ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่น โดยเจตนา”กับ ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน”. แตกต่างอย่างไร. ”
ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัดลพบุรี ขอเกริ่นนำ. ความยุติธรรมคืออะไร? ยุติจริงหรือ? เป็นธรรมจริงหรือ?
ความยุติธรรมคืออะไร? ยุติจริงหรือ? เป็นธรรมจริงหรือ?
ความยุติธรรม คือ การยุติปัญหา ยุติความขัดแย้ง ไม่ใช่ยุติที่กฎหมาย แต่เป็นการ นำการปกครอง นำกฎหมาย และ นำอำนาจอธิปไตย อันเป็นสิทธิ และหน้าที่ ของประชาชน เข้ามา ประมวลผล เพื่อหาข้อยุติปัญหา ยุติความขัดแย้ง และให้ความเป็นธรรม หรือสมดุลย์ ในผลของประโยชน์ และผลของโทษ เช่นการลงโทษผู้กระทำความผิด ให้สมดุลย์กับมูลค่าความ
เสียหายที่ได้กระทำไว้ ต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของผู้อื่น ประดุจดั่ง ตาชั่งคาน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของความยุติธรรม และตาชั่งต้องนิ่งไม่แกว่ง(ยุติ) และต้องสมดุลย์ไม่เอียงข้าง(ธรรม)
ประชาชนที่ประกอบอาชีพอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ใช้อำนาจอันเป็นหน้าที่
ให้ความยุติธรรม เพื่อ ยุติปัญหา ยุติความขัดแย้ง ให้หมดไป หรือ ลดลงไปส
แต่ปัญหาและความขัดแย้ง มิได้ลดลง แต่กลับ เพิ่มมากขึ้น
เจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม มีความบกพร่องอย่างไร? และรับผิดชอบอย่างไร? ในช่วงระยะเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยประสบวิกฤตการณ์ด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง หรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งหลายกรณีมีสาเหตุมาจากหรือมีความเชื่อมโยงกับความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เป็นธรรม เช่น แม้การขยายตัวอย่างรวดเร็วของระบบเศรษฐกิจจะช่วยให้คนหลุดพ้นจาก “เส้นความยากจน” มากขึ้น แต่ก็ทำให้ช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มมากขึ้นเพราะความที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจในระดับรากฐาน และแม้ในระยะที่ผ่านมาประเทศไทยมีการลงทุนและการค้ากับต่างชาติมากขึ้น มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรมการผลิต เครื่องมือและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ ฯลฯ ทว่าความสามารถในการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากความเจริญก้าวหน้าดังกล่าวยังคงไม่เท่าเทียมกัน นอกจากนี้ การขูดรีดและเอารัดเอาเปรียบไม่ได้หายไปไหน หากแต่ได้กลายรูป มีความยืดหยุ่นและลื่นไหลมากขึ้น ซึ่งแม้จะช่วยลดทอนการต่อต้านหรือการลุกฮือขนานใหญ่ลงได้ระดับหนึ่ง แต่หลายกรณีก็ก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้อง “ความเป็นธรรม” อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี เมื่อกล่าวถึง “ความเป็นธรรม” คนส่วนใหญ่มักจะตีความและเข้าใจว่าเป็นเรื่องของหลักเกณฑ์และข้อกฎหมาย โดยมีรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่สามารถดำเนินการตรวจสอบและตัดสินได้ว่าบุคคลใดสมควรจะได้รับความเป็นธรรม ซึ่งถือเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนพอสมควร เนื่องจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้นแท้จริงแล้วเป็นความเข้าใจเกี่ยวกับ “ความยุติธรรม” ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยข้อกำหนดทางกฎหมายที่ระบุไว้เป็นเกณฑ์หลักในการตัดสินจากการกระทำต่างๆ แต่ประเด็น “ความเป็นธรรม” มีความซับซ้อนและสามารถมองได้หลายมิติกว่า ตั้งแต่เรื่องจิตสำนึก คุณธรรมและวิธีคิดของบุคคล ระบบคุณค่า โครงสร้างและกลไกทางสังคม รวมถึงนโยบายรัฐ การทำความเข้าใจประเด็น “ความเป็นธรรม” จึงเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนและจำเป็นจะต้องได้รับการตีความและทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนในสังคมโดยเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้สามารถอาศัยเป็นแนวทางในการปฏิบัติ อันจะนำมาสู่การสร้างสังคมที่มีความเสมอภาคมากยิ่งขึ้น. ใน กระบวนการยุติธรรมของเมืองไทย. การแจ้งข้อกล่าวหา “ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 กับการแจ้งข้อกล่าวหา “ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” มาตรา 289 (4) นั้นมีความแตกต่างในผลของคดีอย่างแน่นอน…
เรื่องนี้ต้องเรียนเบื้องต้นก่อนว่าผมไม่ทราบรายละเอียดของคดีที่คนพิการถูกวัยรุ่นรุมฆ่าตาย และไม่ได้เห็นสำนวนการสอบสวน จึงไม่อาจให้ความเห็นได้ว่า การตั้งข้อหาเฉพาะ ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา แต่ไม่แจ้งข้อหา ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนมีความถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
แต่เนื่องจากผมได้ชมการให้สัมภาษณ์ของนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่ออกมาให้ข่าวว่าการแจ้งข้อหาทั้งสองข้อหานี้ก็ไม่ได้มีความความแตกต่างกันแต่อย่างใด เพราะโทษของทั้งสองข้อหา ก็มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตเท่ากัน ประเด็นนี้จึงทำให้ผมอยากอธิบายให้ผู้ที่สนใจในเรื่องนี้เข้าใจว่า การแจ้งข้อกล่าวหา “ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 กับการแจ้งข้อกล่าวหา “ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” มาตรา 289 (4) นั้นมีความแตกต่างในผลของคดีอย่างแน่นอนครับ
การแจ้งข้อกล่าวหา “ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนานั้น” นั้น แม้กฎหมายจะบัญญัติโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตก็จริง แต่กฎหมายยังเปิดโอกาสให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษกับผู้กระทำความผิดได้ หากเห็นว่ากระทำผิดจริง โดยกฎหมายกำหนดดุลยพินิจให้กับศาลในข้อหานี้ไว้หลายอย่างโดยกฎหมายได้บัญญัติไว้ดังนี้
“มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี”
ในขณะที่ข้อหา “ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” นั้นกฎหมายไม่เปิดช่องให้ศาลใช้ดุลยพินิจในการกำหนดโทษได้ ดังนั้น ถ้าฟังว่าวัยรุ่นที่ร่วมกันทำให้คนพิการนั้นถึงแก่ความตาย โดยได้มีการไตร่ตรองในการที่จะลงมือกระทำความผิดไว้ก่อน กฎหมายในมาตรา 289 (4) บัญญัติโทษไว้เพียงสฟถานเดียว คือโทษ “ประหารชีวิต”
ดังนี้การที่ออกมาให้สัมภาษณ์ว่าการตั้งข้อหาทั้งสองกับผู้ต้องหานั้น ไม่ได้มีความแตกต่างกันในรูปคดี ประเด็นนี้ผมคงไม่อาจเห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านกำลังอธิบายกฎหมายให้กับประชาชนฟัง ซึ่งไม่ถูกต้องกับความเป็นจริงและหลักกฎหมายได้ เพราะในข้อหาที่ตำรวจตั้งไว้ หากในการสู้คดีมีการรับสารภาพ และหากศาลใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษต่ำสุดตามที่กฎหมายกำหนดคือ 15 ปี รับสารภาพ ลดโทษกึ่งหนึ่ง จะทำให้ผู้กระทำความผิด เหลือจำคุกเพียง 7 ปีครึ่ง จะเห็นได้ว่า โอกาสที่จะรับโทษของข้อทั้ง 2 ข้อหานี้อาจแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จากประหารชีวิต เหลือจำคุก 7 ปีครึ่ง ซึ่งไม่ได้มีผลเท่ากันตามคำกล่าวอ้างแต่อย่างใด. และคดีนุี้ มันเกิดขึ้น
เมื่อวันที่ 15 มี.ค.56. คดีนี้เกิดขึ้น 5 ปีที่ผเป็นข่าวหน้าหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับ แถลงข่าวอย่างใหญ่โตมโหฬาร โดยมี พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป. พ.ต.อ.อัคราเดช พิมลศรี รอง ผบก.ป. พ.ต.อ.ปิยะ เจริญสุข ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.จอม สิงห์น้อย สว. กก.1 บก.ป. และชุดสืบสวนร่วมกันจับนายสิงโต หรือหยอง พีระเดชาสุเทพ อายุ 33 ปี หลานเขย ส.ส.สระบุรี พรรคเพื่อไทย อยู่บ้านเลขที่ 67/3 หมู่ 2 ต.ถนนใหญ่ อ.เมือง จ.ลพบุรี ผู้ถูกจับตามหมายศาลจังหวัดมีนบุรี ที่ จ.1780/2552 ลงวันที่ 24 ธ.ค.2552 ในข้อหา ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ พกพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัวโดยเปิดเผยโดยไม่มีเหตุอันควร ยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิด ในเขตเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมชน โดยจับกุมได้บริเวณหน้าบ้านเลขที่ 122/6 ค่ายมวยลูกพระบาท หมู่ 6 ต.ท่าศาลาอ.เมือง จ.ลพบุรี
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 8 ธ.ค.2552 ผู้ถูกจับกุมได้ใช้อาวุธปืนขนาด 11 มม. ยิงนายจักรกฤษ นิลโฉม อายุ 21 ปี อยู่บ้านเลขที่ 98 หมู่ 2 ต.ลำห้วยหลัว อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ ได้รับบาดเจ็บสาหัส เหตุเกิดที่บริเวณริมถนนลาดกระบัง หน้าร้านเอเวียน วิลเลจ แขวงและเขตลาดกระบัง จากนั้นได้หลบหนีมากบดานอยู่กับผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ จ.ลพบุรี และ จ.สระบุรี และมีความสนิทสนมกับนักการเมืองในพื้นที่ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจพื้นที่ไม่กล้าที่จะจับกุมตัว จนกระทั่งมาถูกตำรวจกองปราบปรามติดตามจับกุมตัวได้ดังกล่าว เบื้องต้นคุมตัวส่งพนักงานสอบสวน สน.จรเข้น้อย ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ฝากถามผู้มีอำนาจรัฐ. กระบวนการยุติธรรม ในปัจจุบันนี้ ว่า. นายสิงโต. พีระเดชาสุเทพ. หรือ หยอง. ความยุติธรรมจริงหรือ. ยุติจริงหรือ. เป็นธรรมจริง ท่านว่า ยุติธรรมให้น้องคนนึ้หรือยัง. หรือว่า ท่านไม่มีความยุติธรรม. ยุติจริง ไม่เป็นธรรมจริง ตอนนี้ ได้ถูกควบคุมขังอยู่ อยู่ในเรือนจำ. ฝากขังเอาไว้ แต่ศาลยังไม่ตัดสิน. ว่าผิด. น้องคนนี้และครอบครัวของน้องจะสู้กับท่านได้หรือว่าท่านถือกฎหมายอยู่ในมือ ฝากขังใครก็ได้ เหมือนน้องคนนี้ที่ถูกขัง ถูกตั้งข้อหา ถูกป้ายสีว่า ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน. ข้อหานี้เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งข้อหานี้ขึ้นมา. เอง. ไหนล่ะหลักฐาน. ไหนล่ะพยาน. ไหนล่ะมือปืน อย่ากล่าวหาว่าน้องคนนี้รวม กันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน. อย่ากล่าวหาลอยๆ. เวรกรรมมีจริงนะครับไม่ต้องรอชาติหน้าชาตินี้ล่ะระวังครอบครัวของท่านให้ดีจะย้อนกลับไปหาท่านนะครับ. ทำอะไรรู้แก่ใจดีนะครับ ที่ท่านทำกับน้องคนนี้เหมือน เหมือนว่าเป็นผู้ต้องหาโทษทีนะครับน้องแค่ถูกกล่าวหาที่เฉยๆ ว่า ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน. แต่ท่านทำให้เหมือนเป็นมือปืนซะเองแถลงข่าวอย่างใหญ่โตมโหฬารว่าน้องเป็นมือปืน แล้ว ตัวจริงล่ะอยู่ไหนไม่เห็นท่านออกมาแถลงข่าวแบบนี้เลย. ฝากถึงท่าน. พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา “บิ๊กแป๊ะ”.
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ . ช่วยตรวจสอบคดีน้องคนนี้ให้หน่อยขอความเป็นธรรมให้ครอบครัวของน้องหรือลงตรวจสอบให้หน่อย. ตอนนี้น้องคนนี้ถูกขังลืมอยู่ที่เรือนจำ. และขอความเป็นธรรมต่อ. กระทรวงยุติธรรม. ผู้ที่รักษากฏหมาย คดีนี้ ศาลยังไม่ตัดสินขอความเมตตาต่อท่านช่วยเมตตาครอบครัวของน้องคนนี้ด้วยช่วยรื้อคดีใหม่ได้ไหมช่วยไต่สวนใหม่ได้ไหม. คดีนี้มีเงื่อนงำ. กระบวนการยุติธรรม. ตัดสินคดีนี้มีเงื่อนงำไม่ตรวจสอบสำนวนอะไรเลย ไม่ผ่านอัยการเหรอตัดส่งฟ้องศาลเอง. ความคิดทำอยู่ที่ไหน. ช่วยตอบ ให้หน่อย. ในเวลานี้แล้วตอนนี้ได้ ถูกส่งตัวไปอยู่เรือนจำคลองเปรมเรียบร้อยแล้ว จะรื้อคดี ให้ใหม่ว่าผู้ต้องหาตัวจริงคือใครใครอยู่เบื้องหลัง. คดีนี้มีกลิ่นไม่ค่อยดี ช่วยออกมาใน สถานีตำรวจนครบาลมีนบุรี กทม มีเงื่อนงำน่าสงสัย ท่านจะตัดสิน คนบริสุทธิ์ หรือครับ. ฝากความเมตตา. ความยุติธรรม. เห็นใจคนบริสุทธิ์ช่วยเหลือดีๆให้เป็นคำหน่อย หน่อยนะครับ หรือคดีเป็นตัวอย่า. ขอฝากจรวจสอบว่า ให้ย้อนหลังไปว่าชุดจับกุม. มีหลักฐานเพียงพอหรือไม่ว่า. คดีนี้ถูกต้องหรือไม่ หรือแล้วมาส่งคุณพิสุทธิ์ เดินเข้าไปเรือนจำคลองเปรม. แต่คดีนี้ไม่คืบหน้าปล่อยให้คนบริสุทธิ์รายนี้ติดคุกอยู่ฟรีๆ พนักงานสอบสวนสถานี ตำรวจนครบาลมีนบุรี เจ้าของพื้นที่เจ้าของคดีไม่ยอมทำคดีนี้ปล่อยทิ้งเอาไว้แต่ ห้าม เยี่ยมผู้ต้องหา. มีเงื่อนงำซ่อนเร้นสักอย่าง. หรือว่ามีผู้ อิทธิพล ในพื้นที่นครบาลมีนบุรี สั่งการให้อยู่เบื้องหลัง. เมื่อตอนนั้นก็มีพนักงาน สอบสวนสืบสวน 2. หน่วยงาน. ที่ร่วมกันจับกุม. งานสืบสวนสถานีนครบาลมีนบุรี กองกำกับ กองปราบปราม สืบ 6. ที่ลงพื้นที่มาจับกุมคนบริสุทธิ์หลายนี้เข้ากรุงเทพ. แต่ไม่มีการ ตัดสิน ว่าผิดหรือถูก. ีเข้าเรือนจำไปไปฟรี จะมีโอกาส มากราบเท้าแม่หรือเปล่า. ความยุติธรรมจะกลับมา ให้เขาหรือเปล่า ขอความเป็นธรรมกับผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ให้เขากลับมากราบเท้าแม่ได้หรือเปล่า. ขอไต่สวนใหม่ได้หรือไม่ ขอรื้อคดีรนี้ได้หรือเปล่า.
ธเนศ วงศ์ใหญ่
ปิยะนนท์ สินศิริวงศ์วัชระ
ศูนย์ข่าวหนังสือพิมพ์ 5 เหล่าทัพ จังหวัอลพบุรี