สายการบินสัญชาติไทย ในอดีต 29 ปีรำลึก จากฟ้าสู่ดิน ทำให้ทุกคนถูกลืมไปแล้วว่า สายการบินสัญชาติไทยนี้ ปิดตำนานไปแล้ว แต่คนไทยลืมไปว่า สายการบินแห่งนี้เป็นของคนไทยแท้ไม่มีสัญชาติถือหุ้น แล้วไปไม่รอดทนแบบ ภาวะเศรษฐกิจ ไม่ไหวจึงปิดตำนาน สาย การบินพาณิชย์สัญชาติไทยไปอีก 1 แห่ง วันนี้ ขอนำหยิบยก มาเล่าสู่กันฟัง ว่าสายการบินสัญชาติไทย บริษัทแห่งนี้เป็นของใครตามผมมา ท่านจะได้รู้เลยว่าเป็นของใครใครอยู่ ใครเป็นเจ้าของประจักษ์ตัวจริงกันแน่ตามมา
พีบีแอร์ (อังกฤษ: PBair) เป็นสายการบินสัญชาติไทยในอดีต ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 และปิดกิจการในปี พ.ศ. 2552 ระยะเวลาการ จะเปิดกิจการ สายการบินพาณิชย์สัญชาติไทย เกือบ 29 ปี และแล้วก็ไปสู่ดวงดาวไม่ไหวเลยปิดกิจการ จนถึงปัจจุบันนี้แต่คนไทยลืมไปแล้วว่ามีมีสายการบินพาณิชย์สัญชาติไทยแห่งนี้มีอยู่หรือ ปิดตำนานไปอีก 1 แห่งและเป็นเรื่องเล่าให้กับลูกหลานฟันสืบต่อไปว่ามีบริษัทแห่งนี้มีอยู่ในเมืองไทย
พีบีแอร์
IATA
9Q ICAO
PBA รหัสเรียก
PEEBEE AIR
ก่อตั้ง
พ.ศ. 2533 ปิดกิจการ2552
ท่าหลัก
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ขนาดฝูงบิน
7
จุดหมาย
9 และอีก 10 กับการบินไทย
บริษัทแม่
บริษัท พี บี แอร์ จำกัด โดย บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด (PBAir Co., Ltd.)
สำนักงานใหญ่
กรุงเทพ ประเทศไทย
ก่อตั้งขึ้นโดย ดร.ปิยะ ภิรมย์ภักดี เพื่อให้บริการการเดินทางแก่ผู้บริหาร ซึ่งต้องการความคล่องตัว สะดวกสบาย และเป็นส่วนตัวในการบินสู่สาขาต่าง ๆ ของบริษัท บุญรอด ทั้งใน และนอกประเทศ เมื่อความสะดวกที่ไร้ขีดจำกัดได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น พีบีแอร์จึงได้ดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศต่อกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้สัมผัสกับบริการเช่าเหมาลำ และส่งเสริมธุรกิจการบินในประเทศไทยให้มีทางเลือกในการเดินทางแก่ประชาชนมากขึ้น เมื่ออากาศยานใหม่เริ่มเข้าประจำฝูงบิน ความคิดที่จะมีส่วนร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวในประเทศไทยจึงบังเกิดขึ้น ส่งผลให้พีบีแอร์เริ่มเปิดเส้นทางบินสู่ชุมพรในลักษณะกึ่งประจำ และใส่ใจความร่วมมืออย่างเต็มที่กับทุกกิจกรรม การบินจนได้รับความไว้วางใจให้เป็นสายการบินที่รัฐกำหนด (Designated) ให้ทำการบินในเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจตอนใต้ ร่วมกับประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย (IMT-GT) ต่อมาได้รับอนุมัติเพิ่มเติมสิทธิการประกอบธุรกิจการบินจากกระทรวงคมนาคมให้เป็นแบบประจำมีกำหนด เพื่อสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานที่ได้เปิดเส้นทางบินสู่จังหวัดชุมพร จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมทั้งการเปิดตลาดกระบี่–ภูเก็ต, กระบี่–สิงคโปร์ และเชื่อมเส้นทางขอนแก่น–เชียงใหม่ ในเบื้องต้นตามที่ได้รับมอบ เพื่อยืนยันความประสงค์ที่จะเสนอบริการการบินที่แตกต่าง แต่เน้นความสะดวกและปลอดภัยสูงสุด
ในอดีตมีการร่วมบินกับการบินไทยในเส้นทางการบินบางเส้นด้วย
พีบีแอร์จดทะเบียนเลิกบินเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และได้ปิดบริการแล้วเนื่องจากขาดทุน
สัญลักษณ์ของสายการบิน
พีบีแอร์ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปตัวสิงห์ (สัญลักษณ์ของเครื่องดื่มตราสิงห์) เอทีอาร์ 72-500 2 ลำ (เช่ามาจากบางกอกแอร์เวย์)
Embraer ERJ 145 LR 2 ลำ
Dornier 328 1 ลำ
Fokker F28 3 ลำ
โบอิง 767 1 ลำ
เส้นทางการบินในอดีต แก้ไข
ปัจจุบัน พีบีแอร์จดทะเบียนเลิกบินเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เดิมที่เปิดให้บริการเส้นทางบินในประเทศทั้งหมด 8 เส้นทางดังนี้
ไทย
กรุงเทพมหานคร – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ฐานการบินหลัก)
บุรีรัมย์ – ท่าอากาศยานบุรีรัมย์
ลำปาง – ท่าอากาศยานลำปาง
นครพนม – ท่าอากาศยานนครพนม
น่าน – ท่าอากาศยานน่าน
ร้อยเอ็ด – ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด
สกลนคร – ท่าอากาศยานสกลนคร
แม่สอด – ท่าอากาศยานแม่สอด
สุรินทร์ – ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี
เที่ยวบินร่วม (Code Share) กับการบินไทย ได้แก่
เชียงราย – ท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย
เชียงใหม่ – ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
แม่ฮ่องสอน – ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน
พิษณุโลก – ท่าอากาศยานพิษณุโลก
อุดรธานี – ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
ขอนแก่น – ท่าอากาศยานขอนแก่น
อุบลราชธานี – ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
สุราษฎร์ธานี – ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี
เกาะสมุย – ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย
กระบี่ – ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่
ภูเก็ต – ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต
หาดใหญ่ – ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่
เวียดนาม
ดานัง – ท่าอากาศยานนานาชาติดานัง
เราควรรู้ว่า สายการบินสัญชาติไทยบริษัทแห่งนี้. จะเล่าขานให้ลูกหลานฟังว่ามีสายการบินสัญชาติไทยเป็นของคนไทยอยู่ในเมืองไทยจริงท่านจะเล่า ให้กับลูกหลานฟังว่านี่คือบริษัทของคนไทยแท้ไม่มีผสมกับต่างชาติใดใช้ทุนคนไทยโดยแท้และแล้วก็ไปไม่รอดและแล้วจะไม่ไปถึงดวงดาวแต่เราภูมิใจว่าเป็นของคนไทยโดยแท้จริง. เราจะจารึกเอาไว้ว่า มีสายการบินพาณิชย์ สายการบิน สัญชาติไทยเป็นของคนไทย เงินทุนของไทย เขาไปไม่รอดเพราะแบกภาระเศรษฐกิจไม่ไหวเลยปิดตำนานสายการบินแห่งนี้ไปตลอดกาล
ธเนศ วงศ์ใหญ่
ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี