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แก่ผู้ที่พบเห็น และเป็นสัญลักษณ์แห่งสิริมงคลที่ชาวจีนนิยมแขวนประดับไว้ในช่วงที่มีพิธีการสำคัญ ๆ หรืองานเลี้ยงฉลอง โดนเฉพาะพิธีอันเป็นมงคลในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพื่อให้เกิดความเป็นสวยงาม ความเป็นสิริมงคล และสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะได้ช่วยนำพาสิ่งดีๆ เข้ามาในสถานที่นั้นๆ ได้อยู่อย่างร่มเย็นมีแต่ความสุข
สำหรับ เขาวงพระจันทร์ ถือแหล่งท่องเที่ยวและศาสนสถานอันโด่งดังของจังหวัดลพบุรี ซึ่งในช่วงเทศกาลตรุษจีนของทุกปี จะเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยเชื้อสายจีน ตลอดจนบุคคลทั่วไป ได้ขึ้นไปกรามไหว้ องค์เทพเจ้าต่างๆ ร่วมถึงการสักการะรอยพระพุทธบาท บนยอดเขา โดยการเดินเท้าขึ้นบันไดไปสู่ยอดเขา ประมาณ 3,790 ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 650 เมตร และถือเป็นครั้งแรก ที่ทางวัดเปิดให้ได้บูชาสักการ องค์พระพุทธโชค องค์ใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 45 เมตร สูง 75 เมตร ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างนาน 9 ปี พึ่งแล้วเสร็จ
โดยในปีนี้มีกำหนดเปิดขึ้นเขาวงพระจันทร์ ในวันที่ 25 มกราคม ซึ่งตรงกับวันเที่ยวของเทศกาลตรุษจีน ต่อเนื่องไปจนถึง วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 รวมเป็นเวลา 15 วัน 15 คืน ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินขึ้นเขาวงพระจันทร์กันได้ตลอด 24 ชม. โดยมีการประดับไฟสวยงามตลอดเส้นทาง
ทั้งนี้ ทางวัดยังมีการรณรงค์ ของความร่วมมือ งดการจุดธูปเทียน เพื่อช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในช่วงเทศกาลตรุษจีน อีกด้วย
ใจรัก วงศ์ใหญ่
สมชาย เกตุฉาย
ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ
จังหวัดลพบุรี