ลาวเป็นประเทศหนึ่งที่สืบเชื้อสายบรรพบุรุษเดียวกับชาวไทย แต่ลาวประกอบด้วยชมกลุ่มน้อยมากมายหลายเผ่า ลาวแท้ๆ มีเพียง 50 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ริมน้ำโขงบนที่ราบ ส่วนชาวเขานิยมอยู่บนเทือกเขา
• ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ 4,000 – 5,000 ปีก่อน กลุ่มชนที่พูดภาษาไตได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศลาวและที่ราบสูงในภาคอีสาน รวมถึงพวกไท- กะได ม้ง-เมี่ยนที่เป็นบรรพบุรุษของชาวลาวลุ่ม และพวกม้ง-เย้าที่อพยพจากตอนใต้ของประเทศจีน แรกเริ่มกลุ่มชนเหล่านี้ไม่มีการตั้งหลักแหล่งที่แน่นอน ต่อมาเมื่อชนเผ่าต่างๆ ทั้งไท พม่า และเวียดนามอพยพลงมาในเขตเทือกเขาและหุบเขาของดินแดนเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติมอญ-เขมร ความจำเป็นในการสร้างบ้านแปงเมืองก็เริ่มมีขึ้นจนพัฒนาต่อมาเป็นเมืองเกษตรกรรม และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหุบเขาและที่ราบลุ่มภายใต้อำนาจของอาณาจักรเขมร
• ต่อมาในปี พ.ศ.1896 พระเจ้าฟ้างุ้มทรงทำสงครามตีเอานครเวียงจันทน์หลวงพระบาง หัวเมืองพวนทั้งหมด ตลอดจนหัวเมืองอีกหลายแห่งในที่ราบสูงโคราชเข้ารวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ภายใต้การช่วยเหลือของกษัตริย์เขมร ก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างขึ้นบนดินแดนที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงกับเทือกเขาอันหนำ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงดง-เชียงทอง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน หลังจากสถาปนาเมืองเชียงดง-เชียงทอง แล้ว พระเจ้าฟ้างุ้มทรงรับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ (นิการเถรวาท) จากราชสำนักเขมรมาเป็นศาสนาประจำชาติ และได้อัญเชิญพระบาง เป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหลจากราชสำนักเขมรมายังล้านช้าง เจ้าฟ้างุ้มทรงเปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองหลวงพระบาง”
• เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ พระยาสามแสนไทไตรภูวนาถ โอรสของพระเจ้าฟ้างุ้มได้ขึ้นครองราชย์ต่อ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตำต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและเกิดกบฏต่างๆ นานนับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระโพธสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์ และรวบรวมแผ่นดินขึ้นใหม่ให้เป็นปึกแผ่น และให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ เพื่อให้ไกลจากการรุกรานของสยาม และสร้างความเจริญให้กับอาณาจักรล้านช้างเป็นอย่างมากและทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงโปรดให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระราชโอรสไปครองอาณาจักรล้านนา เพื่อเป็นการคานอำนาจพม่า ครั้นเมื่อพระเจ้าโพธิสารราชเจ้าเสด็จสวรรคต พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับมาล้านช้าง และทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงใหม่ไปยังเวียงจันทน์ ในรัชสมัยของพระองค์พระพุทธศาสนาทรงมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ทรงสร้างวัดพระธาตุหลวง หรือที่เรียกว่า “พระธาตุเจดีย์โลกจุฬามณี” และสร้างวัดพระแก้วขึ้นเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกต
• หลังแผ่นดินพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช อาณาจักรล้านช้างมีกษัตริย์ปกครองสิบต่อกันมาหลายรัชกาล เจริญสูงสุดในรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ถือว่าเป็นยุคทองแห่งอาณาจักรล้านช้าง พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรมและเป็นที่นับถือของประชาชน หลังสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชสวรรคตแล้ว ล้านช้างแตกออกเป็น 3 อาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ โดยตกอยู่ภายใต้ของประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งจีน เวียตนาม และสยาม กองทัพสยามพิชิตหัวเมืองลาวตอนเหนือลงได้ จึงได้ผนวกหลวงพระบางเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน ราชวงศ์เหวียนของเวียตนามแผ่อำนาจยึดครองลาวทางตอนกลางของแม่น้ำโขงรอบๆ นครเวียงจันทน์ จนถึง พ.ศ. 2322 กองทัพสยามเข้ายึดครองแผ่นดินล้านช้างที่แตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักรได้ทั้งหมด ครั้นถึงปี พ.ศ. 2365 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ทรงวางแผนก่อกบฏเพื่อกอบกู้เอกราช แต่ไม่สำเร็จถูกตัดสินโทษประหารชีวิต กองทัพสยามในรัชกาลที่ 3 ยกมาตีนครเวียงจันทน์ได้รื้อทำลายกำแพงเมือง เอาไฟเผาราบทั้งเมือง ทรัพย์สินถูกปล้นสดม ผู้คนถูกกวาดต้อน วัดในนครเวียงจันทน์เหลืออยู่เพียงวัดเดียวที่ไม่ถูกไฟไหม้ คือ วัดสีสะเกด อาจมีสาเหตุสำคัญจากสถาปัตยกรรมของวัดสีสะเกดแห่งนี้สร้างตามแบบอย่างของสถาปัตยกรรมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
• ต่อมาในปี พ.ศ. 2428 พวกจีนฮ่อจากมณฑลยูนนานยกทัพมารุกรานลาวและตีเมืองต่างๆ ไล่จากทางตอนเหนือไล่มาถึงนครเวียงจันทน์ตอนใต้ รัชกาลที่ 5 ทรงแต่งตั้งให้กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมเป็นข้าหลวงใหญ่มาประจำอยู่หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ และยกกองทัพข้ามแม่น้ำโขงมาตีฮ่อที่เวียงจันทน์ พวกจีนฮ่อพ่ายแพ้หนีขึ้นไปเชียงขวาง ไทยตามตีจนถึงเมืองเชียงขวาง จนพวกฮ่อแตกพ่ายไปหมด จนถึงปี พ.ศ.2436 ไทยต้องเสียดินแดนแถบฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส หลังจากที่ได้ปกครองลาวมาถึง 114 ปี
• เมื่อมหาอำนาจตะวันตกเริ่มแผ่นอิทธิพลเข้าสู่อินโดจีน ฝรั่งเศสได้ใช้สนธิที่ไม่เป็นธรรมบีบสยามให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงทั้งหมดให้กับตน (ประเทศลาวในปัจจุบัน) ฝรั่งเศสปกครองลาวแต่ละแขวงโดยมีคนฝรั่งเศสเป็นเจ้าแขวงหรือข้าหลวง คอยควบคุมเจ้าเมืองที่เป็นคนลาวอีกต่อหนึ่ง ซึ่งต้องเก็บส่วยตัวเลขจากชายฉกรรจ์ให้ข้าหลวงฝรั่งเศส ตลอดเวลาที่ลาวตกเป็นเมืองขึ้นนั้นฝรั่งเศสไม่รักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยรื้อสร้างเป็นถนนไม่ได้สนใจกับประเทศลาวเท่าไรนัก เพราะถือว่าเป็นดินแดนบ้านป่าล้าหลังไม่มีค่าในเชิงเศรษฐกิจ
• ต่อมาในสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันนีมีชัยเหนือประเทศฝรั่งเศสและก่อตั้งคณะรัฐบาลขึ้นที่เมืองวิซี คณะข้าหลวงฝรั่งเศสในอินโดจีนให้การหนุนหลัง รัฐบาลวิซี และตกลงเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ครั้นถึงปี พ.ศ.2484 รัฐบาลใต้ภายใต้การนำของพลตรีหลวงพิบูลสงครามก่อเริ่มดำเนินการต่อต้านอำนาจของฝรั่งเศสที่เริ่มเสื่อมถอย ด้วยการยึดแขวงไชยบุรีและจำปาศักดิ์กลับคืนมา ญี่ปุ่นยุให้ลาวประกาศเอกราช แต่กองทัพฝรั่งเศสก็ย้อนกลับคืนมาอีกครั้งหลังสงครามยุติได้ไม่นาน ลาวหันมาปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีรัฐธรรมเป็นกฎหมายสูงสุดภายใต้การควบคุมดูแลของฝรั่งเศส
• พ.ศ. 2492 สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรฯ ขบวนการลาวอิสระล่มสลาย แนวรักร่วมชาติได้พัฒนาเป็นขบวนการคอมมิวนิสต์ประเทศลาว ในเวลาต่อมาโดยได้รับการสนับสนุนจาโฮจิมินห์และพรรคคอมมิวนิสต์ของเวียตนาม
• พ.ศ.2495 ลาวในหัวเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มก่อการจลาจลต่อต้านการปกครองของฝรั่งเศสภายใต้การสนับสนุนจากรัฐบาลกรุงฮานอย
เมื่อฝรั่งเศสแพ้สงครามที่ค่ายเดียนเบียนฟู ลาวจึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ฝรั่งเศสถอนกำลังออกจากประเทศลาว ซึ่งแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสนับสนุนระบบกษัตริย์ในนครเวียงจันทน์ (ฝ่ายขวา) กับฝ่ายขบวนการประเทศลาว (ฝ่ายซ้าย)
• พ.ศ. 2498 ลาวได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกขององคืกรสหประชาชาติ
• พ.ศ. 2500 เจ้าสุวรรณภูมาขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำรัฐบาลผสมในนครเวียงจันทน์
3 ปีต่อมา เวียงจันทน์เริ่มสั่นคลอนเพราะความขัดแย้งระหว่างกลุ่มก่อรัฐประหารและกลุ่มต่อต้านการทำรัฐประหาร ฝ่ายขบวนการประเทศลาวก่อการจลาจลขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออก
• พ.ศ. 2506 รัฐบาลคอมมิวนิสต์เวียตนามหันมาใช้เส้นทางโฮจิมินห์ในภาคตะวันออกของลาว เป็นเส้นทางหลักในการส่งกำลังพลไปปราบปรามพวกต่อต้านคอมมิวนิสต์ในเวียตนามใต้ กองกำลังอเมริกันเริ่มเข้ามาปฏิบัติการลับในลาว พ.ศ. 2516 สหรัฐอเมริการถอนตัวออกจากสงครามเวียตนาม “การทำสงครามหลังฉาก” ในประเทศลาวจึงต้องเลิกราไปด้วย
• พ.ศ. 2518 หลังจากรัฐบาลคอมมิวนิสต์มีชัยเหนือเวียตนามทั้งประเทศได้ไม่นาน โดยยึดกรุงพนมเปญเป็นแห่งแรก ตามมาได้ไซ่ง่อน ขบวนการประเทศลาวยึดอำนาจได้ทั้งหมดในเดือนธันวาคม เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนาถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ ตามมาด้วยการสถาปนาประเทศใหม่ชื่อว่า “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” หรือ สปป.ลาว เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518
• ระยะ 5 ปี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ลาวใช้นโยบายคอมมิวนิสต์ปกครองอย่างเข้มงวด ควบคุมพุทธศาสนา ตัดสัมพันธ์กับประเทศไทย ปราบปรามชนกลุ่มน้อย ราษฎรหลายหมื่นคนถูกจับ ส่งผลให้ปัญญาชนและชนชั้นกลางจำนวนมากหลบหนีออกนอกประเทศ เจ้าสว่างวัฒนาและพระญาติวงศ์สิ้นพระชนม์อยู่ในค่ายกักกัน ชาวบ้านยากจนลง
• พ.ศ. 2535 นายไกสอน พรหมวิหาร ประธานประเทศผู้เชื่อมั่นในระบอบคอมมิวนิสต์ถึงแก่อสัญกรรม นายหนูฮัก พูมสะหวัน ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน การจำกัดเสรีภาพค่อยๆ ถูกยกเลิกไป ชาวลาวที่อพยพไปอยู่ต่างประเทศได้รับการเชื้อเชิญให้กลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน ลาวเริ่มเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว และฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศไทย
• พ.ศ. 2537 มีพิธีเปิด “สะพานมิตรภาพ” ข้ามแม่น้ำโขงเชื่อมลาวไทยเข้าด้วยกัน ส่งผลให้ไทยมีอิทธิพลต่อลาวมากขึ้น ทั้งในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ และการที่ประธานหนูฮัก พูมสะหวัน เดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการและได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ การปฏิรูปเหล่านี้ทำให้ลาวได้รับการยอมรับเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ. 2540
• พ.ศ. 2548 ลาวครบรอบ 30 ปี การสถาปนาประเทศใหม่เป็น สปป.ลาว และในปีเดียวกันนี้เอง สะพานมิตรภาพไทย – ลาว ก็ได้เปิดใช้อีกเป็นแห่งที่สองที่จังหวัดเลย
เที่ยวเมืองลาว วัดเชียงทอง หลวงพระบาง “อัญมณีแห่งสถาปัตยกรรมสกุลช่างล้านช้าง”
วันนี้ ได้มีไกด์พิเศษสาวสวยจากชาว เวียงจันทน์ หรือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้สละเวลาอันมีค่าเป็นไกด์ให้ กับ สำนักข่าวเดลิซันเดย์ ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี นำเรา ท่องเที่ยว ทั่วเมืองเวียงจันทน์เลยทีเดียว “นางสาวแพงพรรณ มงคลวิไล” และพาเราไปร่วม พิธีตักบาตร ข้าวเหนียวหลวงพระบาง เป็นเทศกาลและประเพณีหลวงพระบาง เป็นประเพณี ทรงคุณค่า ไม่มีที่ไหนในโลกนี้ที่ได้อนุรักษ์ประเพณีเอาไว้อย่างสมบูรณ์
นางสาวแพงพรรณ มงคลวิไล ได้เล่าให้กับทีมข่าวฟังว่า เทศกาลและประเพณี
ตักบาตรข้าวเหนียวหลวงพระบาง ชาวต่างชาติหลายคนมาเที่ยวหลวงพระบางเพื่อชมภาพการใส่บาตรของชาวบ้านในยามเช้าตรู่ ขณะที่พระสงฆ์หลายร้อยรูปเดินแถวเรียงรายไปทั่วทุกซอกถนนในเมือง โดยมีชาวบ้านแทบทุกบ้านเฝ้าเตรียมใส่บาตรกัน
ในฐานะที่ชาวไทยเป็นชาวพุทธ ชาวไทยหลายคนที่ได้มาเที่ยวเมืองหลวงพระบางนี้ จึงนิยมใส่บาตรร่วมกับชาวหลวงพระบาง บางคนเรียกการตักบาตรแบบชาวหลวงพระบางว่า “ ตักบาตรข้าวเหนียว” เหตุเพราะสังเกตเห็นว่าคนหลวงพระบางใส่บาตรแต่ข้าวเหนียวเปล่า โดยไม่มีกับข้าวเหมือนในเมืองไทย
ตามปกติชาวหลวงพระบางใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะว่าเมื่อพระกลับวัดแล้ว พอถึงเวลาฉัน แต่ละวัดจะเคาะเกราะไม้ไผ่เป็นสัญญาณให้ชาวบ้านรับรู้ ชาวบ้านก็จะยกพาข้าวหรือสำรับกับข้าวที่เตรียมไว้แต่เช้าไปถวายพระที่วัด ซึ่งเรียกว่าการ “ ถวายจังหัน” ดังนั้น การตักบาตรข้าวเหนียวจึงมิได้หมายความว่าต้องการให้พระฉันแต่ข้าวเหนียวแต่เพียงอย่างเดียว
ตักบาตรข้าวเหนียว ของชาวหลวงพระบางนั้น จะเปลี่ยนเวลาไปตามฤดูกาล ให้สังเกตจากเสียงกลองของวัด หากมีเสียงย่ำกลองเมื่อใด แสดงว่าพระสงฆ์เตรียมตัวจะออกบิณฑบาตแล้ว ชาวบ้านจะรีบปูเสื่อตรงริมทางที่พระจะเดินผ่าน ผู้หญิงต้องนุ่งซิ่นและมีแพรเบี่ยงหรือผ้าสไบพาดไหล่ไว้เสมอสำหรับเป็นผ้ากราบพระ ส่วนผู้ชายต้องนุ่งกางเกงขายาวและมีผ้าพาดเช่นกัน และเวลาใส่บาตรจะต้องนั่งคุกเข่า
ข้อปฏิบัติสำหรับการตักบาตรข้าวเหนียวหลวงพระบางของนักท่องเที่ยวที่ควรรู้ คือ
– นักท่องเที่ยวควรตักบาตรในอาการที่สงบ และสำรวม
– หากไม่ได้ตักบาตรควรเว้นระยะห่างเพื่อให้คณะสงฆ์บิณฑบาตได้สะดวกไม่ขวางทางเดิน
– นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปการตักบาตรข้าวเหนียวของหลวงพระบางได้แต่ควรระวังไม่ให้รบกวนพระภิกษุสงฆ์
– นักท่องเที่ยวควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย มิดชิด สำคัญ ที่หากไม่ทำถือว่ามาไม่ถึง คือร่วมประเพณีตักบาตรข้าวเหนียวในตอนเช้าตรู่ ซึ่งพระและเณรจะเริ่มออกบิณฑบาตประมาณ 6 โมงเช้า
ธเนศ วงศ์ใหญ่
ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี