ที่เที่ยวชัยนาท อีกหนึ่งจังหวัดน่าเที่ยวที่ไม่ควรมองข้าม สามารถขับรถไปเที่ยวได้เองง่าย ๆ ถึงจะเป็นจังหวัดเล็ก ๆ แต่บอกเลยว่ามีที่เที่ยวเด็ดซ่อนอยู่เพียบ
ชัยนาท จังหวัดเล็ก ๆ ที่ใครหลายคนมองว่าเป็นจังหวัดทางผ่านเพื่อเดินทางต่อไปยังภาคเหนือ แต่ถ้าใครลองแวะมาเที่ยวอย่างตั้งใจดูสักครั้ง จะรู้เลยว่าชัยนาทเป็นอีกหนึ่งจังหวัดน่าเที่ยวอยู่ไม่น้อย บรรยากาศดี สงบ และผู้คนก็ยังใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย แถมเดินทางจากกรุงเทพฯ ได้แบบง่าย ๆ จะจัดทริปไปเที่ยวกับเพื่อน หรือไปกันแบบครอบครัว ก็สนุกไม่น้อยหน้าจังหวัดไหน แต่จะมีที่เที่ยวชัยนาท ที่ไหนน่าสนใจ เรามีมาบอกแล้ว วันนี้ได้มีโอกาส คณะนายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ได้พาเที่ยว ไปทั่วเมืองเลยทีเดียว
มาๆมาท่องเที่ยวกัน มาดูสถานที่ท่องเที่ยวกันแล้วมาเที่ยวกันให้ให้เยอะๆนะครับ
นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ได้เล่าประวัติความเป็นมามห้กับ ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี ได้ลงพื้นที่จังหวัดชัยนาท ไปชม วัตถุโบราณที่น่าท่องเที่ยวกัน และเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์มรดกทางพุทธศาสนาของโลก เลยทีเดียว โดยรับเกี่ยวกับท่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ เป็นไกด์กิตติศักดิ์นำเที่ยว ไปทั่วเมืองชัยนาทเลยทีเดียว
นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ไม่เล่า ประวัติความเป็นมา สถานที่เที่ยวให้ฟังตอนหนึ่งว่า ที่เที่ยวชัยนาท อีกหนึ่งจังหวัดน่าเที่ยวที่ไม่ควรมองข้าม สามารถขับรถไปเที่ยวได้เองง่าย ๆ ถึงจะเป็นจังหวัดเล็ก ๆ แต่บอกเลยว่ามีที่เที่ยวเด็ดซ่อนอยู่เพียบ
ชัยนาท จังหวัดเล็ก ๆ ที่ใครหลายคนมองว่าเป็นจังหวัดทางผ่านเพื่อเดินทางต่อไปยังภาคเหนือ แต่ถ้าใครลองแวะมาเที่ยวอย่างตั้งใจดูสักครั้ง จะรู้เลยว่าชัยนาทเป็นอีกหนึ่งจังหวัดน่าเที่ยวอยู่ไม่น้อย บรรยากาศดี สงบ และผู้คนก็ยังใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย แถมเดินทางจากกรุงเทพฯ ได้แบบง่าย ๆ จะจัดทริปไปเที่ยวกับเพื่อน หรือไปกันแบบครอบครัว ก็สนุกไม่น้อยหน้าจังหวัดไหน แต่จะมีที่เที่ยวชัยนาท ที่ไหนน่าสนใจ เรามีมาบอกแล้ว
ใครจะรู้ว่าดินแดนแห่งนี้เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ ทางด้านพุทธศาสนา
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท (นายรณภพ เหลืองไพโรจน์ ) บอกเล่าให้กับทีมเขาฟังว่า จังหวัดชัยนาทเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นมรดกทางพระพุทธศาสนา
วัดมหาธาตุเมืองสรรคบุรี
วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยตอนหักโค้งไปทางทิศตะวันออก สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.๑๘๙๗ ในรัชสมัยพระมหาธรรมราชาลิไล แห่งกรุงศรีอยุธยา และสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ แห่งกรุงศรีอยุธยา นับเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสรรคบุรีมาแต่อดีต ปัจจุบันก็ยังเป็นศูนย์รวมใจของชาวสรรคบุรีมีหลักฐานทางโบราณคดีว่า วัดนี้เป็นวัดกษัตริย์สร้าง
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีลายพระหัตถ์บันทึกไว้ตอนหนึ่งว่าวัดมหาธาตุตั้งอยู่ใจกลางผ่านคูเมืองทั้งสองด้าน….. วัดมหาธาตุนั้นตามฝีมือทำเป็นสองคราวหรือ๓ คราว ชั้นเดิมทีเดียวเป็นอย่างเมืองละโว้ ชั้น ๒ เป็นเมืองลพบุรี เป็นการทำเพิ่มเติมซ้ำๆ กันลงไป….. สร้างวิหารใหญ่เห็นจะเป็นครั้งเจ้ายี่พระยา ด้วยพระธาตุนั้นก็เป็นรูปสี่เหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้นๆ ที่จะเป็นยอดเล็กยอดน้อยนั้นไม่ใช่พระปรางค์
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
พระปรางค์ทรงยอดกลีบมะเฟือง สร้างด้วยอิฐถือปูนสูงประมาณ ๒๐ เมตร อยู่ทางด้านซ้ายของพระวิหาร ลักษณะของพระปรางค์น่าจะได้รับอิทธิพลเช่นเดียวกับปรางค์๕ กลีบมะเฟืองศิลปแบบลพบุรี ดังเช่นวัดมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี แต่ลักษณะกลีบมะเฟืองของพระปรางค์วัดมหาธาตุเมืองสรรคบุรีมีรูปชะลูดกว่า ฐานพระปรางค์เป็นรูปแปดเหลี่ยม เรือนธาตุมีซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ ภายในซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปแบบอยุธยา ยอดพระปรางค์ส่วนบนมีภาพสลักเป็นภาพเทพน
พระอุโบสถ แบ่งออกเป็น ๗ ห้อง มีพาไลด้านหน้าและด้านหลัง มีพระพุทธรูปนั่งสององค์ ก่อด้วยอิฐถือปูน ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ หลังคาแบบซ้อนกันสองชั้น สันนิษฐานว่า คงจะมีการซ่อมแซมในยุคหลัง มีหน้าต่างด้านหน้าคล้ายมุขเด็จดังเช่น พระที่นั่งจันทรพิศาล ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ที่ลพบุรี มุขของพระอุโบสถ อาจใช้ทำประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองในสมัยนั้นเพราะบริเวณหน้าวัดชาวบ้านยังคงเรียกว่าหน้าพระลาน จากการซ่อมแซมขึ้นใหม่ทำให้รูปลักษณ์เปลี่ยนไปมีลักษณะไม่เหมือนเดิม
พระเจดีย์ องค์พระธาตุเจดีย์ก่ออิฐถือปูนฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส ตั้งอยู่ในกำแพงสี่เหลี่ยม อยู่ทางด้านหลังพระอุโบสถ ส่วนใหญ่พังทลายลงมากจนไม่ทราบลักษณะเดิมว่าเป็นอย่างไรรูปทรงที่ปรากฏอยู่เป็นทรงสี่เหลี่ยมทุกด้าน มีร่องรอยภาพปูนปั้น และพระพุทธรูปประดับอยู่มีผู้สันนิษฐานว่า น่าจะมีลักษณะเช่นเดียวกับเจดีย์วัดพระแก้ว แต่ฐานที่มุมวิจิตรพิศดารกว่าคล้ายกับฐานเจดีย์ขุนเมืองใจที่อยุธยา
พระวิหาร อยู่ในสภาพชำรุด ไม่มีหลังคา คงเหลือแต่เสาด้านหน้าเป็นเหลี่ยม บัวหัวเสาเป็นแบบจงกลเสาวิหารเป็นรูปแปดเหลี่ยม แบบเสาวิหารสมัยอยุธยา มีบัวหัวเสาเป็นบัวกลม มีทางขึ้นด้านหน้าทางเดียวด้านหลังพระวิหารมีทางเดินเชื่อมต่อกับระเบียงคด ออกไปสู่ลานพระธาตุได้ ลักษณะวิหารเป็นสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนต้นพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น เป็นลักษณะช่างสกุลเมืองสรรค์ซึ่งพบได้ทั่วไปในแถบนี้
หลวงพ่อหลักเมือง หรือหลวงพ่อหมอ เป็นพระพุทธรูปศิลาปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในวิหารเล็ก ซึ่งอยู่ติดกับวิหารเก่าเป็นที่เคารพสัการะของชาวเมืองสรรคบุรีมาก
เสาหินหลักเมือง อยู่ทางด้านหลังของหลวงพ่อหลักเมือง ระหว่างหลวงพ่อหลักเมืองกับ กำแพงพระวิหาร
วัดพระแก้ว
วัดพระแก้วตั้งอยู่ที่บ้านบางน้ำพระ ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี เป็นวัดที่สร้างสมัยเดียวกันกับวัดมหาธาตุสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๙๐๐ วัดพระแก้วเป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านบางพระ และท้องที่ใกล้เคียงเนื่องจากมีพระพุทธรูปสำคัญคือ หลวงพ่อฉาย และหลวงพ่อลอย และยังมีเจดีย์ที่มีความงามมากแห่งหนึ่งประดิษฐานอยู่ณ วัดนี้ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘
เจดีย์ เป็นเจดีย์ที่มีความงามที่สุดแห่งหนึ่งของไทย มีบางท่านถึงกับยกย่องให้เป็นราชินีแห่งเจดีย์ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะเป็นเจดีย์แบบละโว้ทรงสูง ผสมกับเจดีย์แบบทวาราวดีตอนปลาย ใช้เทคนิคการสร้างแบบสอปูนเป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมตั้งอยู่บนฐานไพที ฐานเขียง และฐานเรือนธาตุแบบลดท้องไม้มีพระพุทธรูปปูนปั้นแบบนูนสูงประดับทั้งสี่ด้าน มีเจดีย์ต่อจากฐานเรือนธาตุตอนบนทั้งสี่มุมต่อจากเรือนธาตุเป็นฐานสูงแปดเหลี่ยม มีซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ ต่อขึ้นไปเป็นบัวลูกแก้วและบัวถลาจนถึงองค์ระฆัง ลักษณะของเจดีย์คล้ายเจดีย์สุโขทัย อาจจะได้รับอิทธิพลร่วมระหว่างศิลปะสุโขทัยกับศรีวิชัยบนฐานชั้นสามในซุ้มตรงกลางเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางถวายเนตร มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางประทานอภัยอยู่สองข้างลักษณะของพระพุทธรูปน่าจะเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น เพราะมีเค้าโครงศิลปะสุโขทัยผสมที่เห็นได้ชัดถัดจากแท่งสี่เหลี่ยมทรงสูงขึ้นไป เป็นแท่งแปดเหลี่ยม มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปปางถวายเนตรทั้งสี่ด้านเหนือขึ้นไปเป็นย่อเหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง ต่อจากองค์ระฆังเป็นปล้องไฉน ๑๒ ปล้องรวมความสูง ๓๗ เมตร สันนิษฐานว่า สร้างราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๑๙ ดูตามลักษณะที่ก่อสร้างน่าจะได้มีการแฝงคติธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาเอาไว้ด้วย หลายประการคือ ฐานสี่เหลี่ยมหมายถึงอริยสัจสี่ฐานสูงแปดเหลี่ยมหมายถึงอริยมรรคมีองค์แปด ปล้องไฉน ๑๒ ปล้อง หมายถึง ปฏิจจสมุปบาท๑๒ ข้อ ที่เกี่ยวพันกันเหมือนลูกโซ่ ยอดเจดีย์หมายถึงพระนิพพาน
หลวงพ่อฉาย เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่เคารพบูชาของชาวบ้านบางน้ำพระ เป็นพระพุทธรูปศิลาแลงปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ในวิหารด้านหน้าพระเจดีย์วัดพระแก้ว สันนิษฐานว่า มีอายุประมาณ๘๐๐ ปีมาแล้ว ด้านหลังองค์พระมีทับหลัง แกะสลักเป็นรูปช้างนอนหงายอยู่บนแท่นส่วนบนสุดเป็นรูปพระอินทร์ หรือพระศิวะกำลังหลั่งน้ำมนต์ มีทางน้ำมนต์ไหลมาถึงตัวช้างที่นอนหงายอยู่บนแท่น
หลวงพ่อลอย เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น หน้าตักกว้าง ๒.๐๐ เมตร เดิมอยู่ที่วัดทัพย่าน ตำบลเที่ยงแท้ อำเภอสรรคบุรี ซึ่งเป็นวัดร้าง ชาวบ้านบางน้ำพระจึงได้ร่วมกันอัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดพระแก้วไม่มีประวัติการสร้าง
วัดพระยาแพรก
วัดพระยาแพรกเป็นวัดร้างตั้งอยู่ติดกับวัดมหาธาตุ มีโบราณสถานที่สำคัญคือเจดีย์ก่ออิฐถือปูนรูปแปดเหลี่ยมทรงสูง สมัยอยุธยาตอนต้น กรมศิลปากรได้บูรณะปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เป็นเจดีย์ที่มีความงดงามมากองค์หนึ่ง กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปีพ.ศ.๒๔๗๘
วัดโตนดหลาย
วัดโตนดหลายตั้งอยู่ในเขตตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี อยู่ห่างจากวัดสองพี่น้องประมาณ๓๐๐ เมตร
เจดีย์ เป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัว เป็นศิลปะแบบสุโขทัย เจดีย์มีลักษณะทรงสูง ย่อมุมคล้ายกับพระปรางค์ตั้งอยู่บนฐานซ้อนเรียงกันเป็นชั้น พ้นจากฐานเป็นหน้ากระดานฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับแท่งสี่เหลี่ยมย่อมุมตรงกลาง ส่วนบนเป็นรูปกลมคล้ายระฆังกลม ส่วนองค์ระฆังทำเป็นกระพุ่มกลุ่มมีลักษณะคล้ายดอกบัวหลวง ส่วนล่างรอบกระพุ่มมีรูปกลีบขนุนของปรางค์ประดับอยู่ด้วย ด้านหน้าของเจดีย์ทางด้านทิศตะวันออกมีแนวฐานวิหารยื่นยาวออกไปพบรอยพระพุทธบาทขนาดใหญ่ทำด้วยปูนปั้น ทางทิศใต้ของวิหารมีเจดีย์ก่อด้วยอิฐเรียงรายอยู่หลายแห่ง
วัดสองพี่น้อง
วัดสองพี่น้องตั้งอยู่ที่บ้านแพรกศรีราชา ตำบลบ้านแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรีสันนิษฐานว่า สร้างสมัยอยุธยา กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปีพ.ศ.๒๔๗๘
ภายในวัดมีพระปรางค์สมัยลพบุรีอยู่ ๒ องค์ องค์ใหญ่อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีลายปูนปั้นประดับงดงามพระปรางค์องค์เล็กอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีสภาพชำรุดมากจนไม่สามารถตรวจพบรายละเอียดต่างๆ ได้ พระปรางค์ทั้ง ๒ องค์นี้ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปีพ.ศ.๒๔๗๘ พร้อมกับวัด
วัดโพธาราม
วัดโพธารามตั้งอยู่ที่บ้านช่อง ตำบลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี เดิมเรียกว่าวัดบ้านช่องสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนหรือในระหว่างที่เจ้าพระยาสร้างเมืองสรรคบุรี ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์เมื่อประชาชนมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น ก็ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่
สถาปัตยกรรมสำคัญของวัดนี้ได้แก่ วิหาร เจดีย์ และอุโบสถ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสภาพทรุดโทรม
วิหาร อยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมาก ขนาดของอิฐที่ใช้ก่อสร้างวิหารมีขนาดเท่ากันกับอิฐที่วัดมหาธาตุ
เจดีย์ อยู่ในสภาพปรักหักพังเหลือเป็นกองอิฐขนาดใหญ่
พระอุโบสถ สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยช่างชาวจีน ลักษณะโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมเป็นแบบจีน บริเวณประตูทางเข้าเป็นภาพวาดสัตว์ต่าง ๆ เช่น ปลา กุ้ง ไก่ และรูปคนจีน หลังคาประดับด้วยสิงห์โตปูนปั้น พระประธานในอุโบสถเป็นศิลปะสมัยอู่ทอง และภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับสภาพสังคมในยุคนั้นผนังด้านนอกอุโบสถ ประดับด้วยเครื่องเคลือบจีน
วิหารทอง
วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
วัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ซึ่งมี “หลวงปู่ศุข” พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวชัยนาท และประชาชนทั่วไป มีไม้ตะพดสีทองที่หลวงปู่ศุขใช้รักษาชาวบ้านซึ่งเป็นของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ปัจจุบันไม้ตะพดถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี และมีภาพเขียน ฝีพระหัตถ์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์พร้อมข้าราชบริพารร่วมเขียนบนผนังอุโบสถ
ใจรัก วงศ์ใหญ่ ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ