วันนี้ วันอังคารที่ 17 กันยายน 2562 เวลา 15.30 น. ณ หอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร : “สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ” จับมือ “กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” ลงนาม MOU เพื่อร่วมมือตั้งกองลูกเสือมัคคุเทศก์ โดยมุ่งหวังให้ลูกเสือมีบทบาทในการเป็นมัคคุเทศก์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกทั้ง ยังเป็นการปลูกฝังให้ลูกเสือเกิดความรัก ความภาคภูมิใจในคุณค่าของท้องถิ่นของตน มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว มั่นใจ เยาวชนที่จะมาร่วมโครงการมัคคุเทศก์ในครั้งนี้ สามารถเป็นผู้นำ และเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้ในอนาคต
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาโดย นายโชติ ตราช ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งต่อไปในบันทึกความร่วมมือนี้ เรียกว่า “สป.ก.” สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ โดยนายประเสริฐ บุญเรืองเลขาธิการสำนักงาน
ลูกเสือแห่งชาติซึ่งต่อไปในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ เรียกว่า “สลช.” โดยมี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติร่วมเป็นสักขีพยาน
ทั้งสองฝ่ายข้างต้นได้มีความประสงค์ที่จะร่วมมือกันเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในการส่งเสริมศักยภาพของเด็กและเยาวชนผู้เป็นลูกเสือโดยถือเป็นกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.เพื่อปลูกฝังให้ลูกเสือในท้องถิ่นให้เกิดความรักความภาคภูมิใจในคุณค่าของท้องถิ่นตนเอง มีความรู้ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว
2.เพื่อพัฒนาลูกเสือให้เกิดการเรียนรู้มีทักษะในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราวประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรมและประเพณีของท้องถิ่นตนเองให้กับนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือนให้เกิดความประทับใจ
3.เพื่อสร้างศักยภาพให้กับลูกเสือให้มีระเบียบวินัยมีจิตบริการที่ดีการเป็นเจ้าบ้านที่ดี การเป็นจิตอาสาหรือเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้มาเยือนท้องถิ่นของตนเอง
4.เพื่อสร้างบุคลกรที่มีคุณภาพให้กับท้องถิ่นสร้างแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ในอนาคต ก่อให้เกิดประโยชน์ให้กับประเทศชาติ
ข้อ 1.ขอบเขตความร่วมมือของ “สป.กก.”
1.1 สนับสนุนข้อมูลองค์ความรู้ในการร่วมจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ลูกเสือมัคคุเทศก์ (Guide Scout” และการประเมินผลการฝึกอบรมทั้งนี้ภายใต้ขอบเขตอำนาจกฎหมายของ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
1.2 สนับสนุนการเชื่อมโยงเครือข่ายสนอแนะวิทยกรหรือผู้เขียวชาญในการให้องค์ความรู้แก่ลูกเสือ ที่สำนักงานลูกเสือแห่งชาติให้การสนับสนุนและพัฒนาและประสานงานหน่วยงานด้านการท่องเที่ยว รวมถึงองค์ความรู้ด้านการท่องเทียวอาทิการเป็นเจ้บนที่ดีการบริการด้านการท่องเที่ยว ทักษะการเป็นผู้สื่อความหมายด้านการท่องเที่ยวที่ดี เป็นต้น
1.3 สนับสนุนการประมินผลการฝึกปฏิบัติงานของลูกเสือผู้ผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการตามหลักสูตร ที่กำหนดไว้
1.4 ประชาสัมพันธ์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการ และร่วมประสานงานเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์
ข้อ 2. ขอบเขตความร่วมมือของ “สลช.”
2.1 พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ลูกเสือมัคคุเทศก์ (Guide Scout” และการประเมินผลการฝึกอบรม
2.2 ส่งเสริมสนับสนุนและจัดการฝึกอบมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “ลูกเสือมัคคุเทศก์ (Gide Scout” ให้กับลูกเสือผู้มีความประสงค์เป็นจิตอาสาหรืออาสาสมัครด้านการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ
2.3 ออกแบบและจัดทำเครื่องหมายเครื่องแบบหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่เกี่ยวกับโครงการดังกล่าวเพื่อมอบให้กับลูกเสือกลุ่มเป้าหมาย ไว้ใช้ในการปฏิบัติงาน
2.4 จัดทำฐานข้อมูลลูกเสือผู้ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว
2.5 ประชาสัมพันธ์กิจกรมใดๆที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ลูกเสือมัคคุเทศก์ (Gide Scout” หรือที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของ”ลูกเสือมัคคุเทศก์ (Guide Scout” และร่วมประสานงานเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์
ข้อ 3.อื่นๆ
3.1 บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ไม่จำกัดสิทธิทุกฝายที่จะทำความร่วมมือกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่น เพื่อความสำเร็จของโครงการ
3.2 กรณีมีค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันให้ทุกฝายร่วมพิจารณาและตกลงเป็นกรณีไป
3.3 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อกำหนดและงื่อนไขใดๆในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ ทั้งสองฝ่ายจะได้เจรจาและทำความตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร
3.4 หากมีกรณีที่ฝายหนึ่งฝ่ายใดประสงค์ที่จะยกเลิกความร่วมมือตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้จะต้องแจ้งล่วงหน้าให้อีกฝ่ายได้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกา 30 วันก่อนวันที่จะให้มีผลเป็นการเลิกบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า “เนื่องจากในปัจจุบันการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญ และสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพของเด็กและเยาวชนผู้เป็นลูกเสือ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายให้สามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตน สังคมและชุมชนได้ทุกมิติ จึงได้มีการจัดตั้งโครงการลูกเสือมัคคุเทศก์ขึ้น โดยได้น้อมนำหลักสูตรจิตอาสา 904 มาใช้ในโครงการฯ เพื่อสืบสานพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมลูกเสือ
จิตอาสาตามพระราโชบายด้านการศึกษา เพื่อปลูกฝังให้ลูกเสือ ในท้องถิ่นให้เกิดความรัก ความภาคภูมิใจในคุณค่าของท้องถิ่นตนเอง มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาลูกเสือ ให้เกิดการเรียนรู้ มีทักษะในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี มีความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราว ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่นตนเอง ให้กับนักท่องเที่ยว ผู้มาเยือนให้เกิดความประทับใจ และเพื่อสร้างศักยภาพให้กับลูกเสือ ให้มีระเบียบวินัย มีจิตบริการที่ดี การเป็นเจ้าบ้านที่ดี การเป็นจิตอาสาหรือเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้มาเยือนท้องถิ่นของตนเอง และเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพให้กับท้องถิ่น สร้างแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพเป็นมัคคุเทศก์ในอนาคต ก่อให้เกิดประโยชน์ให้กับประเทศชาติ
นอกจากนี้กองลูกเสือมัคคุเทศก์ โดยมุ่งหวังให้ลูกเสือมีบทบาทในการเป็นมัคคุเทศก์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกทั้ง ยังเป็นการปลูกฝังให้ลูกเสือเกิดความรัก ความภาคภูมิใจในคุณค่าของท้องถิ่นของตน มีความรู้ ความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยว พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับคุณภาพของการท่องเที่ยวของประเทศไทย และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ส่งเสริมศักยภาพของเด็กและเยาวชนผู้เป็นลูกเสือให้สามารถต่อยอด และส่งเสริมทักษะด้านการใช้ภาษาให้สามารถพัฒนาเป็นอาชีพในอนาคตได้อย่างแท้จริง” รมช.ศธ.กล่าว
สุรเชษฐ ศิลานนท์ รายงาน