นางสาว จันทิมา พูลสวัสดิ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ลพบุรี เปิดเผยกับ ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี ว่า
ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองถึง 240,000 ราย คิดเป็นอัตราเฉลี่ย 27 รายทุก ๆ 1 ชั่วโมง ขณะที่สถิติทั่วโลก ระบุว่า แต่ละปีมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองถึง 15 ล้านคน ใน จำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิต 5 ล้านคน และกลายเป็นอัมพาตอีก 5 ล้านคน
การลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองขาดเลือดมีหลายวิธี อีกทั้ง การรักษาและการรับมือกับโรคก็ก้าวหน้าไปมาก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ ยืนยาวต่อไปได้ในขณะที่ผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวก็ลดลง Better Health ฉบับนี้ชวนคุณมาทำความรู้จักกับโรคหลอดเลือดสมองให้มากขึ้น เพื่อเรียนรู้ที่จะลดความเสี่ยงกัน ดังต่อไปนี้
รู้จักกับภาวะสมองขาดเลือด
ภาวะสมองขาดเลือด คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดที่ อุดมไปด้วยอ๊อกซิเจนไปยังสมองได้ เนื่องจากถูกขัดขวางโดยลิ่มเลือดหรือ มีการปริแตกของหลอดเลือดเกิดขึ้น เป็นผลให้เนื้อเยื่อสมองถูกทำลาย ภายในเวลาไม่กี่นาที เมื่อเกิดภาว ะสมองขาดเลือด ผู้ป่วยอาจสูญเสียความ สามารถในการพูดหรือกลืน กล้ามเนื้อชาและอ่อนแรง บางกรณีผู้ป่วย อาจมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงร่วมด้วย
คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองขาดเลือดนั้น ส่วนมากมาจากสุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิต ผู้ป่วยด้วยภาวะ สมองขาดเลือดส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 50 ขึ้นไป นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง เบาหวาน และการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในปริมาณมากล้วนเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองขาดเลือดทั้งสิ้น
อาการภาวะสมองขาดเลือดเป็นอย่างไร
ภาวะสมองขาดเลือดนั้นจัดว่าเป็นอาการร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิตการสังเกตอาการเตือนล่วงหน้าได้จึงมีความสำคัญมากโดยจะสังเกตได้จากอาการดังนี้
ชาบริเวณแขน ขา ใบหน้า หรือบริเวณข้างใดข้างหนึ่ง ของร่างกาย
สูญเสียทักษะการพูดและการ
มองเห็น (เพียงข้างเดียว)
ปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
วิงเวียน หรือเป็นลม
ถ้าคุณมีอาการใด ๆ ที่น่าสงสัย ว่าเป็นอาการของภาวะสมองขาดเลือด ควรไปพบแพทย์ในทันที
ความผิดปกติของเส้นเลือดในสมอง
ความผิดปกติของเส้นเลือดในสมอง แบ่งเป็น 2 ประเภทคร่าวๆได้แก่ ภาวะสมองขาดเลือด เนื่องมาจากหลอดเลือดสมองตีบซึ่งเป็นผลทำให้มีเลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลงเพราะหลอดเลือดมีขนาดแคบลงหรือเกิดการอุดตันส่วนอีกประเภท ได้แก่ การที่หลอดเลือดสมองปริแตกหรือรั่วเป็นเหตุให้ มีเลือดคั่งบริเวณใกล้ ๆ สมองหรือเนื้อเยื่อสมอง
อาการสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว หรือ Transient Ischemic Attack (TIA) อาจเกิดขึ้นก่อนเป็นสัญญาณเตือน และอาจเกิดขึ้นได้ หลายครั้งก่อนจะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร อาการสมองขาดเลือด แบบชั่วคราวนี้ อาจเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาเพียง 2 – 3 วินาที จากนั้น เลือด ก็จะไหลไปเลี้ยงสมองได้ตามปกติ
การรักษาภาวะสมองขาดเลือด
ในขั้นแรก แพทย์จะทำการประเมินประเภทและความร้ายแรงของ ภาวะสมองขาดเลือด จากนั้นจึงจัดการรักษาให้อย่างเหมาะสม โดยอาจ วินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์ภาพตัดขวาง (CT Scan) และเครื่องเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อระบุตำแหน่งการอุดตันและบริเวณที่มีเลือดออก รวมทั้งประเมินความเสียหายของเนื้อสมอง นอกจากนี้ การตรวจเลือด ตรวจอัลตร้าซาวด์ ควบคู่กับตรวจการไหลเวียนของโลหิตและคลื่นไฟฟ้า หัวใจจะช่วยให้แพทย์ทราบถึงภาวะความผิดปกติของหัวใจได้ชัดเจนขึ้น
เป้าหมายของการรักษาภาวะสมองขาดเลือด คือการทำให้เลือดไหล เวียนต่อไปได้อย่างปกติ ซึ่งแพทย์จะมีทางเลือกในการรักษาที่ได้ผลดีหลาย วิธีโดยบางกรณี แพทย์อาจใช้ยาสลายลิ่มเลือดซึ่งมีรายงานว่าให้ผลดีเมื่อ ให้ยาแก่ผู้ป่วยที่อาการกำเริบภายใน 3 ชั่วโมง
สำหรับการรักษาอาการทางสมองที่เกิดจากหลอดเลือดสมองแตกนั้น เป้าหมายของการรักษาจะอยู่ที่การควบคุมปริมาณเลือดที่ออก ด้วยการ รักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่มีเลือดออกไม่มากก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ในกรณีที่มีเลือดออกมาก แพทย์อาจต้องทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความ เสียหายร้ายแรงต่อสมองที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต
การให้ยาและการฟื้นฟู
หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการทรงตัว การรักษาจะมุ่งให้ผู้ป่วยได้ฟื้นฟู ร่างกายเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดซ้ำ ในช่วงนี้แพทย์อาจสั่งแอสไพริน ยากลุ่มสเตติน เพื่อลดคอเลสเตอรอล และยาลดความดันโลหิตให้แก่ ผู้ป่วย
การฟื้นฟูเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยระยะเวลา เพราะผู้ป่วยต้อง หัดพูด หัดทรงตัว และเคลื่อนไหวร่างกายใหม่ ภายใน 3 เดือน จะเห็น การพัฒนาชัดเจนขึ้น และภายในหนึ่งปี ก็จะดีมากขึ้นเป็นลำดับ ยิ่งสมอง เสียหายจากภาวะขาดเลือดมากเท่าไร ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการฟื้นฟูก็ นานขึ้นเท่านั้น แต่หลาย ๆ กรณี ผู้ป่วยก็สามารถฟื้นฟูตัวเองได้อย่าง สมบูรณ์โดยเฉพาะในรายที่อยู่ในความดูแลของทีมแพทย์ในทันทีหลังเกิดอาการสมองขาดเลือด
การใส่ขดลวดขยายหลอดเลือด
ปัจจุบัน แพทย์นำการใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดมาใช้ ในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้น เมื่อหลอดเลือดบริเวณคอมีขนาด แคบลงหรือเกิดการอุดตันจนกลายเป็นสาเหตุของอาการสมองขาดเลือด ซึ่งกระบวนการใส่ขดลวดก็มีความคล้ายคลึงกับ การสวนหัวใจเพื่อขยายหลอดเลือด คือ แพทย์จะสอดสาย สวนเข้าไปยังหลอดเลือด จากนั้นจึงสอดขดลวดและนำทาง ไปยังหลอดเลือดเป้าหมายบริเวณลำคอ ขดลวดจะค้ำผนัง หลอดเลือดไว้ แล้วเปิดทางให้โลหิตไหลได้อย่างสะดวกมากขึ้น
นายแพทย์ฤกษ์ชัย ตุลยาภรณ์โชติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านประสาทวิทยาและหลอดเลือดสมองกล่าวถึงการขยายหลอดเลือดด้วยขดลวดว่า “ การใช้ขดลวดเพื่อขยายหลอด-เลือดบริเวณคอเป็นหนึ่งในวิธีหลักที่แพทย์เลือกใช้เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยซึ่งมีภาวะหลอดเลือดตีบอยู่แล้วเกิดภาวะสมองขาดเลือดขึ้นในอนาคต ”
ปรับวิถีชีวิต ลดความเสี่ยง
ควบคุมความดันโลหิต ภาวะความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคหลอดเลือดสมอง ควรหมั่นตรวจวัดความดันอยู่เสมอ
งดสูบบุหรี่ เมื่อคุณสูบบุหรี่ ความเสี่ยงต่อโรคจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว จากการ ที่ผนังหลอดเลือดถูกทำลาย ส่งผลให้ความด ันโลหิตเพิ่มขึ้น
จำกัดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ แค่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่า 2 แก้วต่อวัน ความเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดสมองของคุณจะเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่าเลย ทีเดียว ดังนั้ นการงดดื่มจึงเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกกำลัง 4 ถึง 5 ค รั้งต่อสัปดาห์ช่วยให้คุณสามารถควบคุมความดันโลหิต คอเลสเตอรอล ทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี อีกด้วย
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อาหารจำพวกไขมันสูง น้ำตาลสูง เป็นสาเหตุของปัญหาคอเลสเตอรอลสูงและน้ำหนักเกินอันเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง เลือก รับประทานอาหารที่มีกากใยและวิตามินสูง เช่น แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี่ องุ่น มะเขือเทศ ช็อคโกแลต ปลา ชา ข้าวโอ๊ต ฯลฯ
ธเนศ วงศ์ใหญ่
ปิยะนนท์ สินศิริวงศ์วัชระ
ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี