เวียตนามจัดหาระบบจรวดต่อสู้อากาศยานระยะใกล้ SPYDER-SR จากอิสราเอล จรวดต่อสู้อากาศยานระยะกลาง S-125 Pechora-2T จากรัสเซีย และจรวดพื้น-สู่-พื้นนำวิถีระยะไกล EXTRA (Guided Rocket Anti-Landing) จากอิสราเอล
ระบบจรวดต่อสู้อากาศยานระยะใกล้ SPYDER-SR จะมาพร้อมกับ ELM-2288/ER air defense radar และ 36D6 radar system สามารถติดตั้งได้ทั้งจรวดนำวิถีอินฟาเรด Python และจรวดนำวิถีเรดาร์ Derby ซึ่งคาดว่าเวียตนามจะจัดหาทั้ง 2 ชนิดมาใช้งานแต่ในช่วงแรกอาจจะเป็นแค่จรวด Python
ระบบจรวดต่อสู้อากาศยานระยะกลาง S-125 Pechora-2T หรือ SA-3 Goa เป็นจรวดต่อสู้อากาศยานรุ่นเก่าเทคโนโลยี 1960 คือนำวิถีด้วยระบบคลื่นวิทยุ มีระยะยิงไกลสุดประมาณ 35 กิโลเมตร วิทยุ จรวดทั้ง 2 ระบบสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดีโดยให้ SPYDER-SR ดูแลในพื้นที่ระดับต่ำและ S-125 Pechora-2T ดูแลท้องฟ้าระดับสุงกว่าตามความถนัดของเขา โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญอยู่ว่า เป้าหมายดังกล่าวจะเล็ดลอดมาจากระบบจรวดต่อสู้อากาศยานระยะไกล S-300PMU1 และเครื่องบินขับไล่โจมตี Su-30MK2 ให้ได้เสียก่อน จรวดต่อสู้อากาศยานรุ่นใหม่ทั้ง 2 ระบบจะช่วยเสริมเครือข่ายการป้องกันภัยทางอากาศของเวียตนามให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
จรวดพื้น-สู่-พื้นนำวิถีระยะไกล EXTRA (Guided Rocket Anti-Landing) ล๊อตแรก 20 นัดถูกส่งมอบให้กับเวียตนามแล้ว อาวุธจากอิสราเอลตัวนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมมีหลายประเทศจัดหาไปแล้วและอีกหลายประเทศมองตามเป็นมัน จรวดนำวิถี (Guided Rocket) ที่ไม่ใช่อาวุธปล่อยนำวิถี (Guided Missile) ระยะยิงไกลสุด 150 กิโลเมตร มีขนาดหัวรบ 120 กิโลกรัมนำวิถีด้วยระบบ GPS และทำงานร่วมกับอากาศยานไร้คนขับได้ แต่ใช้แท่นยิง 2 นัดขนาดกระทัดรัดราคาไม่แพง เทียบกับของอาเซอร์ไบจันที่เป็นแท่นยิง 8 นัดแล้วฝ่ายหลังดูแน่นกว่าดูกว่าสยองเดชกว่าพอสมควร